การพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์ จากกะลามะพร้าว

Main Article Content

อนุสรณ์ สินสะอาด

Abstract

โครงงานการวิจัยนี้เป็นการการพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวที่มีอยู่ในชุมชน จากกระบวนการสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว ลักษณะเด่นของเตาจะเป็นแนวนอน สามารถกระจายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้กระบวนการเผาไหม้เป็นไปตามที่กำหนดส่วนประกอบของเตามีดังนี้ ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า ส่วนเทอร์โมมิเตอร์ ส่วนเทอร์โมคัปเปิล ตัวถังและฝาเปิดปิดสำหลับใส่วัสดุที่นำมาเผา ควบคุมการทำงานด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการนำกะลาที่เหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง โดยการนำมาเผา การทำงานของเตาเผาถ่านกัมมันต์นั้นในแต่ละครั้งได้คุณภาพถ่านแตกต่างกันไป การเผาถ่านกัมมันต์ที่ดีคือเผาในช่วงอุณหภูมิ 700 - 900 องศาเซลเซียส การเผาในช่วงอุณหภูมินี้ จะเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ กะลาจะกลายเป็นคาร์บอนมีรูพรุนหนาแน่นสามารถนำไฟฟ้าและฟอกอากาศได้ ช่วยลดระยะเวลาในการเผาจากเตาเผาแบบเดิมใช้เวลา 15 - 20 ชั่วโมง ลดระยะเวลาเหลือ 8 - 10 ชั่วโมง อุณหภูมิในการเผาจะขึ้นอยู่กับความชื้นของวัสดุที่นำมาเผา และยังลดต้นทุนในการเผาและได้นำตัวอย่างถ่านส่งทดสอบจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทดสอบโดยใช้สารเคมีตามกระบวนการของผู้เชี่ยวชาญได้ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ของถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว เท่ากับ 390 มิลลิกรัมต่อกรัม ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าการเผาแบบเดิมถึงร้อยละ 70 ซึ่งจากการศึกษาค่าไอโอดีนนัมเบอร์นี้ ถ่านกัมมันต์นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน ดูดกลิ่นอับชื้นในตู้เย็นหรือตู้กับข้าว พลังงานความร้อนสูงขึ้นและยาวนาน กรองน้ำในระบบเครื่องกรองน้ำต่าง ๆ เนื่องจากถ่านกะลาจะมีรูพรุนหนาแน่นอยู่เต็มพื้นที่มีรูพรุนขนาดใหญ่ประโยชน์ที่ได้จากเตาเผาถ่านกัมมันต์สามารถนำไปพัฒนาต่อในงานอุตสาหกรรมชุมชนต่าง ๆ และทำให้สามารถเกิดอาชีพ ใหม่ ๆ ได้


Development of Activated Charcoal from a Coconut Shell Kiln


This research project focuses on the development in the efficiency of producing activated charcoal from within pre-existing coconut shell kilns from within the local community. The kiln is composed of an electric motor, a thermometer, and a thermocouple within the main body as well as a lid used for feeding substances to the kiln. The operation of the kiln is controlled by an electronic circuit.The kiln is used to recycle the waste from coconut shells. Each time it is used, the kiln produces results of differing quality. The best operational temperature is between 700 – 900 degrees Celsius. At this temperature the kiln efficiently turns all the coconut shells into charcoal which is then capable of being electric conductors. The kiln period is 8 – 10hours with the kiln temperature depending on the humidity of the substances inside the kiln. The sample products are sent to be tested at the Department of Science and Technology Services at The Ministry of Science and Technology which are performed using chemical agents in accordance with specialist procedures. The iodine number value of the activated charcoal is 390 milligrams per gram. From the study results of the iodine number value, the activated charcoal can be used to absorb household odors that are found in refrigerators or in cupboards as well as to act as a water filter as the surface area of the activated charcoal is extremely porous. The kilns can be developed for the industrial purposes of the local community and to help promote new job creations.

Article Details

Section
บทความวิจัย