ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

สิทธิชัย ธรรมขัน
ธรรมพร ตันตรา
สมคิด แก้วทิพย์
สถาพร แสงสุโพธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อหาข้อเสนอต่อการบริหารจัดการสภาองค์กรชุมชนงานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 35 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 180 แห่ง โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลและใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสานทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้การสัมภาษณ์แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มย่อยเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผสานกับการใช้การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


จากการศึกษาในเชิงคุณภาพลักษณะความสัมพันธ์ของสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรูปแบบความสัมพันธ์อยู่ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงร่วมมือ ความสัมพันธ์เชิงขัดแย้ง และความสัมพันธ์เชิงไม่ขัดแย้งแต่ต่างฝ่ายต่างทำงานในส่วนของตน โดยลักษณะความสัมพันธ์จะขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีทั้งในส่วนปัจจัยส่งผลต่อความสัมพันธ์โดยตรง ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผลประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 4.56) 2) ปัจจัยด้านการเมืองท้องถิ่น (ค่าเฉลี่ย 4.20) 3) ปัจจัยด้านบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย (ค่าเฉลี่ย 4.11) 4) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (3.95) 5) ปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร (3.37) และปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมต่อความสัมพันธ์ ได้แก่ 1) ความเชื่อและวัฒนธรรม 2) ทัศนคติความเชื่อส่วนบุคคล 3) ปัจจัยเชิงโครงสร้างและ 4) แนวทางการบริหารองค์กร


การศึกษาในส่วนของข้อเสนอที่เป็นแนวทางการบริหารจัดการสภาองค์กรชุมชนที่เหมาะสมต่อการอยู่ร่วมกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการในการสร้างแนวทางการบริหารจัดการสภาองค์กรชุมชนที่เหมาะสม ดังนี้1) วิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ของสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2)  ต้องมีการประสานงานระหว่างองค์กรสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) การยอมรับบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละองค์กร 4) สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 5) มีการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้รับทราบ 6) ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน 7) มีการบริหารทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่นร่วมกันของทุกภาคส่วน


The objectives of this qualitative and quantitative study were to; 1) analyze the relationships between the community organization council and the local administrative organization; 2) factors affecting the relationships between the community organization council and the local administrative organization; and 3) propose a guideline for the managerial administrative of the community organization council. This mixed method study aimed. The sample group in this study consisted of key informants in qualitative researchwas thirty-sixand the sample groupin quantitative researchwas one hundred and eighty. Interview, focus group discussion, and questionnaire were used for data collection. Descriptive statistics was used for data analysis.


Finding showed that there were three forms of the relationships between the community organization council and the local administrative organization: 1) coordination,  2) conflicts, 3) non-conflicts. This depended on the community context of each area. Factors directly effecting the relationships between the community organization council and the local administrative organization included: 1) benefits (x̄ = 4.56); 2) local politics (x̄ = 4.20);        3) legal roles and duties (x̄ = 4.11); 4) participation (x̄ = 3.95); and 5) communication between the organizations (x̄ = 3.37), respectively.


The following were factors indirectly effecting the relationships; 1) confidence and culture, 2) attitude towards individuals, 3) structure, and 4) organization management.


The following were suggestions; 1) an analysis of the relationships between the community organization council and the local administrative organization; 2) coordination between the community organization council and the local administrative organization; 3) acceptance of roles and duties of each organization; 4) cooperation construction between the community organization council, the local administrative organization, and concerned agencies; 5) effective public relations; 6) local people participation as a main mechanism; and 7) coordination in local community resource management among all concerned parties.

Article Details

Section
Research Articles

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทยหลักและมิติในอนาคต.กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โกวิทย์ พวงงาม และ ปรีดี โชติช่วง. (2539). อะไร ทำไม อย่างไร อบต. ประชาธิปไตยของประชาชนในชนบท. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

จิตรา พรหมชุติมา. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กองพิมพ์สำนักงานเลขาธารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.

เฉลิมชัย ปัญญาดี. (2553).อัตลักษณ์และการสร้างอัตลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เชียงใหม่: โครงการวิจัยวิทยาลัยบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ตระกูล มีชัย. (2550). การปกครองท้องถิ่น หมู่บ้าน และชุมชน กับการสร้างรากฐานประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประสาน บุญโสภาคย์ ศรีราชา เจริญพาณิชย์ และ พวงผกา บุญโสภาคย์. 2552. รายงานการศึกษาพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

วิเชียร บุราณรักษ์. (2548). “ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนศึกษากรณีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี”. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2550). สภาองค์กรชุมชน: รวมพลังสร้างสังคมที่เข้มแข็งของชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน).

เสกสรร ประเสริฐกุล. (2548). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Certo, S. C., & Certo, S. T. (2006). Modern management (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Easton, David. (1953). The political system. Newyork : Knopf.

Mazmanian, D. A. & Sabatier, P. A. (1989). Implementation and public policy: With a new postscript. New York : University Press of America (Lanham, MD).