รูปแบบการบริหารความเสี่ยงในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน

Main Article Content

อดิศร สินประสงค์
มณฑป ไชยชิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
เอกชน และเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน โดยวิธีการศึกษา
แบบผสานการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร รองผู้บริหาร คณะกรรมการ
สถานศึกษา และครูหรือผู้ที่รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน
207 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์
องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน มี 9 ด้าน คือ
ด้านการติดตามและประเมิน ด้านคุณภาพของสถานศึกษา ด้านความเชื่อมั่นในสถานศึกษา ด้านการจัดสรรทรัพยากร
ด้านการบริหารจัดการ ด้านกลยุทธ์ ด้านการเรียนการสอน ด้านสังคม และด้านการบริการวิชาการ หรือวิชาชีพ
ส่วนรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ที่มี
ความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การกำหนดสภาพแวดล้อม การประเมินความเสี่ยง การจัดการ ความเสี่ยง
และกิจกรรมควบคุม การเฝ้าติดตามและการทบทวน และ การสื่อสารและการให้คำแนะนำ โดยปัจจัยความเสี่ยงทั้ง 9 ด้าน

พบว่า มีจำนวน 6 ด้าน ควรใช้การจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการลดความเสี่ยง ได้แก่ ด้านการติดตามและประเมิน
ด้านความเชื่อมั่นในสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ด้านสังคม และด้านการบริการ
วิชาการหรือวิชาชีพ ส่วนปัจจัยความเสี่ยงด้านคุณภาพของสถานศึกษา และด้านการจัดสรรทรัพยากรควรใช้
การจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการลดความเสี่ยงและการยอมรับความเสี่ยง และสำหรับด้านกลยุทธ์ควรใช้การจัดการ
ความเสี่ยงด้วยวิธีการลดความเสี่ยงและการแบ่งปันความเสี่ยง

The objectives of this research were to find the major risk factors in private vocational technological
and vocational colleges and to propose a risk management model in private vocational technological and
vocational colleges. The study was a mixed design method using both qualitative and quantitative
approaches. The sample were administrators, vice-administrators, college’s committee and teachers or
responsible for risk management in 207 colleges. The research tools were interview schedules, questionnaires.
The data analyses used frequency, percentage, mean, standard deviation, content analysis and factor
analysis.
The results found that the major risk factors in private vocational technological and vocational
colleges consisted of 9 components; Monitoring and evaluation, quality of college, confidence in college,
resource allocation, management, strategy, teaching process, social, and professional or academic
services. For the model of risk management in private technological and vocational colleges consists of
5 stages are interrelated in a systematic manner including Establishing the Context, Risk Assessment,
Risk Treatment and Control Activities, Monitoring and Review and Communication and Consultation; Based
on the 9 risk factors, including the risk in 6 component should be reduced by risk reduction thus monitoring
and evaluation, confidence in college, management, teaching process, social, professional or academic
services. The risk in quality of college and resource allocation should be accepting and reducing. And
the risk in strategy should be sharing and reducing.

 

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมสามัญศึกษา. 2544. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2557. “รวมงานวิจัย พม. ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556”. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2557 จำนวน 1,000 เล่ม. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ณัฐภร เพลท: กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงศึกษาธิการ (2552) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด กรุงเทพมหานคร.

กฤษณ์ บุตรเนียน และคณะ. 2554. ปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2554). การบริหารความเสี่ยงสากล ISO 3100 กับระบบการศึกษาของไทย. วารสาร Veridian E-Journal SU. 4 (1).

จิดาภา สืบวงษ์. 2552. สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท: กรณีศึกษานักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. การศึกษาด้วยตนเองครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

จิรพร สุเมธีประสิทธิ์. (2554). เหลียวหลังดูความเป็นมาของพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของโลก. สืบคืนเมื่อ 13 มิถุนายน 2555. จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=742922.

เจนเนตร มณีนาค และคณะ. (2548). การบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ไฟนอลการพิมพ์.

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ฐิติวดี ชัยวัฒน์. (2552). การบริหารความเสี่ยงภัยและการประกันภัยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธงชัย สันติวงษ์ และ ชนาธิป สันติวงษ์. 2542. องค์การกับการสื่อสาร = Corporate communication. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.

นฤมล สอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.

บรรยงค์ โตจินดา. 2545. องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: รวมสาสน์(1997).

เพลินพิศ จุฬพันธ์ทอง. 2557. “การพัฒนากลยุทธการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส. (2547). แนวทางการบริหารความเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่ 2.

ไพรวัลย์ คุณาสถิตย์ชัย. 2553. การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ราชกิจจานุเบกษา, (2554). เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 152 ง, หน้า 3.

ราชกิจจานุเบกษา, (2554). เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 152 ง, หน้า 6.

ราชกิจจานุเบกษา, (2554). เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 152 ง, หน้า 9.

ราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง”. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2557.

ลำเจียก กำธร. 2557. “วัยรุ่น....วัยวุ่นกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม.....ป้องกันอย่างไร”. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี กรุงเทพ ปีที่ 30 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวารม 2557.

วรรณภา โพธิ์น้อย. 2549. สัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สงวน ช้างฉัตร. (2547). การบริหารความเสี่ยงของโครงการ. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2555, จาก http://www.psru.ac.th/research.php.

สมิต สัชฌุกร. 2557. “แนวทางการแก้ไขปัญหาการสื่อสาร”. บทความวารสาร TPA News สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ข่าว ส.ส.ท. ปีที่ 18 ฉบับที่ 210 เดือนมิถุนายน 2557.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2556. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา. สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (อัดสำเนา).

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2552). แนวทาง:การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน. กรุงเทพมหานคร: ซีสเต็ม โฟร์ กราฟฟิคส์.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553. กระทรวงศึกษาธิการ. (อัดสำเนา)

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ด้านการอาชีวศึกษา ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัย เรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 - 20 ปี. จำนวน 1,00 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัย แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ ตามเป้าหมายในแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559). กรุงเทพมหานคร: สกศ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2551. รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เพลินสตูดิโอ จำกัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. 2543. การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

อนุชา กาศลังกา. (2555). การศึกษาปัญหาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องเนื่องจากการรักษาพยาบาล. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 9 (1), 57-69.

Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO). (2004). Enterprise Risk Management — Integrated Framework. 1 July 2012. http://www.coso.org/documents/coso_erm_executivesummary.pdf,

International Standard Organization (ISO). (2009). International Standard ISO31000 Risk Management - Principles and guidelines. Switzerland: ISO copyright office.

Louis D. Rubin. (1999). Risk Management Reports. Atlantic Monthly Press: New York.

Thongsiri, S. and W. Plueksawan. (2009). Practical risk management an application of ISO 31000 standard and risk assessment techniques IEC 31010. Thai-Australian Technological Services Center, Training Manual, Bangkok. 7-9 November 2009.