อิทธิพลปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลการดำเนินงาน กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ภาคภูมิ ภัควิภาส
ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบอิทธิพลปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อ
ผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากข้อมูลในการประกอบธุรกิจมีความสำคัญและต้องให้ผู้ประกอบการสมัครใจ จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์สถิติพหุตัวแปรโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA)  เพื่อต้องการพิสูจน์ ตรวจสอบความเหมาะสมและถูกต้องขององค์ประกอบของอิทธิปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคเหนือของประเทศไทยใน 4ปัจจัย ได้แก่ 1) องค์กรแห่งการเรียนรู้
2) บรรยากาศการเรียนรู้ 3) การจัดการความรู้ 4) ผลการดำเนินงานขององค์การโดยผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์นั้นผ่านและอยู่ในระดับดี(c2-test)ความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.036,  (c2/df) เท่ากับ 1.27, CFI  เท่ากับ 0.95, GFI เท่ากับ 0.97, AGFI เท่ากับ 0.96, RMSEA เท่ากับ 0.04, SRMR เท่ากับ 0.03  และ 0.02  แสดงว่าองค์ประกอบอิทธิพลปัจจัย
ด้านความรู้ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลการดำเนินงานที่มีผลเชิงบวกของปัจจัยด้านความรู้ 3 ประการ
อันประกอบด้วยองค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ ต่างมีส่วนสำคัญ
ที่ส่งผลดีต่อผลการดำเนินงาน โดยใช้ทฤษฎีของ BSC เป็นตัวชี้วัดถึงผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และแนวทางการพัฒนาด้านความรู้ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหรือหน่วยงานอื่นๆ ช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจและนำปัจจัยด้านความรู้เหล่านี้ไปปฏิบัติเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของภาคประชาชน กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและประเทศชาติเป็นลำดับต่อไปในอนาคต


This research aims to study the factors influencing entrepreneur’s knowledge on Business performance of SMEs of Northern Thailand. The sample and population of the entrepreneurs were from 17 provinces of Northern Thailand, which were selected by Nonprobability Sampling. The sampling was selected by a Purposive Sampling method because the information about business operation is important and requires 400 voluntary respondents, which the questionnaire is a tool to collect data. The data were analyzed with descriptive statistics and multivariate statistical analysis by using Confirmatory Factor Analysis (CFA) in order to prove and examine the appropriateness and accuracy of the composition of the factors influencing entrepreneur’s knowledge that affect the performance of SMEs of Northern Thailand in four factors, which are 1) Learning organization, 2) Learning environment 3) Knowledge management 4) Performance of the organization. The result showed that the examination of the model fits with the empirical data at a good level (c2-test), probability (p-value) equaled 0.036, (c2/df) equaled 1.27, CFI equaled 0.95, GFI equaled 0.97, AGFI equaled 0.96, RMSEA equaled 0.04, SRMR equaled 0.03 and 0.02. These results showed that the factors influencing entrepreneur’s knowledge that affect the performance had the positive effect on three aspects of knowledge which were learning organization, learning environment, and knowledge management that all of them shared the significant positive impact on the performance by using the theory of BSC as the measurement of the performance of the community enterprise. The approach of knowledge development for the entrepreneur should focus on truly understanding of the entrepreneur by allowing the agencies that involved in the promotion of SMEs for both government agencies and private organizations to support in building the better understanding and knowledge as well as applied these aspects to use in practice in order to create the stability and sustainability of people, SMEs, and then the country respectively in the future.

Article Details

Section
Research Articles