การวิเคราะห์เนื้อหารายงานการประชุม คณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2559

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ทองดี

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เนื้อหา, งานประชุม, คณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาเชิงกระบวนการการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประกอบด้วยกระบวนการก่อนการประชุม (Pre Meeting) ระหว่างการประชุม (In Meeting) และหลังการประชุม (Post Meeting) 2) การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงสาระ ทั้ง 5 วาระ 3) ศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาเชิงสาระกับอำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะฯ และ 4) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเชิงสาระระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2559 จำนวน 93 ฉบับ 3,915 เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประกอบด้วยเนื้อหาต่าง ๆ 2 ตอน คือเนื้อหาเชิงกระบวนการประชุม และเนื้อหาเชิงสาระการประชุม จากเครื่องมือที่ผ่านการหาความเที่ยงตรงโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ในมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาแต่ละด้านตามอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะฯ ด้วยวิธีหาสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ค่าความชัน (Slope) โดยผลการวิจัยพบว่าเนื้อหาเชิงกระบวนการก่อนการประชุม (Pre Meeting) ส่วนใหญ่ทำหนังสือเชิญประชุม/แจ้งให้เสนอวาระ และจัดทำวาระ/เอกสารประชุมก่อนการประชุม 3 สัปดาห์ มีการเสนอวาระภายในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนที่ประชุม ขออนุญาตจัดประชุม/อนุมัติเบิกค่าใช้จ่ายในการประชุม และการส่งวาระ/เอกสารประชุมให้คณะกรรมการก่อนการประชุม 1 สัปดาห์ และมีการตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องและอุปกรณ์ในห้องประชุมก่อนการประชุม 1 ชั่วโมง กระบวนการระหว่างการประชุม (In Meeting) ส่วนใหญ่คณบดี เป็นประธาน มีวาระการประชุม 4 วาระ เริ่มประชุมเวลา 13.00 น. เลิกประชุม เวลา 15.00 น. โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้เข้าประชุม จำนวน 13 คน โดยผู้ช่วยเลขาที่ประชุมฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้จดบันทึกการประชุมทุกครั้ง โดยดำเนินการประชุมตามวาระที่กำหนด และมีการสรุปประเด็นการประชุมทุกวาระ กระบวนการหลังการประชุม (Post Meeting) ส่วนใหญ่แจ้งมติที่ประชุม (ยังไม่รับรอง) ภายใน 1 วันหลังการประชุมทำเอกสารเบิกค่าใช้จ่ายในการประชุมในวันจัดประชุม จัดทำรายงานและมติย่อการประชุมภายใน 2 วันหลังการประชุม ส่วนการแจ้งเวียนรับรองรายงานการประชุมไม่แน่นอน โดยมีการติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมหลังการประชุม 3 สัปดาห์  

เนื้อหาเชิงสาระตามวาระการประชุม พบว่า เนื้อหาเชิงสาระตามวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับภารกิจของส่วนงานวิชาการตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมายเรื่องแจ้งให้ทราบ วาระที่ 2 เรื่องพิจารณารับรองรายงานการประชุมเป็นการรับรองและแก้ไขรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่รับรองเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและเสนอข้อคิดเห็นต่อหัวหน้าส่วนงานวิชาการด้านการเรียนการสอน และมีการแก้ไขรายงานการประชุมเกี่ยวกับการพิจารณาหลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อเสนอต่อสภาวิชาการเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการพิจารณาวางระเบียบและออกประกาศเพื่อการบริหารงานภายในส่วนงานวิชาการหรือเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการวิจัย วาระที่ 4 เรื่องพิจารณา และวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการให้คำปรึกษาและเสนอข้อคิดเห็นต่อหัวหน้าส่วนงานวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ความสอดคล้องของเนื้อหาเชิงสาระกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะฯ ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกับภารกิจส่วนงานวิชาการตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเชิงสาระส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอน ในทางกลับกันเรื่องการรับรองรายงานการประชุมมีแนวโน้มลดลง

References

กิตติมา ศักดากัมปนาท. (2543). การวิเคราะห์เนื้อหาการประชุมสภามหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างปี 2539-2542 (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

เกษม วัฒนชัย. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนธัชการพิมพ์.

ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี.(2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2549). Smarter Meeting: เทคนิคการประชุมที่เหนือชั้น.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญรัศม์ ทรัพย์อินทร์.(2550). การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารภาษาไทยทางด้านกฎหมาย ปี พ.ศ. 2547-2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำ าแหง.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นโพร.

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำ แหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550.

ประภาวดี สืบสนธิ์. (2543).สารสนเทศในบริบทสังคม. กรุงเทพฯ: สมาคมห้องสมุดในประเทศไทย.

ฝ่ายวิชาการเอ็กซเปอร์เน็ท. (2548). เทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมกมลการพิมพ์.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2551. (2551, 5กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125, ตอนที่ 28ก, หน้า 47-71.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2551, 3 กรกฎาคม). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2551.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2556, 21 ธันวาคม). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยทักษิณ (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่
1) พ.ศ. 2556.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2557, 18 ตุลาคม). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วยการจัดระบบบริหารงานในมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2557.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2558, 16 มีนาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณเรื่อง แนวปฏิบัติในการเปิดหลักสูตรใหม่ การปรับปรุงหลักสูตร และ
การปิดหลักสูตร พ.ศ. 2558.

มหาวิทยาลัยทักษิณ . (2552, 20 มีนาคม). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (ม.ป.ท.). แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว พ.ศ. 2553-2567 มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2559). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำ ปีการศึกษา 2559. ฝ่ายประกันคุณภาพการ
ศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2559). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2558). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และและสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2557). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำ คณะมนุษยศาสตร์และและสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2556). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำ คณะมนุษยศาสตร์และและสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2555). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำ คณะมนุษยศาสตร์และและสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2554). รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำ คณะมนุษยศาสตร์และและสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มอร์แกน, นิกส์. (2551). ทักษะการบริหารการประชุม (แปลจาก Running Meetings โดย วิภาภรณ์ วงศ์ศรีสุชน). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ยุวดี ชุนลิ้ม. (2551). การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารทางประชากรศาสตร์ พ.ศ. 2542-2548. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ระวีวรรณ เสวตามร. (2530). การประชุมที่มีประสิทธิภาพ. (พมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์สายใจ.

ราชกิจจานุเบกษา. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาพ.ศ. 2558. (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง วันที่ 13
พฤศจิกายน 2558).

ราชกิจจานุเบกษา. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง วันที่ 13
พฤศจิกายน 2558).

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาพ.ศ. 2558. (ราชกิจจานุ
เบกษา เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558).

รัตนา เรืองศรี. (2551). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิจัยเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในระหว่างปี
พ.ศ. 2526-2550 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2539). การบริหารองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์ธรรมนิติ.

สมิต สัชฌุกร. (2547). การประชุมที่เกิดประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สิน พันธ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2550). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัฒน์ ชุมช่วย. (2537). การดำ เนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2539). การประชุม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอส ดี เพรส.

อุมาภรณ์ ปิติชาญ. (2554). การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารทางด้านสัตวแพทยศาสตร์ที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2542-2551 (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Grimm, L.G. (1993). Statistical applications for the behavioral science. New York: Wiley.

Krippendorff, Klaus. (1980). Content Analysis, An Introduction to Its Methodology. Beverly Hills: Sage Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31