ความฉลาดทางจิตวิญญาณและความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียน ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Main Article Content

สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา (3) การศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาก่อนการทดลองและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 ที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 40 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้สมาชิกทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติ ซึ่งในกลุ่มทดลองให้เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ส่วนในกลุ่มควบคุมมีการให้ข้อสนเทศในเรื่องเดียวกัน และทำการเก็บข้อมูลโดยทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลองทั้งสองกลุ่ม ทุกขั้นของความฉลาดทาง
จิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ ANCOVA (Analysis of Covariance)

จากการศึกษาพบว่า: ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาหลังการทดลองมีพฤติกรรมในการเรียนของนักศึกษาไปในทางที่ดีกว่าและสูงกว่าก่อนการทดลอง ส่วนความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนมีผลต่อการผันแปรพฤติกรรมในการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลองในความฉลาดทางจิตวิญญาณและความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง ส่วนพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในส่วนของทัศนคติในการเรียน แรงจูงใจในการเรียน ความวิตกกังวลในการเรียน การมีสมาธิต่อการเรียน กระบวนการรวบรวมข้อมูลในการเรียน และการเลือกเนื้อหาที่สำคัญ ในกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง ข้อค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนมาใช้มีคุณค่าการปฏิบัติในทางวิชาการ อีกทั้งพบว่ามีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาให้มีประสิทธิ์ยิ่งขึ้น

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์, สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ชื่อ ผศ.ดร.สันทนา  วิจิตรเนาวรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปัจจุบันทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพการศึกษา

References

กรมสุขภาพจิต. (2554). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง วิกฤติเด็กไทย IQ ต่ำ. ค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2557, จากhttp://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/60/file_138543511 3. PDF

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

Binet, A. (1905). The Benet-Simon Intelligence Scale. Retrieved April 7, 2014, from http:// childpsych.umwblogs.org/intelligence-testing-2/binet-simon-scale/

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics And School Learning. New York : McGraw-Hill Book Co.

Cote, S. & Miners, C.T.H. (2006). Emotional intelligence, cognitive intelligence and job performance. Administrative Science Quarterly. 51(1), 1-28.

Green, W. N. & Noble, K.D. (2010). Fostering spiritual intelligence: Undergraduates’ growth in a course about consciousness. Advanced Development Journal. 12, 26-48.

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam.

Goleman, D. (1998a). Working With Emotional Intelligence. New York: Bantam.

Goleman, D. (2001). Emotional Intelligence: Issuesin Paradigm Building. In C. Cherniss & D. Goleman (Eds.). San Francisco: Jossey-Bass.

King, D. B. & DeCicco, T.L. (2009). A viable model and self-report measure of spiritual intelligence. International Journal Of Transpersonal Studies. 28, 68-85.

Maslow, A. H. (1971). The Farther Reaches Of Human Nature. New York, NY: Viking Press.

Rossiter, A. (2006). Developing Spiritual Intelligence. New York: O Books.

Saidy, E.P., Hassan, A., Rahman, F.A., Jalit, H.A. Ismail, L.A. & Krauss, S.E. (2009). Influence of emotional and spiritual intelligence for the national education philosophy towards language skills among secondary school students. European Journal Of Social Science. 9(1), 61-71.

Scriven, M., & Paul, R. (1992). Critical Thinking Defined. Handout Given At Critical Thinking Conference, Atlanta: GA.

Sinnott, J. D. (2002). Introduction. Journal Of Adult Development. 9, 199-200.

Templeton, M. J. (2000). The Nature Of Spiritual Transformation. Retrieved April 7, 2014, from http://www.metanexus.net/archive/spiritualtransformationresearch/research/pdf/STSRP-LiteratureReview2-7.PDF

Weinstein, P. & Palmer. L. (2002). Learning And Study Strategies Inventory (LASSI) : Second Edition. Texas: H & H Publishing Company, Inc.

Zohar, D. & Marshall, I. (2000). SQ: Spiritual Intelligence: The Ultimate Intelligence. New York: Bloomsbury.

Zohar, D. & Marshall, I. (2004). SQ: Spiritual Intelligence: Wealth We Can Live By. San Francisco: berrett-Koehler Publisher.