การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา

Main Article Content

รักษิต สุทธิพงษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน และครูผู้สอน จำนวน 360 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และตอนที่ 3 แบบสอบถามข้อเสนอแนะเพิ่มเติมโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax)


ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36จังหวัดพะเยา มี5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ผู้นำในการริเริ่มใช้นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 2 วิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบที่ 3 ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพของครู องค์ประกอบที่ 4 นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการสอนของครู และองค์ประกอบที่ 5 จัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียน


The purpose of this research is to analyze the factors indicating the academic leadership competenciesof administrators of basic education schools perceived by the administrators and teachers under the Secondary Education Service Area Office 36, Phayao Province.For data gathering, 36 administrators and 360 teachers.Research tool was a questionnaire of 3parts as follows; first part was general questions, second part was questions for the competenciesof academic leadership of administrators, and third part was question for additional suggestion. The reliability of this research instrument is equal to 0.896. The data were analyzed by using Exploratory Factor Analysis (EFA), Principal Component Analysis (PCA), and Varimax Rotation.  


The findings of this research show that there are 5 factors, indicating the instructional leadership competenciesof administrators of basic education schools perceived by the administrators and teachers under the Secondary Education Service Area Office 36, Phayao Province. Factor 1: the leader initiates the use of innovation in learning and teaching. Factor 2: vision of education keeps up with changes. Factor 3: the leader promotes research to develop professional advancement of teachers. Factor 4: the leader supervises, monitors, and evaluates the teaching of teachers. Factor 5: the leader provides an atmosphere to promote academic excellence of the school.

Article Details

Section
Research Articles

References

กาญจน์ เรืองมนตรี. (2547). องค์ประกอบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารและการจัดการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวปฏิรูปการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จุฑามาศ อินนามเพ็ง. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตวิศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(4): 93-104.

ธิดาวัลย์ เสตะจันทร์. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้นิเทศภายในโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2554). CCPR กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิษณุ จุลวรรณ. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

วารินทร์ สินสูงสุด และวันทิพย์ สินสูงสุด. (2542). ระบบบริหารคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วันทิพย์.

วิรุฬห์จิต ใบลี. (2548). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1-2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วีรชาติ วิลาศรี. (2549). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สรรเสริญ เมืองวงษ์. (2549). องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Alig-Mielcarek, J. M., & Hoy, W.K. (2005). A theoretical and empirical analysis of the nature, meaning, and influence of instructional leadership. Ohio: The Ohio State University.

Blase, Joseph. (2004). Handbook of Instructional Leadership: How Successful Principals Promote Teaching and Learning. SAGE Publications.

Commission for higher education the prime minister. (2002). Education Act be 2542, as amended (No. 2) be 2545. Bangkok: Pikwhangraphic.

Davis, Gray A., and Magaret, A. Thomas. (1989). Effective School and Effective Teachers. Boston: Allyn and Bacon.

Duke, L. Daniel. (1987). School Leadership and Instructional Improvement. New York: Random House.

Jutamas Innampeng. (2009). Academic leadership of administrations and teachers affecting learning organization of schools under the office of Nakorn Phanom educational service area 2. Master thesis,

Sakon Nakorn Graduate Students Journal, 6(4): 93-104.

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a Model of Organizational Learning. Ph.D. Dissertation, Louisiana State University, U.S.A.

Karn Ruangmontri. (2004). Leadership factors affecting the effectiveness of administration and management of the basic education in accordance with the education reform. Doctoral dissertation, Naresuan University.

Knezevick, J. Stephen. (1984). Administration of Public Education. New York : Harper And Row.

Krung, S.E. (1992). Instructional leadership: A constructive. Educational Administration. August, 81 (587): 69-82.

MacNeill, C.N., Cavanagh, R.F., and Silcox, S. (2003). Pedagogic principal leadership. Management in Education (17) (4): 14-17.

McEwan, K. Elain. (1998). Seven Steps to Effective Instructional Leadership. California: Macmillan.

Office of the Education Council. (2016). Teacher Production and Development Status in Thailand. 2nd ed. Bangkok: Prikwarn Graphic, Co, LTD.

Paitoon Sinlarat and et al. (2011). CCPR New Educational Framework. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sansern Muangwong. (2006). The components of academic leadership for administrators toward school effectiveness under secondary educational service area office 33. Master thesis, Surin Rajabhat University.

Seyfarth, J.T. (1999). The principal: New leadership for new challenges. New Jersey: Prentice-Hall.

Thidawan Setachandana. (1998). The Relationships between Instructional Leadership Behavior of Supervisor in School and Achievement of Student in Primary Schools under Nakhon Pathom Provincial Primary Education Office. Master thesis, Silpakorn University.

Trusty, F. M. (1986). Administrator/supervisor career ladder orientation manual. Nashville, Tennessee: Tennessee Department of Education.

Warin Sinsungsut and Wantip Sinsungsut. (1999). Quality Management in Education. Bangkok: Wantip Press.

Weerachat Wilasri. (2006). Instructional leadership of the school administrators under the jurisdiction of Chaiyaphum educational service area office 2. Master thesis, Loei Rajabhat University.

Wildy, H., & Dimmock, C. (1993). Instructional in primary and secondary school. Journal of Educational Administration, 31(21): 43-61.

Wiroonjit Bailee. (2005). The instructional leadership of primary school administrators in the schools under the jurisdiction of Nong Bua Lam Phu educational service areasoffice 1-2. Master thesis, Loei Rajabhat University.

Wirot Sarrattana. (2013). A new educational paradigm: The Case for 21st Century Studies. Bangkok: Thipayawisut.

Visanu Junlawan. (2004). A Factor Analysis of School Principals Instructional Leadership of Saraburi Primary Education Office. Master thesis, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.