การจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร

Authors

  • กิตติศักดิ์ ปลาทอง กลุ่มงานตรวจสอบติดตามและส่งเสริมการมีส่วนร่วม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
  • วิภาวี กฤษณะภูติ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ รองศาสตราจารย์ ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สุรศักดิ์ แหล่งหล้า พัฒนาการอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

Keywords:

การจัดการความขัดแย้ง, ชุมชนพาหุรัด, กรุงเทพมหานคร, Conflict Management, Pahurat Community, Bangkok

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพหุรัด กรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาปัญหาจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร และ 4) ถอดบทเรียนเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 16 ราย ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร ได้แก่ องค์ประกอบด้านบุคคล องค์ประกอบด้านการปฏิสัมพันธ์กัน และองค์ประกอบด้านสภาพองค์การ วิธีการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็นฝ่ายที่ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบตลาดฯ ทำหน้าที่ออกแบบอาคารเท่านั้นและฝ่ายที่ทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองกับผู้เช่าซื้อแผงตลาดฯ มีลักษณะเป็นกระบวนการและใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งหลากหลายวิธีผสมผสานกันไป เช่น การเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ปัญหาการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัญหาในการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด (ความไม่พร้อมของบุคลากรของวัดฯ การออกแบบอาคารให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย รออกแบบอาคารในครั้งแรกนั้น มีลักษณะเป็นห้างสรรพสินค้า างดังกล่าว  สำหรับึง บโครงสร้างที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่เหมาะสมและการติดตามหาผู้เช่าซื้อแผงตลาดฯ ดั้งเดิม การที่ผู้เช่าซื้อแผงตลาดฯ (บางราย) ไม่ยอมย้ายออก การขาดข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาตลาดฯ การถูกก่อกวนในระหว่างรื้อถอนอาคาร และระยะเวลาในการต่อใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร) และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด (ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านสังคมและปัญหาด้านจิตใจ) และปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานครได้แก่ การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสองทาง ความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนาและความเลื่อมใสต่อเจ้าอาวาสฯ การมีผู้นำที่มีความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจในการดำเนินการจัดการความขัดแย้ง ความตั้งใจ ความจริงใจ ความโปร่งใส และความบริสุทธิ์ใจของคณะกรรมการฯ การมีการวางแผนและการทำงานอย่างเป็นระบบของคณะกรรมการฯ รวมทั้งการใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการใช้แนวคิดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและกระบวนการยุติธรรม

คำสำคัญ : การจัดการความขัดแย้ง, ชุมชนพาหุรัด, กรุงเทพมหานคร

 

Abstract

The objectives of this research were to 1) examine causes of conflict in the Pahurat community of Bangkok, 2) study conflict management in the Pahurat community of Bangkok, 3) study problems of conflict management in the Pahurat community of Bangkok, and 4) discover factors of success in conflict management in the Pahurat community of Bangkok. This is qualitative research. There were sixteen informants.  Results were as follows:  Causes of conflict in the Pahurat community of Bangkok were personal conflict, interaction conflict and organizational conflict. Conflict management in the Pahurat community of Bangkok included the division of responsibilities into a section for dealing with market design, which was responsible only for the market design and a section for negotiating with the market booth renters.  Varieties of mixed- conflict management methods were used such as negotiation, conflict mediation and the judicial process. Problems of conflict management in the Pahurat community of Bangkok were problems during conflict management (volunteer committee members with limited free time, building designs not being up to code, complications due to subletting, refusal of some renters to leave, lack of crucial information concerning the development project, disturbances by protestors prior to and during demolition) and problems after conflict management (economic, social, and mental impacts). Factors of success in conflict management in the Pahurat community of Bangkok were the application of public relations and two-way communication, organization, having faith in Buddhism and the abbot, having leaders with sincerity in conflict management, using personal relationships, using the concept of conflict mediation and judicial process, and having committee members with strong intentions, sincerity, transparency and purity.

Keywords : Conflict Management, Pahurat Community, Bangkok

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ