การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการใช้กาลในการสนทนาของนักศึกษาหลักสูตรภาษาสเปนมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Authors

  • เฟื่องเกษ ทองวันชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด, กาลในภาษาสเปน, ข้อผิดพลาดในการสนทนา, ผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทย

Abstract

การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการใช้กาลในการสนทนาของนักศึกษาหลักสูตรภาษาสเปนมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Error Analysis of Tenses in KKU Spanish Major Students’ Conversations

 

         
บทคัดย่อ

            ผู้เรียนภาษาที่สองจะได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้ การที่ผู้เรียนจะสามารถสื่อสารได้ต้องมีทั้งทักษะด้านการพูดที่ดี เช่นเดียวกับทักษะด้านการเขียน หนึ่งในปัญหาหลักของผู้เรียนชาวไทยเมื่อต้องเรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศคือการใช้กาล เนื่องจากในภาษาแม่ของผู้เรียนไม่มีการเปลี่ยนรูปกริยาตามกาลในหลักไวยากรณ์ นอกจากนั้น การใช้กาลในภาษาสเปนถือว่าเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้เรียนต่างชาติ เพราะมีการใช้กาลที่หลากหลายมากเมื่อเทียบกับภาษาต่างประเทศอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้เรียนชาวไทยต้องเรียนเป็นภาษาที่สอง ในด้านการเรียนการสอนภาษาสเปนในฐานะภาษาต่างประเทศ มีการศึกษาวิจัยมากมายที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานเขียนของผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทย แต่ยังไม่พบการศึกษาเกี่ยวกับการสนทนาภาษาสเปนของผู้เรียนชาวไทยเลย ทั้งที่การสนทนาเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากในการเรียนภาษาที่สอง

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการสนทนาของผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทย ซึ่งจะทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรภาษาสเปน มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 30 คน  โดยที่กลุ่มตัวอย่างไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า จากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน จะมีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 10 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 10 คนและนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 10 คน การบันทึกเสียงสัมภาษณ์จะถูกนำมาวิเคราะห์ข้อผิดพลาดโดยจะมุ่งเน้นไปที่ข้อผิดพลาดในการใช้กาล ผู้วิจัยจะแยกประเภทข้อผิดพลาดที่พบเพื่อค้นหาว่าข้อผิดพลาดชนิดใดที่พบมากที่สุดในการวิจัยครั้งนี้ นอกจากนั้น จำนวนของข้อผิดพลาดที่พบในการสนทนาของนักศึกษาแต่ละชั้นปีจะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาคำตอบว่าจำนวนของข้อผิดพลาดแปรผันตามระดับการศึกษาของนักศึกษาหรือไม่ ผลการวิจัยที่ได้รับจะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในด้านทักษะการพูดของนักศึกษา ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือการใช้รูปกาลปัจจุบันแทนรูปกาลอดีต ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากอิทธิพลของภาษาแม่ ซึ่งคือภาษาไทย  ที่เป็นภาษาที่ไม่กาลใช้กาลอยู่ในหลักไวยากรณ์ และยังพบอีกว่าอัตราของข้อผิดพลาดที่พบในการสนทนาของนักศึกษาแต่ละชั้นปีไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

  

คำสำคัญ: การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด, กาลในภาษาสเปน, ข้อผิดพลาดในการสนทนา, ผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทย

 

 

Abstract

            L2 learners are expected to be able to communicate with native speakers. As well as writing skills, speaking skills are required for communicative competence. One of the major difficulties that Thai students have when they learn L2 or LF (Foreign Language) is the use of tenses due to the fact that in their L1, the Thai language, this grammatical category does not exist. In addition, the use of verb tenses in Spanish is difficult for foreign students since there are various types of verb tenses, a lot more verb tenses are used compared to other languages, like English, which Thai students learn as a second language. In the field of Spanish learning as a Foreign Language (SFL), many studies have focused on error analysis in written work by Thai learners who study Spanish whereas there is no study about SFL Thai learners’ speaking skill, in spite of its significance in L2/FL learning.

            This study aims to analyze verb tense errors in conversations produced by Thai learners of Spanish. The participants consist of thirty undergraduate students from Khon Kaen University at different levels majoring in Spanish. They were interviewed in Spanish without any preparation. Of all participants, ten are second year students, ten are third year students and ten are fourth year students. Their recorded interviews were analyzed focusing on verb tenses produced in their answers. The errors were classified to find out which type of verb tense errors is the most frequently produced. Additionally, the number of errors produced by the students in the three levels was compared to discover whether the rate of verb tense errors produced by the students who study at a higher level would decrease or not. The results show the improvement of Thai students’ speaking skill. The findings of this study suggest that the most frequent error is that the participants tend to use the present tense instead of the past tense. Since in Thai language the past tense forms are not used to express actions in the past, the errors produced by Thai learners can be due to L1 transfer. Moreover, the rate of errors produced by the students in the three levels does not differ significantly.

 

Keywords: error analysis, tenses in Spanish, errors in conversations, Thai learners of Spanish

Downloads

How to Cite

ทองวันชัย เ. (2016). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการใช้กาลในการสนทนาของนักศึกษาหลักสูตรภาษาสเปนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 32(2), 113–138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/51711

Issue

Section

สารบัญ