พุทธธรรมในวรรณกรรมคำสอนอีสาน

Authors

  • พุทธรักษ์ ปราบนอก

Keywords:

พุทธธรรม, วรรณกรรมอีสาน

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในวรรณกรรมคำสอนอีสานที่มีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของชาวอีสาน ผลการวิจัยพบว่า พุทธธรรมในวรรณกรรมคำสอนอีสานจะมีเนื้อหาเชิงจริยธรรมมากกว่าหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เนื้อหาคำสอนจะเป็นหลักปฏิบัติของบุคคลในสังคมในเชิงคติธรรมในการครองชีวิตทั้งชีวิตส่วนตัวและสังคมตามหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) พุทธจริยธรรมของสังคม ได้แก่ คำสอนเรื่องศีลห้า การทำบุญ ความเคารพและการบูชา 2) พุทธจริยธรรมของปัจเจกบุคคล ได้แก่ หลักปฏิบัติของผู้ปกครอง หลักปฏิบัติของสตรีและบุรุษ หลักปฏิบัติของภรรยา รวมทั้งยังปรากฏหลักคำสอนเรื่องพุทธทำนายซึ่งเป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในสังคมในอนาคตไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ซึ่งก็มีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ วรรณกรรมคำสอนอีสานยังมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอีสาน 3 ประการด้วยกัน คือ บทบาทในการควบคุมสังคม บทบาทในการรักษาแบบแผนประเพณี และบทบาทในฐานะเป็นแบบแผนความประพฤติที่ดีงาม  

Downloads

How to Cite

ปราบนอก พ. (2015). พุทธธรรมในวรรณกรรมคำสอนอีสาน. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 31(2), 55–78. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32276

Issue

Section

บทความวิชาการ