การแปรของคำเรียกญาติพื้นฐานภาษาไทดำในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม

Authors

  • อรรถสิทธิ์ บุญสวัสดิ์
  • สมทรง บุรุษพัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแปรของคำเรียกญาติพื้นฐานภาษาไทดำในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม และ 2) สืบหาว่าภาษาไทดำในทุกพื้นที่มีคำเรียกญาติสำหรับรุ่นอายุที่อาวุโสระดับสูงขึ้นไป 4 - 5 รุ่นอายุ และรุ่นอายุที่อาวุโสระดับต่ำลงมา 4 - 5 รุ่นอายุ หรือไม่ โดยเก็บข้อมูลคำเรียกญาติภาษาไทดำจากผู้บอกภาษาใน 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเพชรบุรี เลย นครปฐม นครสวรรค์) ประเทศลาว (แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทา) และประเทศเวียดนาม (เมืองเซินลา เมืองเดียนเบียน) และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายตามแนวคิดของ Nida (1979) และ Katz and Fodor (1963) ผลการศึกษาพบว่าภาษาไทดำใน 3 ประเทศ มีจำนวนคำเรียกญาติพื้นฐานแตกต่างกัน แต่มีการจำแนกมิติความแตกต่าง 5 ประการเท่ากัน คือ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ เพศ และฝ่ายพ่อหรือแม่ เฉพาะในประเทศไทยและประเทศเวียดนามสามารถสืบคำเรียกญาติขึ้นไปได้ถึงรุ่นอายุ +4 และสืบลงไปได้ถึงรุ่นอายุ -4 การให้ความสำคัญกับระบบอาวุโสและการเน้นฝ่ายพ่อถือเป็นลักษณะสำคัญของระบบคำเรียกญาติในภาษาไทดำ  

 

คำสำคัญ: คำเรียกญาติ, ภาษาไทดำ, ประเทศไทย, ประเทศลาว, ประเทศเวียดนาม

 

Abstract

This research aimed 1) to study the variation of Tai Dam basic kinship terminologies in Thailand, Laos and Vietnam, and 2) to investigate if the terms can be traced to the fourth or fifth generation above and below ego in every region. Tai Dam kinship terms were gathered from native informants in three countries: Thailand (Phetchaburi, Loei, Nakhon Pathom, Nakhon Sawan), Laos (Bokeo, Luangnamtha), and Vietnam (Son La, Dien Bien). All data were analyzed with the approach of componential analysis proposed by Nida (1979) and Katz and Fodor (1963). The results of the study showed that the numbers of basic kinship terms of Tai Dam in three countries were different, whereas the dimensions of contrast were similar. Tai Dam kinship system contained five dimensions of contrast: generation, lineality, age, gender, and parental side. Such terms can be traced to the fourth generation above and below ego in Thailand and Vietnam. Seniority and patriarchy were significant characteristics of Tai Dam kinship system.

 

Keywords: Kinship terminology, Tai Dam, Thailand, Laos, Vietnam

Downloads

Published

2018-05-14

How to Cite

บุญสวัสดิ์ อ., & บุรุษพัฒน์ ส. (2018). การแปรของคำเรียกญาติพื้นฐานภาษาไทดำในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 35(1), 21–42. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/123534

Issue

Section

บทความวิจัย