การใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดร้องอ้อ

Main Article Content

สุทธิรา แก้วมณี

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหน่วยการบูรณาการและศึกษาผลการบูรณาการหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดร้องอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2554 ประกอบด้วยครูผู้สอนจำนวน 1 คน และนักเรียนจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้การบูรณาการดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลคะแนนโดยหาค่าเฉลี่ยและร้อยละเทียบเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 65 ผลการวิจัยได้หน่วยการเรียนรู้การบูรณาการดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านสำหรับนักเรียน จำนวน 9 แผน รวมเวลา 18 ชั่วโมง ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะการเล่นดนตรีและการฟ้อน และหลังจากที่ใช้แผนพบว่า ความรู้และทักษะการปฏิบัติดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 65 นักเรียนเห็นว่าหน่วยการเรียนรู้มีกิจกรรมที่หลากหลาย สื่อที่ใช้มีทั้งสื่อของจริง รูปภาพซีดีเพลง และวีดีทัศน์ มีการวัดประเมินผลทั้งความรู้ ทักษะปฏิบัติ และคุณลักษณะ สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนครูผู้สอนเห็นว่าหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนการเรียนรู้โดยการบูรณาการเนื้อหาสาระดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน จัดความรู้เป็นแบบองค์รวม นักเรียนได้รับความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ครูสามารถใช้หน่วยการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการไปจัดทำเป็นหน่วยการเรียนการเรียนรู้ในสาระอื่น ๆ ได้

This research was aimed at constructing integrated learning units and studying the effect of the integration of local wisdom-based traditional music and dramatic arts for PrathomSuksa 5 students, Watrongor School, Muang Chiang Mai District, Chiang Mai Province. The target group was that of the teacher and PrathomSuksa 5 students enrolled in the 2nd semester of 2011 academic year including 1 teacher and 20 students. The tools used were learning managing plans, knowledge testing form, form for evaluating musical and dancing skills, and a questionnaire asking the teacher’s and student’s opinion.  The data were analyzed in terms of mean and percentage against the set criterion of 65% and the comments were concluded in descriptive form. It was found that the student’s knowledge and skills on traditional music and dramatic arts came up at 84.56% which was higher than the set 65% criterion. The students reflected that their learning was acquired through various activities and media which both of authentic objects, picture, song C.D., and VDO. The assessment was done on knowledge, practical skills, and characteristics. The teacher expressed her opinion that the integrated learning units were organized by integrating contents and substances on traditional music and dramatic arts and organized knowledge in comprehensive form. The students acquired knowledge both in theory and practice.  The teacher could effectively implement the learning units and could apply the integrated instructional models in setting up the learning units in other learning substances as well. 

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการกรมวิชาการ. (2544). การบูรณาการ.กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการกรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544.

กรุงเทพฯ:คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการกรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกสางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

พิกุลทร คำศรี. (2543) การพัฒนาหน่วยการเรียนการสอน เรื่อง หัตถกรรมในท้องถิ่น

สำหรับนักเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.

สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541).

การเรียนรู้____สู่ทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ :

คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติ

การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

เสริมศรี ไชยศรี. (2528). ระบบหลักสูตร-การสอน. เชียงใหม่ : พระสิงห์การพิมพ์.