แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่มนํ้าพริกเกษตรกรบ้านแม่ไข อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

Main Article Content

ศิริอมร - กาวีระ

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการตลาด ของกลุ่มน้ำพริกเกษตรกรบ้านแม่ไข 2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อน้ำพริกและความพึงพอใจ ของผู้บริโภค และ3)สร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดของกลุ่มน้ำพริกเกษตรกรบ้านแม่ไขเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยการผสมผสานระหว่างการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research)และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กรณีการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลสภาพการดำเนินงานด้านการตลาด การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดและวิเคราะห์ SWOT จากสมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านแม่ไขจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสรุปความเพื่อการสังเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เนื้อหา กรณีการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการซื้อน้ำพริกและความพึงพอใจ ของผู้บริโภคจากผู้บริโภคน้ำพริกเกษตรกรบ้านแม่ไขจำนวน 333 คน จากหมู่บ้านจำนวน 13  หมู่บ้าน ในเทศบาลตำบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานทั่วไปของกลุ่มน้ำพริกเกษตรบ้านแม่ไขยังไม่เติบโตตามที่คาดหวังไว้ แต่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้ และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิก  ผู้ประกอบการยังไม่มีความเข้าใจ และยังไม่ให้ความสำคัญทางด้านการตลาดเท่าที่ควร พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคซื้อน้ำพริกแกงมากที่สุดแต่ชอบน้ำพริกปลาย่างมากที่สุด  ซื้อน้ำพริกสัปดาห์ละ1 ครั้ง โดยซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน ซื้อเพราะรสชาดดี(ถูกปาก) ปัจจัยหลักที่เลือกซื้อน้ำพริกเกษตรบ้านแม่ไขคือส่วนประกอบของน้ำพริกที่ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ   ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อน้ำพริกกลุ่มเกษตรบ้านแม่ไข อำเภอบ้านตาก พบว่า  ทั้งภาพรวมและรายด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก อันดับแรกคือด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาด้านราคา ด้านสถานที่ /ช่องการจัดจำหน่ายและด้านส่งเสริมการตลาด  และ แนวทางในการดำเนินงานด้านการตลาดมีดังนี้ 1)ด้านผลติภัณฑ์ (Product) ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะ  รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามชัดเจน ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ 2)ด้านราคา(Price) กำหนดราคาตามท้องตลาดโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน 3)ด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place/Distribution) ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และทำการกระจายสินค้าให้เพิ่มขึ้น 4)ด้านการส่งเสริมการตลาด(Promotion) ทำการการส่งเสริมการตลาดให้มากขึ้น ทั้งการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการตลาดเชิงกิจกรรม  5)ด้านบุคคลากร(People) ทีมงานต้องมีความมุ่งมั่น มีความรู้ด้านการบริหารจัดการและการตลาด นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ และเปิดรับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ

 

คำสำคัญ            :  ศักยภาพทางการตลาด, ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, ความพึงพอใจของผู้บริโภค

Abstract

            The present study aims to 1) study marketing administration and analyze mix method marketing of spicy sauce from Banmaekai agriculturalist group, 2) study consumers’ buying spicy sauce behavior and their satisfying, 3) build up performance development role of marketing for Banmaekai agriculturalist group . This study is a mixed method research using quantitative and qualitative methods.In terms of qualitative research, the researcher collected the data of the condition of the marketing implementation, marketing mix analysis, and SWOT analysis from 15 members of Banmaekai farmer group. The research instruments were structured interviews, and summary forms for the synthesis and content analysis. In terms of quantitative research, the researcher collected the data of the behavior on buying chili sauces and the consumer satisfaction from 333 consumers in 13 villages, Thungkracho Sub-district Municipality, Bantak District, Tak Province. The research instruments were frequency, percentages, arithmetic means, and standard deviation.

The results reveal that the business process of the agriculturalist group is not developed as much as the group expected, but it can be continued and that of the group can get income from this. Entrepreneur  doesn’t understand and take a serious consideration on marketing as well.  For consumer behavior information, It is also found that among various spicy sauce types the samples bought curry type the most and their most favorite is grilled fish spicy sauce. The buying frequency is once a week from a shop in their village. Approximately the quantity of sauce they bought each time is about half kilogram. The reason that the consumers chose to buy is that the product tastes good. Factor influencing buying this product is the sauce’s ingredient. For consumers’ satisfying of spicy sauce of Banmaekai agriculturalist group, Ban Tak District, it was found that the consumers are satisfied in “much” level. When considering consumers’ satisfying in each aspect, there are “much” level in all aspects. The most satisfying is found in product, followed by price, channel of distribution and marketing promotion respectively.

            And the economic community performance development role in marketing as follows 1) Product: having product management for outstanding and unique characteristic, maintaining high quality, well and clear packaging design, using production  technology, seeking for low cost source of , 2) Price: meet market pricing compared with competition, 3) Place: managing channel of distribution, having clear target and increasing distribution, 4)  Promotion: increasing marketing promotion; advertising, public relation, event marketing promotion and 5) People: having determined staff with knowledge of marketing administration, new technology, accepting information and knowledge from autonomous learning or government support.

Key words         : Marketing  Cababilitis, Marketing Mix, consumer behavior, customer satisfaction

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ศิริอมร - กาวีระ, THE Far Eastern University มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

จบระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจ

หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ/คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเมอร์น

References

ทิวา แก้วเสริม. (2551). ปัญหาและความต้องการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและ ท้องถิ่น (OTOP) จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ธานินทร ศิลป จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด วย SPSS. กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร- พริ้นท .

พงษ์ธร ศรีสถาน. (2548). แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดของศูนย์บิ๊กเฮิร์บ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.

ภูเมศ จำปาวงค์. (2547). ศักยภาพของชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ โครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”

อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วราพร โภชน์เกาะ.(2558).การพัฒนาศักยภาพการตลาดของกลุ่มชุมชนบ้านโพนสูง ตาบลหมื่นไวย

อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมากรณีศึกษาฟาร์มเห็ดและสวนมะนาว.การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วริษฐา หะไร.(2548). ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส.

สมบูรณ์ ขันธิโชติ และ ชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2558). การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัดนนทบุรี : กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขา มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เลขหน้า : 120-130.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก.(2553).รายชื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดตาก.ตาก.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตาก.(2552).รายชื่อกลุ่มOTOP จังหวัดตาก.ตาก.

สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.[2549]. แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554),กรุงเทพฯ : สำนักงาน,

Booms, B.H. and Bitner. M.J. (1981). Marketing Strategies and Organization Structures for Service Firms, in Donnelly, J.H. and George, W.R. (Eds), Marketing of Services, American Marketing, New York: John Wiley & Sons. Cited in Goi, Chai Lee. (n.d.).

Kotler, P. (2000).Marketing management the millennium dition. United States of America : Prentice Hall.

Perreault, W. D. and McCarthy, E. J. (2002).Basic Marketing A Gobal - Mangerial

Approach. Nort-Amarica : The McGraw-Hill Companies.