รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพ สำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ

Main Article Content

ณรงค์ อภัยใจ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อ1) ศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสและ 3) ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส วิธีดำเนินการวิจัยมี 6 ขั้นตอนดังนี้  1)การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ตารางวิเคราะห์เนื้อหา  2) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการศึกษาการส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสของโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ จำนวน 5 แห่งที่มีการปฏิบัติที่ดี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบศึกษาเอกสารและแบบสัมภาษณ์  3) ศึกษาแนวทางการการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ 4)ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ 5)ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม และ 6) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริกลุ่มประชากรที่ใช้ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริจำนวน 54 คนเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า สภาพและแนวทางในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและสภาพแวดล้อม ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบและ 2 เงื่อนไขความสำเร็จ องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการด้านบริหารงานบุคคลด้านงบประมาณและด้านบริหารทั่วไป 2) ด้านกระบวนการประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ การปรับปรุงและการรายงานผลมีการประสานงานเป็นกลไกลการขับเคลื่อน 3) ผลผลิตด้านคุณภาพผู้เรียน และผลผลิตด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และเงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ 1) หน่วยงานต้นสังกัดมีนโยบายสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและ 2) มีองค์กรภายนอกให้การสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ และผลการประเมินรูปแบบมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


This research aimed to 1) study the educational status and guidelines of  Education Management  Model for Career Development Disadvantaged Student for Schools under Royal Initiatives. 2) create a model of Education Management  Model for Career Development Disadvantaged Student for Schools under Royal Initiatives.. and 3) study the results of the evaluating model Education Management  Model for Career Development Disadvantaged Student for Schools under Royal Initiatives.The research methodology was qualitative research which had 6 steps; 1) Reviewing all the literature related to the career  development education management  model for disadvantaged student of schools under royal initiatives. Collected data by using the analyzing table, 2) studying the career  development education management  model for disadvantaged student of schools under royal initiatives.in 5 schools under the royal initiation using the interviewing form and documentary research 3) studying the educational management  for promoting careers in disadvantaged students in schools under the royal initiation from interviewing  9 experts regarding the development of this model using the interviewing form, 4) creating the career  development education management  model for disadvantaged student of schools under royal initiatives, 5) Evaluating the model by the experts using a group discussion, 6) Evaluating the potentiality and advantage of implementing the model with 54 administrators of the school under the royal initiation using the questionnaire data analysis by average and standard deviation.


The results were there were four major concerns in educational status and guidelines for promoting career in the targeted students including inputs, process, results, and environment. The results of creating the model were three compositions and two conditions. The compositions were 1) inputs which consist of the school management in academic management, human resource management, funding management, and general management, 2) process which consists of planning, doing, evaluating, improving, and reporting, and 3) results which include students’ quality and the efficiency of management. The two conditions of success were 1) internal supporting; the agencies always had policies to support the management and external supporting, 2) schools were always supported by other organizations. The result of evaluating the model was the model could be implemented in the schools at level “Most”.

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม. (2545). ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัดในประเทศไทย พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

จุฬาลงกรณ์, มหาวิทยาลัย. (2555). ปัจฉิมบทแห่งความจงรักภักดี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มนต์นภัส มโนการณ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร. พิษณุโลก : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลัลทริมา วาปีทะ. (2549). การศึกษาความต้องการความช่วยเหลือของเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ชายแดนไทย - กัมพูชา : กรณีศึกษาอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สมิต สัชณุกร. (2546). เทคนิคการประสานงาน. กรุงเทพฯ : สายธาร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.

________.(2552). การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและถิ่นทุรกันดาร, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2551). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550 – 2559. กรุงเทพฯ : สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาชายขอบภาคใต้. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบฐานโรงเรียน. กรุงเทพฯ : พระรามสี่การพิมพ์.

Cheng, Yin Cheong. (1996). School Effectiveness and School-based Management :A Mechanism for Development. London : The Falmer Press.

Cohn, Elohanan. (1982). Financing schools. Encyclopedia of Educational Research.3 (4), 695-696.

David, Jane L. (1996). “The Who, What, and Why of Site-Based Management”, Educational Leadership. 53, 4 (December 1995/January 1996) : 4-9

Eisner, E. (1976). Education Connoisseiship and Criticism. Their form and functions in education evaluation : Journal of Aesthetic Education.