ประสิทธิผลทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฏฐกานต์ ดำรงรักษ์ธัญญา
พัชรีวรรณ กิจมี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลทางการศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาใน ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากสูตรคำนวณTaro Yamaneรวมทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประสิทธิผลทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า โดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า ทางโรงเรียนมีความสามารถมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  นักเรียนมีองค์ความรู้จากสื่อที่หลากหลายและทันสมัย ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรมเกือบทุกแห่งยังประสบปัญหาในด้านงบประมาณในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวกพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  นักเรียนมีความภาคภูมิใจและเชิดชูสถาบันของตน ผลจากการสัมภาษณ์พบว่าปัจจุบันโรงเรียนต่าง ๆ  มีการแข่งขันกันทางด้านการศึกษาสูงไม่ ว่าจะเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีการแข่งขันของกลุ่มวิชาการต่าง ๆ หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แต่โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีการขับเคลื่อนกันน้อย   ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  ครูพัฒนาวิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ผลจากการสัมภาษณ์พบว่าครูผู้สอนบางคนมีการสอนตามตำราและใช้เอกสารมากกว่าการใช้สื่อทางเทคโนโลยี   และด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาในสถานศึกษา พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  บุคลากรในสถานศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานซึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่าบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ยังไม่มีความมั่นคงในเรื่องของค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ  (2) วิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลทางการศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนากระบวนการจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยยึดหลักกระบวนการจัดการ 4M  คือ (1) คน(Man) สถานศึกษาควรมีการสนับสนุนบุคลากรในการเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองด้านการใช้เทคโนโลยีการสอนสมัยใหม่อยู่เสมอ และให้ความสำคัญด้านสวัสดิการต่าง ๆ  ที่บุคลากรจะพึงมีพึงได้และการสร้างความมั่นคงในวิชาชีพ   พร้อมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักในสถานศึกษาของตนเอง  (2) เงิน(Money)  ควรจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของสถานศึกษาในการผลิตสื่อต่าง ๆ  และมีค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรในสถานศึกษาที่เหมาะสม และควรมีการปรับค่าตอบแทนสูงขึ้นในแต่ละปีเพื่อเป็นการเสริมแรงในการทำงานและเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการ (3) วัสดุ อุปกรณ์(Materials)  สถานศึกษาควรอำนวยความสะดวกในการดำเนินการศึกษา จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การเรียนให้แก่นักเรียน  สร้างแหล่งการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจแก่ผู้เรียน และ(4) การจัดการ (Management) สถานศึกษาควรจัดกระบวนการบริหารงานทั้งหมดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อนักเรียน


This research aimed (1) to study theopinion on educational effectiveness of Phrapariyattidhamma School in the general education section, Mueang District, Chiang MaiProvince and (2) to analyze the opinions on the effectiveness of education as a guideline fordevelop management processes for Phrapariyattidhamma School in the general education section, Mueang District, Chiang MaiProvince.  The research sample included school administrators, teachers and students. The sample was randomly selected by Taro Yamane formula in the academic year 2016 with the number of 176 people.  The research tools were questionnaires about the educational effectiveness of Phrapariyattidhamma School in the general education section,and unstructured interview.  The data were analyzed by frequency, percentage, standard deviation and content analysis.                      The findings were as follows:(1) The educational effectiveness of Phrapariyattidhamma School in the general education section, revealed that the overall respondents agreed that the schools had high ability.  When considering each aspect, they were as follows.  The ability to produce students with high learning achievement revealed the item with the lowest mean was that the students had knowledge from a variety of modern media.  The interview results showed that almost every Phrapariyattidhamma School still had problems with budget for developing instructional media.  The ability to develop students with positive attitudes showed the item with the lowest mean was that the students were proud and praised their institution.  The interview results indicated that nowadays there were high educational competitions among various schools regardless of learning achievement from various subject course competitions or student development activities.  However, the Phrapariyattidhamma Schools’ drive in the general education section was rather low.  The ability to change and develop the schools indicated the item with the lowest mean was that the teachers developed teaching methods by using modern technology.  The interview results revealed that some teachers taught by following textbooks more than using technological media.   The ability to solve problems in the schools showed the item with the lowest mean was that the personnel in the schools were morale in the work.  The interview results indicated that the personnel of the Phrapariyattidhamma Schools still had low security in the matter of compensation and various welfare. (2) analyze the opinions on the effectiveness of education as a guideline fordevelop management processes for Phrapariyattidhamma School in the general education section, Mueang District, Chiang MaiProvince revealed that the Suggestions to develop management processes for Phrapariyattidhamma School in the general education sectionon 4M management process is (1) Man: The school should encourage personnel to attend workshops on the use of modern teaching technology. And increase more welfare that the personnel should have and provide more stability of the profession. And instill in the students to love their own school. (2) Money: The school should allocate sufficient budget to cope with the needs of the institution for the production of media and appropriate remuneration for the appropriate educational institution. And should be adjusted of higher salary each year to strengthen the work and personal motivation. (3) Materials: The school should facilitate the adequate to learning and teaching material for students. Create learning resources within the institution to attract students. (4) Management: The school should organize all management processes to effectively control the work and fully effective And a system to help students effectively.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ณัฏฐกานต์ ดำรงรักษ์ธัญญา, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

นายณัฏฐกานต์  ดำรงรักษ์ธัญญา

เกินเมื่อวันที่ 28 เดือน กันยายน พ.ศ. 2529

ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 80/1 หมู่ 6 ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน 58120

ปัจจุบันรับราชการครู ณ โรงเรียนบ้านผาละปิ

References

กมลวรรณ ชัยวานิชศิริ. (2536). ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของ

โรงเรียน เอกชน. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาค บังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ดวงสมร กลิ่นเจริญ (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา.

เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง. (2536). จิตลักษณะของผู้บริหารและสภาวะของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของโรงเรียน. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พระชิน นิวงษา. (2544). การใช้สื่อการเรียนการสอนของครูอาจารย์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวดนครพนม. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาสมพร สุริโย. (2555). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มงคล สิทธิหล่อ. (2545). การจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ และพระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2542). การพัฒนาแนวทางและศักยภาพทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา.กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

สุรชัย ขยัน. (2539). การประเมินการจัดการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมของจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรพล พยอมแย้ม. (2541). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรุณ รักธรรม. (2525). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อำรุง จันทวานิช. ( 2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจํากัด.

Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (1991). Educational administrations : theory research and Practice. (4th ed.) New York : McGraw, Hill Book Company.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G.. (2005). Education administration: Theory research and Practice. 6th ed. New York: McGraw-Hill.