การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนคนสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่: ต้นยางนาและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน

Main Article Content

ฐิติมา ญาณะวงษา
มานูนณย์ สุตีคา

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของชาวบ้านกับต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่แนวทางการถ่ายทอดความรู้และความสำคัญของต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนให้แก่ผู้คนในปัจจุบันตลอดจนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสาร/หลักฐาน การสำรวจพื้นที่ภาคสนามร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยกระบวนการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้คนในชุมชนทั้งแบบเจาะจงและไม่เจาะจง ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 2 รูป ผู้ใหญ่บ้าน 10 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 64 คน และตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบรายการประเด็นการสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนมาจัดเวทีเสวนา ณ ลานกิจกรรมใต้ร่มยางนาและโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลสารภี

สรุปผลจากการวิจัยพบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของชาวบ้านกับต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนจากอดีตจนถึงปัจจุบันประวัติศาสตร์ชุมชนสารภี สามารถแบ่งความเปลี่ยนแปลงได้ 5 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคขุนกองกิจประมวลและขุนสารภีภิรมย์ ยุคร่องปิงห่าง-ถนนซุปเปอร์ ยุครื้อฝาย-การท่องเที่ยว ยุคการฟื้นฟูชุมชน และยุคของการเป็นพื้นที่กึงเมืองกึ่งชนบท โดยรอยต่อแต่ละยุคสมัยได้ชี้ให้เห็นเรื่องความสัมพันธ์ในการจัดการและแบ่งปันทรัพยากรอย่างสำคัญ มีพิธีกรรมทางความเชื่อที่สำคัญ คือ ประเพณีทางพุทธศาสนาและพิธีกรรมพุทธ-ผี 

แนวทางการถ่ายทอดความรู้และความสำคัญของต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนให้แก่ผู้คนในปัจจุบันที่สำคัญ คือ การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มาเข้าร่วมอย่างอิสระ พบปะกัน มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นเสนอแนวทางในการดูแลและอนุรักษ์ต้นยางอย่างหลากหลาย และควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนในชุมชนมีรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งและมีความสำคัญที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชน ดูแลสาธารณสมบัติของชุมชน และมีความภาคภูมิใจในชุมชนของตนเองมากขึ้น

ส่วนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนคือ การนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาเป็นข้อมูลส่งเสริมการท่องเที่ยวในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่งเสริมรายได้ของคนในชุมชน คนในชุมชนเกิดอนุรักษ์เพื่อให้เกิดความสวยงามในพื้นที่และส่งเสริมให้เกิดการภาพลักษณ์ที่ดีเชิญชวนให้เกิดการมาท่องเที่ยว รองลงมาเป็นการนำข้อมูลประวัติศาสตร์เชื่อมโยงสู่การจัดการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดสู่เยาวชน

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ฐิติมา ญาณะวงษา, The Far Eastern University มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

อาจารย์ประจำ  สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

 วุฒิการศึกษา         -  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ / แขนงวิชา หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                         -  ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

ชุติมา คําบุญชู สุภาพ ต๊ะใจ อุบลพรรณ วรรณสัย ทัตพิชา ชลวิสูตร และตุลาภรณ แสนปรน. (2553).โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธวัชชัย หล่อวิจิตร. (2550). การจัดการความรู้ : ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

พิมพ์อุมา ธัญธนกุล. (2558). ประวัติศาสตร์ชุมชน : บ้านสันคู อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(6), 353-363.

มานูนณย์ สุตีคา ฐิติมา ญาณะวงษา และนวพร ชลารักษ์. (2559). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมส่วนร่วมของชุมชนตำบลสารภีอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่: ต้นยางนาและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เมธี ใจศรี นิศาชล ทองขาว พะเยาว์ พิกุลสวัสดิ์ พวงผกา หลักเมือง และจันทร์ รัตนจีระวงค์. (2552). โครงการการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2552). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

สำนักวัฒนธรรมเชียงใหม่. (2545). ราชอาณาจักรล้านนา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.chiangmai-thailand.net/lanna_history_adeet-putjubun/lanna_history.html. (5 เมษายน 2557)

สีลาภรณ์ บัวสาย. (2552: ออนไลน์) ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559. จากhttp://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view

=article&id=1031:---35&catid=37:research-exploitation&Itemid=148

สุมนมาลย์ สิงหะ สมบูรณ์ บุญชู นันทศิลป์ บุญชู และปพิชญา ปันเจริญ. (2548). โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ตำบลสารภี. เชียงใหม่ : องค์การบริหารส่วนตำบลสารภี.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2545). โครงการประสานงานการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ : ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ ใน รายงานผลการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำ นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีนาคม 2547. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2554). โครงการประสานงานการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ :ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.