รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อรชร ปราจันทร์
สุกัญญา แช่มช้อย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูและสภาพการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูและการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ศึกษาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูและสภาพการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเก็บข้อมูลจากตัวแทนครูที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั้ง  4 ภาค  จำนวน  340 คน  ศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศจำนวน   3  โรงเรียน  และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  5  ท่าน 2) สร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและประเมินรูปแบบด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน  9 ท่าน  3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจากตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง  4  ภาค  จำนวน  350  คน โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่าทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ ทักษะการสร้างเครือข่ายส่วนการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ด้านที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือระบบของสถานศึกษาที่ก่อให้เกิดการคิดเชิงนวัตกรรม  รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย  3  องค์ประกอบ  ได้แก่  1)  ทักษะการบริหาร  ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์)  Structure (โครงสร้าง)  Systems (ระบบ)  Style  (รูปแบบ)  Staff (ทีมงาน)  Shared Values  (ค่านิยมร่วม)  Skills  (ทักษะ )  2) วิธีการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู  ประกอบด้วย การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษางาน  การศึกษาต่อ และการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยี  การพัฒนาด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่การจัดการความรู้  การใช้ระบบพี่เลี้ยง  การสร้างเครือข่าย   การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การบูรณาการองค์ความรู้และการสร้างทีมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การติดตามและการสะท้อนผล 3) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู ประกอบด้วย ทักษะการสื่อสาร  ทักษะการสังเกต  ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการทดลอง ทักษะการสร้างเครือข่าย  ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการวิพากษ์   ทักษะการสังเคราะห์  ทักษะการประยุกต์  และทักษะการสร้างสรรค์   ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับองค์ประกอบทั้งสามได้แก่การบริหาร  วิธีการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม  ของครู   และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม  ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
Research Articles