ภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนาของ อุตสาหกรรมอาหารไทย

Authors

  • พรสรรค์ ปิยนันทิศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) ในแผนพัฒนาและนโยบายการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ลักษณะของภาคีความร่วมมือในปัจจุบันและบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในภาคีความร่วมมือดังกล่าว โดยเฉพาะภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่ริเริ่มโดยรัฐบาลในการใช้กลไกภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและประเทศไทย 4.0 การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การเข้าร่วมสัมมนาและประชุมเชิงวิชาการ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 14 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่บริหารโครงการของภาครัฐ 5 คน และตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารจำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบข้อมูลเชิงลึกบางประการเกี่ยวกับพลวัตรของความแตกต่างระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะในด้านบทบาท ความรับผิดชอบ และขั้นตอนการดำเนินงานในการเข้าร่วมโครงการ อันเป็นผลโดยตรงจากลักษณะโครงสร้างและวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แตกต่างกันระหว่างองค์กรที่อยู่ในภาครัฐและองค์กรที่อยู่ในภาคเอกชน

 

คำสำคัญ: ภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน, อุตสาหกรรมอาหาร, เมืองนวัตกรรมอาหาร

 

 Abstract

          This study aims to study public-private partnership (PPP) in Thailand’s food industry i.e. how PPP was emphasized in recent development plans and policy statement, what are the existing patterns of the partnership, and how public and private sector play their roles in the process. However, the scope of this study only focuses on formal public-private partnerships that endorsed by national government under Food Innopolis project, which is a nation’s pilot project initiated by the government to support food industry development under the 20-year National Strategy and Thailand 4.0. In this study, Qualitative research methodology was applied; data was primarily obtained through documents analysis, seminar and conference attendance, and structured interviews. The total 14 interviews i.e. 5 interviews from government officials with administrative positions and 9 interviews from the private businesses participating in Food Innopolis project were conducted. The findings offer some insights into the dynamics of the differences between the private and public sectors pertaining and operating to their partnership arrangements and given tasks due to the different structures and organizational objectives that exist between public and private organizations.

 

Keyword: Public-Private Partnership, Food Industry, Food Innopolis

Downloads

Published

2018-05-09

How to Cite

ปิยนันทิศักดิ์ พ. (2018). ภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนาของ อุตสาหกรรมอาหารไทย. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 35(1), 196–218. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/123554

Issue

Section

บทความวิจัย