การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทองของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วีระพันธ์ อะนันชัยธวัช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงคุณภาพ โดยลักษณะการวิจัยเน้นการดำเนินกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ใช้เครื่องมือทั้งการสังเกต การสอบถาม บันทึกการดำเนินงาน เอกสารรายงาน และการถ่ายภาพ โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมสำหรับข้าวเกรียบฟักทองของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว  ตำบลสันผักหวาน  อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่ที่เหมาะสม กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย
คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว จำนวน 30 คน  การวิจัยได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ ระยะที่ 1 เป็นขั้นตอนของการประชุมเพื่อเตรียมการดำเนินงานวิจัยโดยการจัดประชุมกลุ่มผู้นำของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว และสมาชิกกลุ่ม ระยะที่ 2 ทำกิจกรรมการอบรมการให้ความรู้ด้านการออกแบบ
บรรจุภัณฑ์ การร่างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทอง การพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทอง และการสรุปบทเรียนพร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการวิจัยร่วมกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า สภาพบริบทของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตนงิ้ว ตำบลสันผักหวาน
อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543 โดยนางคำ  วงค์คำอ้าย เป็นการรวมกลุ่มเนื่องจากปัญหาการว่างงาน และรายได้ของกลุ่มแม่บ้านบ้านต้นงิ้วค่อนข้างน้อย และไม่มีรายได้ หลังจากฤดูกาล
ทำไร่ทำนา ทางกลุ่มแม่บ้านจึงเริ่มหาอาชีพเสริม โดยดูจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและองค์ความรู้ที่
สืบทอดกันมาในการทำข้าวแต๋น และข้าวเกรียบและก่อตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตนงิ้ว ขึ้นมาโดย

มีนางคำ วงค์คำอ้าย เป็นประธานกลุ่ม และมีชื่อสมาชิกทั้งหมด 30 คน มีการผลิตสินค้าได้แก่ ข้าวแต๋น จำนวน 3 รสชาติ ข้าวเกรียบ จำนวน 18 รสชาติ น้ำพริกถั่วเหลือง จำนวน 1 รสชาติ กล้วยกวน
จำนวน 1 รสชาติ  สำหรับสภาพปัญหาของบรรจุภัณฑ์ จะมีปัญหาเรื่องแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าข้าวเกรียบฟักทอง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มได้ผลิตขึ้นแล้วยอดขายดีมาก แต่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบ
ของบรรจุภัณฑ์ที่ดีค่อนข้างน้อย ประกอบกับยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นรูปแบบมาตรฐานที่สามารถวางตามร้านขายของฝากได้ทำให้ยอดขายของทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้
วางแผนกันไว้   จากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทอง ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว
ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จนได้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน
ครบองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ที่ดี โดยมีการตั้งชื่อสินค้าว่า “คำ” และมีตราสินค้าเป็นของทางกลุ่ม
มีสัญลักษณ์ทางการค้า มีรายละเอียดของสินค้าเป็นความเป็นมาและเรื่องราวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
บ้านต้นงิ้วรวมถึงสีของตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สามารถนำไปทำการส่งเสริมการขายได้ มีรูปภาพซึ่งเป็นรู
ปฟักทองประกอบ มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทอง มีปริมาตร คือ 100 กรัม มีชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว 114/1 หมู่ 2  ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 โทร 053430844 และมีรายละเอียดตามข้อบังคับของกฎหมาย ได้แก่ วันผลิต วันหมดอายุ บนบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว ตั้งแต่ขั้นตอนของ
การกำหนดปัญหา การหาสาเหตุ การวางแผนการ การช่วยเหลือทั้งด้านวัสดุทำข้าวเกรียบฟักทอง และแรงงานในการทำข้าวเกรียบฟักทอง จนถึงขั้นตอนการประเมินผล โดยมีการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสรุปประเด็นต่างๆ ของการทำวิจัย และการจัดทำบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่

This study was a participatory action research based on observation, questionnaire, reviewing of documentation, reports and photos. The Objectives were to study the contexts of Ban Ton-Ngew Farmers’housewife group Sanpakwan, Hangdong District, Chiang Mai Province and suitable development of pumpkin chip packaging for the group, 30 members were selected as sample population. The research was divided into two phases with in 6 months. First phase was the meeting for preparation by leader of Ton-Ngew Farm Women Group and member of Ban Ton-Ngew Farmers’housewife group. Second phase was the packaging training, prototypes building of pumpkin chip packaging, development pumpkin chip packaging and lesson learned together with checking the accuracy of research data with Ban Ton-Ngew Farmers’housewife group.

 

The result showed that the conditions in the context of a Ban Ton-Ngew Farmers’housewife group, Sanpakwan, Hangdong District, Chiang Mai Province, it was established in 2000 by Mrs.Kam  Wongkamai was suffered from unemployment problem and decrease income of the Ban Ton-Ngew Farmers’housewife group. They have no income after rice harvesting. The group was looking for new way to increase income by making rice cracker and chips. Therefore they set up the group, leading by
Mrs. KamWongkamai. The group compressed of 30 members, which produce the product such as rice, rice cracker 3 flavors, chips 18 flavors, soy chili sauce 1 flavor, sugar-boiled banana puree 1 flavor.

The problem of the group was that there was not enough information according to the standard of the souvenir shop with they do not accept for consignment system. As a result, they can not achieve their goal as plan.  From the problem found lead to the development of packaging. The new development of package has shown complete information according to the regulation which are product’s net 100 grams weight, manufactured and expire date and the address of producer which is 114/1 M2 at Sanpakwan Sub-district Hangdong District, Chiang Mai Province.50230, 053430844 call. The housewife group participated in every step of the development from identifying the problems, causes of the problems, planning, seeking helps in terms of raw materials and labors to evaluating the project. The group also gave opinions and suggestions on the research aspects and also participated in the making of the new packaging.

 

Article Details

Section
Research Articles

References

ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา และเตชา อัศวสิทธิถาวร. (2545). การบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : วังอักษร

อภิญญา กังสนารักษ์. (2541). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อโนทัย เพ็ชรสุวรรณ, ไพรัช วงศ์ยุทธไกร และสมพล ดำรงเสถียร. (2551). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวแต๋น ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 2(1),13-14.