การศึกษาต้นทุนและห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทาน การค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บนพื้นที่สูง ตำบลวาวี จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

นิอร สิริมงคลเลิศกุล
สุรีย์รัตน์ กองวี
เอกวัฒน์ ญาณะวงษา

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร
ในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และ 2) ศึกษาอุปสงค์และอุปทานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
จำนวนทั้งสิ้น 500 คนสถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นทุนในส่วนค่าแรงในการดูแลข้าวโพดมีค่าสูงที่สุด คือ 24,000 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ
72.60 รองลงมาเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งอยู่ที่ 7,250 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.93 ตามลำดับ
2) การซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ตำบลวาวีมีมูลค่าที่ค่อนข้างสูง โดยความต้องการหรืออุปสงค์ข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์มีจำนวนไม่จำกัด ในขณะที่อุปทาน หรือความสามารถในการเพาะปลูกเพื่อผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ของเกษตรกรเฉลี่ย 2074 อยู่ที่ 10,000 กิโลกรัมต่อรอบการปลูกต่อครัวเรือน ดังนั้นตำบลวาวีสามารถผลิต
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประมาณ 156,860,000 กิโลกรัมต่อปีซึ่งก็ยังไม่เพียงพอที่จะสามารถตอบสนองต่อ
ความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มเติมกำลังผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอต่อความต้องการ
ของตลาด เกษตรกรจึงทำการขยายพื้นที่ปลูก ดังนั้นเพื่อป้องกันการขยายพื้นที่อย่างไม่จำกัดนี้ ภาคส่วนต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดินบนพื้นที่สูงควรมีการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนพร้อมกับให้ความรู้
เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินแก่เกษตรกรเพื่อลดการขยายพื้นที่เกษตรในพื้นที่ป่า

The purpose of this study is to 1) study on the investing cost to the maize plantation for
livestock of the farmers in Wawee sub-district, Mae-Sruai district, Chiang Rai province. 2) study on
demand and supply to the maize plantation for livestock of the farmers in the study area, which is
survey-based research using questionnaire to interview a group of 500 maize farmers. The descriptive
statistics was used and frequency, percentage and average were analyzed.
The result of the study showed that, 1) the investing cost to maize plantation for livestockhas
highest wage, which is 24,000 Thai Baht (THB) / raior 72.60 percent of total cost. Secondly, following
by the transportation cost, 7,250 THB per rai, or 21.93 percent. 2) The trading cost of the maize is
high as the its demand in unlimited. While the supply or capability of the farmers in maize plantation
is 10,000 kg/crop calendar/household. Therefore, the maize production is approximately 156,860,000
kg / year and still not sufficient to the need. In order to increase maize production, the cultivation
land was expanded larger. To prevent unlimited expansion of the cultivation land, all concerned
parties in land use on the hilly area should have sustainable land use planning strategy to reduce
the agricultural area expansion to forest area.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

นิอร สิริมงคลเลิศกุล, Rajamangala University of Technology Lanna Chiangrai

Instructor of Civil Engineering of Rajamangala University of Technology Lanna Chiangrai

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2548). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง. กรุงเทพฯ: ส่วนแผนงานและประมวลผล สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ.

เขมรัฐ เถลิงศรี และ สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. (2555). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลไกสู่ความเหลื่อมล้ำในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา: ห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ.เวียงสา จ.น่าน. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2559, จาก http://www.econ.chula.ac.th/public/publication/project/Poli /Corn_animals_kamrat_sitid.pdf

จันทร์จรัสเรี่ยวเดชะ. (2555). ข้าวโพดไทย ความมั่นคงทางอาหารสัตว์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เจียมใจ เครือสุวรรณ ชาคริต โชติอมรศักดิ์ ภาคภูมิ รัตน์จิรานุกูล และ อรวรรณ วิรัลห์เวชยันต์. (2551) ใน มงคล รายะนาคร. 2553. หมอกควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ล๊อคดินพีไซน์เวิร์ด.

ทิพวรรณ ประภามณฑล, ธัญภรณ์ เกิดน้อย และ นิสา พักตร์วิไล. (2552). ผลกระทบทางสุขภาพจาก มลพิษอนุภาคฝุ่นในอากาศ.เชียงใหม่ : ครองช่างพริ้นติ้ง.

นิอร สิริมงคลเลิศกุล และ ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์. (2556). แผนที่เสี่ยงภัยสำหรับการเผาในที่โล่งจากข้อมูลเชิงพื้นที่หลายแหล่งของจังหวัดเชียงราย.ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณที่ดี(นสธ.) เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี.

นิอร สิริมงคลเลิศกุล และ สุรีรัตน์ กองวี. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกข้าวโพดบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาตำบลวาวีอำเภอแม่สรวยจังหวัดเชียงราย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาอีสเทอร์น. 8(1), 163-171.

บุญเทียมเลิศศุภวิทย์นภา. (2552). โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระบบเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของการปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่านและพะเยา: รายงานการวิจัยเครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน.ม.ป.ท :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บุษบา พฤษษาพันธุ์รัตน์. (2552). การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning And Control). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

ศุทธินี ดนตรี, สัญญา ทุมตะขบ พิภพ ชำนิวิกัยพงศ์ และ ศุภลักษณ์ หน้อยสุยะ. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบรูณ์ การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เผาจากข้อมูลเชิงพื้นที่หลายแหล่ง เพื่อการเฝ้าระวังและการป้องกันการเผาในที่โล่งในจังหวัดเชียงใหม่.ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณที่ดี (นสธ.) เชียงใหม่: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนั่น เผือกไร. (2551). การศึกษาระบบการปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วโดยวิธีการไม่ไถพรวนบนพื้นที่ลาดชัน: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).

สาวิตรมีจุย้และพิชัยสุรพรไพบูลย์. 2551. โครงการการพัฒนาทางเลือกระบบเกษตรที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชันโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมของจังหวัดน่าน: รายงานการวิจัยเครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. ม.ป.ท.: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า. 2555. รายงานการดับไฟป่า จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: ส่วนควบคุมไฟ ป่าจังหวัดเชียงราย.

เอมอร อังสุรัตน์ ชูศักดิ์ จอมพุก กัมปนาท วิจิตรศรีกมล ณัฐพล พจนาประเสริฐ และ อัจฉรา ปทุมนากุล. (2555). สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตข้าวโพดไทย ความมั่นคงด้านอาหารสัตว์. กรุงเทพ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายเกษตร.