ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ภูษิตย์ วงษ์เล็ก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 319 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด 2) ผู้ปกครองที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ครอบครัวต่อเดือน และจำนวนบุตร – หลาน ในอุปการะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ภูษิตย์ วงษ์เล็ก, บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

นายภูษิตย์   วงษ์เล็ก

การศึกษา   ปริญญาเอก

สถานที่ทำงาน   บัณฑิตวิทยาลัย  วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

ตำแหน่ง   คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

References

กาญจนา โมสาลี. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศในครัวเรือนในจังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 8(1), 140 - 150.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ภาวิณี กาญจนา. (2554). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ท๊อป.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ก.

วรรณา ปัญญาดี. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกโรงเรียนสองภาษาของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (2558). จำนวนนักเรียนและโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2556-2557. สิบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2558, จาก http://www.surat1.go.th/it.php?id=12&show_id=10.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (2558). จำนวนนักเรียนและโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2556-2557. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคมคม 2558, จาก http://www.surat2.go.th/data.asp.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2558). จำนวนนักเรียนและโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2556-2557. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคมคม 2558, จาก http://www.surat3.go.th/home/0006.php?name=download.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2558). จำนวนนักเรียนและโรงเรียนเอกชนในจังหวัด สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2553-2555. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2558, จากhttps://sites.google.com/a/opec.go.th/opec/brikar-dawnhold.

อรพิน ปินตา. (2550). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.