บุพปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวตลาดริมน้ำดอนหวายซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย

Main Article Content

สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์
อรรนพ เรืองกัลปวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวตลาดริมน้ำดอนหวายซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด กิจกรรมการท่องเที่ยว และการพัฒนาคุณภาพบริการของแหล่งท่องเที่ยวตลาดริมน้ำดอนหวาย วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา  และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปร
เป็นขั้น การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวตลาดริมน้ำดอนหวายซ้ำ
ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ได้แก่ กิจกรรมสืบสานประเพณีไทย ความเป็นรูปธรรม การให้ความมั่นใจ
ความเข้าใจความเห็นอกเห็นใจ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการ ลักษณะทางกายภาพ
และผลิตภัณฑ์ (แหล่งท่องเที่ยวและการให้บริการ)


สำหรับแนวทางในการพัฒนาด้านส่วนประสมทางการตลาด โดยเฉพาะลักษณะทางกายภาพที่
ควรพัฒนา คือ บริเวณสถานที่จอดรถควรสร้างที่จอดรถที่มีหลังคาคลุม เพื่อกันแดดกันฝน ประเด็นกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะกิจกรรมสืบสานประเพณีไทยนั้น นักท่องเที่ยวต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ตามเทศกาล ประเพณีที่สำคัญสำหรับประเด็นการพัฒนาคุณภาพบริการของแหล่งท่องเที่ยวตลาดริมน้ำดอนหวายโดยเฉพาะความเป็นรูปธรรม ต้องรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสวยงามโดดเด่นเป็นธรรมชาติรวมถึง  ควรจัดรูปแบบร้านค้าให้มีความเก่าแก่เหมือนสมัยก่อนที่เป็นตลาดโบราณ


This research aims to study the antecedents affecting the intention to revisit to Don Wai waterfront market and suggest ways to the development of the marketing mix of tourism activities and improving the quality of tourism services of Don Wai waterfront market. Research methodologies were used quantitative, the sample was the 400 tourists. The instrument used was questionnaire and data were analyzed using descriptive statistical analysis and multiple linear regression analysis. For the qualitative Research are 10 persons. The instrument were collected by questionnaires and the data was analyzed by content analysis. The results showed that an antecedents affecting the intention to come to revisit the market are tourist activities such as Thai tradition; materiality ensuring understanding, compassion activities travel destinations, physical products (tourism and services).


The development of the marketing mix especially the physical characteristics are the parking area, should build parking lot shielded from sun and rain. The tourism activities, particularly activities that Thai tradition activities, tourists wishing to participate in the festival activities. For improving the quality of tourism services market, especially Don Wai waterfront market, have to save the environment within the tourism area to be the outstanding in natural beauty and should decorate stores are old as ancient as the old market.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ Suan Dusit University มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

เชี่ยวชาญบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว

อรรนพ เรืองกัลปวงศ์, Suan Dusit Universityมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

เชี่ยวชาญบริหารธุรกิจ และท่องเที่ยว

References

กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรี และปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2554). การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. (34), 4.

จารุบุณณ์ ปานานนท์. (2533). การสร้างสรรค์จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ. จุลสารการท่องเที่ยว. 2(9), 8-12.

ชนานาถ พูลผล. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้า สลิมมิ่งพลัสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสุทธิปริทัศน์. 28(85), 81-94.

เบญจา จันทรา. (2545). แนวทางการพัฒนาตลาดริมน้ำดอนหวาย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาณวัฒน์ อุทัยเลิศ. (2551). การจัดการธุรกิจชุมชนของตลาดริมน้ำดอนหวาย ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า, ภาพิมล ปิ่นแก้ว, ปาลินี สกุลตั้งมณีรัตน์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดฉัตรศิลาในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal, SU. 6(1), January – April 2013.

ยูงทอง รวมสุข. (2549). ข้อมูลพื้นฐานของนักท่องเที่ยว พฤติกรรมการเดินทางและความพึงพอใจในคุณภาพบริการทางการท่องเที่ยวในการพยากรณ์ความตั้งใจกลับมาเที่ยวจังหวัดภูเก็ตซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2557). การสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าด้วยคุณภาพและคุณค่าในงานบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพายัพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2552 – 2554 รายงานข้อมูลจังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม2557, จาก http://service.nso.go.th/ nso/web/statseries/statseries23.html

Eugenio – Martin, J. L. & Avila- Foucat, S. V. (2005). Environmental Quality Changes and Repeat Visits in Nature-Based Tourism Destination: The case of Ventanilla, Oaxaca, Mexico. 2015, February 25. http://www.nottingham.ac.uk/ttri/.pdf.

Kotler, P. (1997). Marketing Management. International Edition. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Kotler, P., & Hellier, L. (2003). Customer repurchase intention a general structural equation model. Journal of Marketing. 11(12), 1762.

Mill, R., & Morrison, A. M. (1992). The Tourism system: And Introductory text. New Jersey: Prince - Hall Intentional.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory analysis. New York: Harper and Row.