การพัฒนาตนเองและตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • สมนึก ปัญญาสิงห์

Keywords:

การพัฒนาตนเอง, ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข, พอเพียง

Abstract

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครอบครัวเกษตรกรเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข รวมทั้งทัศนะ (คำคมพอเพียง) ของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาจากครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างที่ทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่หรือเกษตรพอเพียงจำนวน 15 ครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเอง (Self-reliance) เกี่ยวข้องกับการมีอยู่ มีกิน ไม่กู้หนิ้ยืมสิน ไม่สร้างภาระและอบายมุข จัดการตนเองและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การพึ่งพากันเอง (Mutual - help) เกี่ยวข้องกับเกื้อกูลกัน เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยเหลือกันและกัน  ใช้กระบวนการของคนในการอยู่ร่วมกันและพึ่งพากันอย่างยั่งยืน ความอยู่ดีมีสุข (Well – being) เกี่ยวข้องกับความอบอุ่นในครอบครัว มีอยู่มีกินที่สมบูรณ์ มีอาหารปลอดสารพิษ สุขภาพดีและตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ ครอบครัวอบอุ่น มีสิ่งแวดล้อมดี มีเพื่อนบ้านที่ดี  หนี้สินลดจนหมด มีเงินออม จัดทำบัญชีครัวเรือน รวมทั้งทัศนะ (คำคมพอเพียง) ของครอบครัวเกษตรกรที่มีประสบการณ์การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรพอเพียง เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตนเอง การรู้จักตนเอง การพึ่งตนเอง ความภูมิใจในตนเอง ความเป็นอิสระ มีความมั่นคงทางอาหารไว้บริโภค      

Downloads

How to Cite

ปัญญาสิงห์ ส. (2015). การพัฒนาตนเองและตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 31(3), 121–138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32292

Issue

Section

บทความวิชาการ