Accessibility to Health Care Service of Migrant Workers, and Health Care Service of Network Hospital Personal: A Case Study in Chiang Mai Province

Main Article Content

Nikhom Muenchan
Ratanaporn Awiphan
Sasitorn Chaiprasit

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการรับบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ และการให้บริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติของเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้แบบสำรวจในแรงงานข้ามชาติ จำนวน 420 คน และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในแรงงานข้ามชาติ 10 คน และเจ้าหน้าที่ที่ในเครือข่ายโรงพยาบาล จำนวน 14 คน เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึง 31 สิงหาคม 2559


 ผลการศึกษาพบว่า จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ความคิดเห็นในการเข้าถึงบริการสุขภาพต่อการรับบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในสถานบริการสาธารณสุข พบว่าอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย =2.58, S.D.=0.57 :


จากระดับคะแนน 1-3) จำแนกรายด้าน พบว่า ด้านความพอเพียงของบริการที่มีอยู่ ด้านความสามารถในการเข้าถึงแหล่งบริการ ด้านความสะดวกเมื่อใช้บริการ ด้านความสามารถในการจ่ายค่าบริการ และด้านการยอมรับคุณภาพในการให้บริการ มีคะแนนเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 2.65 ± 0.55, 2.74 ± 0.47, 2.14 ± 0.83 และ 2.69 ± 0.50


จากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง พบว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติ มีความเห็นว่า ระยะทางที่ใกล้กับที่พักหรือสถานที่ทำงาน และการมีบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมีผลต่อการใช้บริการสุขภาพ บางกรณีแรงงานข้ามชาติใช้ล่าม สำหรับการมาใช้บริการ


จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เห็นว่า มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับผู้ป่วยแรงงานข้ามชาติ การบริหารจัดการเรื่องค่าบริการสุขภาพที่ไม่ได้จัดสรรให้ผู้ป่วยแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน ทำให้ไม่คุ้มทุนกับรายรับจากแรงงานข้ามชาติ รวมถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


 ดังนั้น แนวทางหรือนโยบายในการให้บริการสุขภาพ ที่มาจาก ทุกภาคส่วน จึงยังเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนและพัฒนาเพื่อให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ


 


The objective of this study was to study the health service using and health service providing for migrant by the hospital network personal in Chiang Mai province.  The mixed methods was used to collect both quantitative data by using questionnaire in 420 migrants and qualitative data by using semi-structured interviews in 10 migrants and 14 hospital network personals. The data was collected during June 1st, 2016 to August 31st, 2016. The results found that from 420 samples, Access to health services was at a high level (Mean = 2.58, SD = 0.57: from level1-3). When the level of opinion was classified according to specific domains, it was found that the average scores of sufficiency of existing services, ability to access services, convenience of access, ability to pay for services, and realized quality of service were 2.65 ± 0.55, 2.74 ± 0.47, 2.14 ± 0.83, and 2.69 ± 0.50, respectively.


Based on semi-structured interviews, migrants believed  is not far from their place or their workplace.  By having health insurance, it affects their health services use. In some cases, migrants interpreter. Which is close For the service.


From interviewing, the providers had opinion that the limited number of providers makes difficulty to work flow and the communication problem.  Most of them agreed that service policy  about migrants was not clear.  Also, safety operation may still be the problem since health screening system of migrants was not clear.


Therefore, guidelines or health policies for migrants that was integrated all sectors is also needed to support developing the  effective system.


 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

Nikhom Muenchan, Chiang Mai University มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำเร็จการศึกษา สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร และศึกษาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต จากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ทำงานอยู่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดน่าน และกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 

References

กรมการจัดหางาน. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว :ฝ่ายทะเบียนและสารสนเทศ กลุ่มพัฒนา
ระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว. (2557). การบริหารจัดการการ
ทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย, สรุปปี 2557.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). เรื่องเล่าจากตัวเลข
(ปี 2556).กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
กระทรวงแรงงาน สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงใหม่. (2557). สถานการณ์แรงงานจังหวัด
เชียงใหม่ ประจำปี 2557, (หน้า 3).เชียงใหม่.
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์และธานี แก้วธรรมานุกูล (2554).การใช้บริการสาธารณสุขของ
แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติ : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน.วารสารสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(1), 11-22.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มงานนโยบายและแผนงาน. (2558). ข้อมูลการมารับบริการทางด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในปี พ.ศ.2558.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). แรงงานข้ามชาติกับระบบ
บริการสุขภาพของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558 จาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth /ThaiHealth2013.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ(สสส.), สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.). (2556). สุขภาพคนไทย 2556:ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจเพิ่มพลังพลเมือง ปีที่ 34 (ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2556), 139-144.
สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์. (2546). การเข้าถึงบริการสุขภาพ ในโครงการสร้างหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า ของผู้สูงอายุกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
องค์การแพธ (PATH) และกระทรวงสาธารณสุข (2548).มิใช่พียงภาระหน้าที่ : บันทึกประสบการณ์
การพัฒนาระบบสุขภาพแรงงานข้ามชาติ.กรุงเทพฯ : นิวธรรมดาการพิมพ์.
อภิชาติ จำรัสฤทธิ์วงศ์ วาทินี บุญชะลักษี จรัมพร โห้ลำยอง เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และกัญญา อภิพรชัยสกุล (2553) .การสำรวจข้อมูลพื้นฐานโครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย(โครงการฟ้ามิตร 2). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญ ณัฐภร เพลท.

อารีย์ เจตน์ดำรงเลิศ (2555).การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานข้ามชาติในโรงพยาบาลปาย
อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน.การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต
การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
References
Department of Employment, Foreign Worker Administration office. (2014). The Journal received
a record number of Migrant Kingdom work permit year 2014.
Ministry of Digital Economy and Society, National Statistical Office. (2013). Telling stories with figures
(2013). Bangkok : National Statistical Office.
Chiangmailabor, Minitry of Labor. (2014). Chiang annual labor situation in 2014, (page 3). Chiang Mai.


Chawapornpan Chanprasit , Tanee Kaewthummanukul. (2011). Public Health Service Utilization
Among Migrant Workers : A Case Study in Chiang Mai and Lum Phun Province. The Public Health Journal of Burapha University; 6(1): 11-22.
Chiang Mai Provincial Health Office, Strategic Development Group. (2015). Data from the health service Migrants in the year 2015.
Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (2012). Migrants system
Health of Thailand. cited 2015 December 2. Available from: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2013/thai2013_25.pdf.
Institute for Population and Social Research, Mahidol University, Migrants system
Health of Thailand and Thai Health Promotion Foundation and National Health Commission Office. (2013). Thailand Health Report 2013 :Thailand Reform Reforming the power structure Citizen Power.2013;34(1): 139-144.
Surangsri Seetamanotch. (2003). Access to universal health care coverage of elderly with factors related in Phuket. Thesis Master of Health System Research and Development. Master of Science. Songkla: Prince of Songkla University.
PATH Organization (PATH), Ministry of Public Health. (2005). Not only obligation experienced the development of health workers. Bangkok: New conventional printing.
Apichart Chamrusleethiwong, Watini Boonsalaksa, Charamporn Holumyong, Chalermpol Chachan, Kanya Apipornchaisakoon. (2010). Survey Project Prevention among migrant workers in Thailand (Project. PHAMIT 2). Bangkok: A partnership Nat wife plates.
Aree Jatdumronglerd (2012). Accessibility to Public Health Service of Migrant Workers in Pai Hospital, Pai District, Mae Hong Son Province. Thesis Master of Arts (Political Science), Chiang Mai University.