การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการพัฒนาหลักสูตร ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เบญจมาศ จอมนงค์
มานูนณย์ สุตีคา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและคณะครูของโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  34  และโรงเรียนแม่คือวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 รวมทั้งสิ้นจำนวน 72 คน ในปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งมีจำนวน 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา (2) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (3) ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร  (4) ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร (5) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล  (6) ด้านการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา  และ (7) ด้านการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรของโรงเรียนในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  โดยรวมและรายด้าน ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นว่ามีการดำเนินการในระดับปานกลาง ส่วนการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า  ด้านทักษะภาษามีการดำเนินการน้อยกว่าด้านทักษะเทคโนโลยี เนื่องจากด้านทักษะภาษามีปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในการสรรหาบุคลากร และบุคลากรยังขาดโอกาสในการฝึกทักษะภาษาประจำชาติของประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมไปถึงทัศนคติด้านลบต่อประเทศในกลุ่มอาเซียน

This research aimed to investigate the readiness preparation for ASEAN Community concerning the curriculum development in the schools of the Spirit of ASEAN Project in District, Chiang Mai Province. The population used in this study comprised administrators and teachers of Doi Saket Wittayakom School under Chiang Mai Secondary Educational Service Area 34 and those of Mae Kue Wittaya School under Chiang Mai Primary Educational Service Area 1.  There were totally 72 people in the academic year 2014.  The tools used in this study were questionnaires and in-depth interviews. The data were analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. 

The findings were as follows : the readiness preparation for ASEAN Community concerning the curriculum development in the schools of the Spirit of ASEAN Project in District, Chiang Mai Province comprised 7 aspects including (1) the school readiness preparation (2) the school curriculum preparation (3) the curriculum implementation planning (4) the curriculum administration (5) the supervision, monitoring and evaluation (6) the school performance conclusion and (7) the development of curriculum administration process in the schools of the Spirit of ASEAN Project in District, Chiang Mai Province showing that according to both of the overall and each aspect of performances, the respondents agreed that they were performed at moderate level.  According to the readiness preparation for ASEAN Community, it was found that the language skills were performed less than technological skills because language skills lacked the budget for recruiting the staff.  In addition, the staff had not any opportunities to practice the national language skills of the ASEAN countries and including negative attitudes towards the ASEAN countries.  

Article Details

Section
Research Articles