The Methods of Increasing Efficiency and Productivity of Human Resources of Technical Colleges Technician Industrial of High Vocational Certificate in Thailand

Main Article Content

นะโรดม อินต๊ะปัน

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิตกำลังคน ของวิทยาลัยเทคนิค ประเภทช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชียวชาญ ดำเนินการวิจัยด้วย EDFR ยึดตามรูปแบบ EFR กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม 2) ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินปฏิบัติงานสนองนโยบายวิทยาลัยเทคนิค 3) ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา 4) ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ใช้ผลผลิตจากทางวิทยาลัยเทคนิค วิเคราะห์ข้อมูลวิธี EDFR พิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการอาชีวศึกษา


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. ด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา จะต้องมีการเพิ่มความรู้ทักษะฝีมือทางช่างวิชาชีพเชิงลึกในการปฏิบัติงานตามวิชาชีพระดับสูงเฉพาะเจาะจง มีทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมและวิธีการทำงานเป็นทีม อดทน ขยัน ซื่อสัตย์สุจริต มีความใฝ่รู้และภาวะผู้นำ

  2. ด้านการจัดการเรียนการสอน จะต้องร่วมมือกับสถานประกอบการในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ตอบสนองตลาดแรงงาน และการประกอบอาชีพอิสระ ให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับแผน

พัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม และสอดรับกับบริบทของท้องถิ่นอย่างชัดเจน มีความยืดหยุ่นเน้นปฏิบัติสัมผัสกับงานที่แท้จริง มีการศึกษาดูงานยังสถานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง


  1. ด้านครูผู้สอน จะต้องมีการอบรมศึกษาดูงานพัฒนาความรู้ทั้งทฤษฏี ทักษะฝีมืออย่างต่อเนื่อง รู้ลักษณะงานอาชีพที่สอนอย่างลึกซึ้ง มีจรรยาบรรณ รู้ศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการพัฒนางานวิจัยนำผลการวิจัยมาต่อยอด มีการพัฒนาผลิตเอกสารตำราสื่ออยู่เสมอ มีใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพ ได้รับสวัสดิการผลตอบแทนที่ดีสูงขึ้นและยกระดับฐานะทางสังคมให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

  2. ด้านความร่วมมือ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งสมาคมวิชาชีพ ธุรกิจสถานประกอบการต่างๆ องค์กรผู้ใช้กำลังคนและวิทยาลัยเทคนิคผู้ผลิตกำลังคนทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค รวมถึงความร่วมมือระหว่างสถาบันจากต่างประเทศ

  3. ด้านมาตรฐาน จะต้องจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพดูแลกำหนดมาตรฐานทางวิชาชีพแต่ละสาขาภายใต้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ให้มีความสอดคล้องกับทักษะฝีมือและค่าจ้าง โดยสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า ธุรกิจสถานประกอบการมีส่วนร่วมกำหนดเกณฑ์ความก้าวหน้าทางสายงานอาชีพในแต่ละสาขาช่างอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน

  4. ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ รัฐบาลจะต้องตระหนักให้ความสำคัญกับการศึกษาสายอาชีพวิทยาลัยเทคนิค สถาบันอาชีวศึกษา ในการผลิตกำลังคนอย่างจริงจัง รวมไปถึงกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน มีการกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติอย่างชัดเจน จัดสรรงบประมาณ ครุภัณฑ์ อย่างเพียงพอ มีการกำหนดนโยบายผลักดันการจ้างงานสู่สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการนำผลการวิจัยมาพัฒนาต่อยอด มีการจัดทำฐานข้อมูลกำลังคนของประเทศระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษา

  5. ด้านค่านิยมในการเรียนวิทยาลัยเทคนิค ภาครัฐจะต้องร่วมมือกับสถานประกอบการ สื่อมวลชนสร้างแรงจูงใจความภาคภูมิใจเกียรติ์ศักดิ์ศรี ค่านิยมในการเรียนสายอาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม มีการประชาสัมพันธ์จุดเด่นของสายอาชีพ เรียนรู้จริง ทำจริง ทำได้ เก่งฝีมือ เก่งงาน เก่งปฏิบัติ จบแล้วมีงานทำ มีโอกาสก้าวหน้า

  6. ด้านการบริหารจัดการ จะต้องมีความเป็นอิสระผลิตช่างฝีมือสายปฏิบัติการประเภทช่างอุตสาหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรี โดยมีเป้าหมายนโยบายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นนิติบุคคล ชุมชนมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจในแต่ละฝ่าย ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล บริการวิชาชีพสู่สังคม เหมาะสมตามความต้องการของชุมชน สังคม องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน

Article Details

Section
Research Articles

References

ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554-2564). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญสืบ โพธิ์ศรี. (2559). การบริหารหลักสูตรเพื่อสร้างคุณลักษณะแรงงานฝีมืออาชีพในระดับอาชีวศึกษา. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (1), 1268 – 1287.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนที่ส่งเสริมความรู้เรื่องการทำงาน การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 10 (4), 175 – 186.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555). การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย.
อุดมศักดิ์ มีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11 (3), 221 – 235.
Dubrion, Michael; & Ireland, G.D. (1993). Management and Organization. 2nd ed. Ohio: South Western Publishing.
Prosser, Charles A; Hawkins, Layton S.; and Wright, John C. (1951). Development of Education. Chicago: American Technological Society.
Tuttle, A. (2002). Co – operating with the Competition. Industrial Distribution. (91): 40 – 42.