แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรนิภา จันทร์น้อย
วีระศักดิ์ ชมภูคำ
ประวัติ พื้นผาสุข
เรืองวิทย์ นนทภา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา 2)ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และมหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีความเที่ยง (reliability) เท่ากับ 0.89 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.57 ถึง 0.82 แบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา ชุดที่ 2 ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นดังนี้ 1.1 ด้านการดำเนินชีวิตในสังคม คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญสำหรับนักศึกษาประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ และความมีระเบียบวินัย 1.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน จัดให้มีการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และสอดแทรกหรือบูรณาการหลักคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา อาจารย์ ผู้บริหารควรเป็นแม่แบบที่ดีให้กับนักศึกษา 1.3 ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรม จัดกิจกรรมหรือโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษาเป็นประจำ สงเสริมและสนับสนุนใหนักศึกษาเขารวมกิจกรรมตามความสมัครใจ และตามความสามารถของนักศึกษา 1.4 ด้านการประกอบอาชีพตามจรรยาบรรณ คุณธรรมที่ต้องปลูกฝังคือ ความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพของตน จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับจรรยาบรรณในวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณในแต่ละวิชาชีพ

2.รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่  ประกอบด้วย กิจกรรมการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรม กิจกรรมการใช้สถานการณ์สมมุติ กิจกรรมการอบรมพัฒนาด้านจริยธรรม กิจกรรมการยกย่องนักศึกษาที่มีพฤติกรรมดีเด่นเพื่อมอบเกียรติบัตร

 

This study aimed to 1). study ways of establishing activities to improve merit and morality of the students, 2). study opinions of the students on ways of establishing activities to improve merit and morality of the students at private universities in Chiang Mai. Studied samples included students of Payap University, Far Eastern University and North Chiang Mai University. Study tool was the rating-scaled questionnaire with 0,89 reliability and 0.57-0.82 differentiating power. Two sets of questionnaire were used according to the objectives of the study. The statistics performed to analyze data consisted of percentage, average and standard deviation. 

The results of the research showed that 1). ways of establishing activities to improve merit and morality of the students comprised 1.1). for social life, the important aspects to concern were sense of honesty, sacrifice and discipline, 1.2) for curriculum managing, the activities must be integrated in the general education, in all taught subjects and instructors as well as administrative team must be good example, 1.3). for setting up the activities, the activities must be regularly performed, students must voluntarily participated relying on their talents, 1.4) for professional morality, sense of honesty must be implemented by establishing the training on this aspect before student graduations, 2). activities of improving merit and morality of students at private universities in Chiang Mai consisted of activities to implement the morality concerns, role-playing-based activities, morality training activities and student praising activity by giving the certificate. 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

พรนิภา จันทร์น้อย, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

- Assistant to the President

- Dean, Faculty of Art

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย ศจีมาศ ณ วิเชียร และพิศสมัย อรทัย. (2551). การสำรวจและสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ประภาศรี สีหอาไพ. (2543). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราชญา กล้าผจัญ (2548). คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท แอล.ที.เพรส จำกัด.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). คนไทยในอุดมคติ. กรุงเทพฯ : แม็คการพิมพ์.

วราศรี ปูนทอง, ประภารัตน์ ทวีเกียรติตระกูล และศุกร์ใจ เจริญสุข. (2541). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนักศึกษาโดยการบูรณาการระหว่างงานวิชาการกับกิจกรรมนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี.

สุภาพ ปาทะรัตน์ ธีรพงษ์ วิริยานนท์ และวิทยา วิภาวิวัฒน์. (2548). การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพมหานคร: วารสารวิชาการพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2549). โครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย. การประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 12. วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 1-14.

สุรยุทธ์ จุลานนท์. (2550). ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสังคมไทย. การสัมมนาทางวิชาการครบรอบ 52 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.