การศึกษาสมบัติทางกายภาพของเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์เพสต์ผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

Authors

  • สกลวรรณ ห่านจิตสุวรรณ์ สาขาเทคโนโลยีโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 52100 โทรศัพท์ 054-237399 โทรสาร 054-241079
  • ธนากร ภูเงินขำ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002
  • ปริญญา จินดาประเสริฐ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002

Keywords:

จีโอโพลิเมอร์, เถ้าลอย, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, กำลังรับแรงอัด, โครงสร้างทางจุลภาค, geopolymer, fly ash, ordinary Portland cement, compressive strength, morphology

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีต่อสมบัติของเถ้าลอย จีโอโพลิเมอร์เพสต์ ซึ่งวัสดุประสานประกอบด้วยเถ้าลอยและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยการแทนที่ เถ้าลอยด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 2.5 5.0 7.5 และ 10.0 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 10 โมลาร์ และสารละลายโซเดียมซิลิเกตทำหน้าที่เป็นตัวเร่ง การเกิดปฏิกิริยา และบ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิห้อง โดยใช้อัตราส่วนสารละลายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.4 อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 0.67 ทุกอัตราส่วนผสม ผลการทดสอบพบว่ากำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์ที่อายุ 7 วัน มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์เพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางแร่แสดงให้เห็นว่าเมื่อปริมาณการแทนที่ปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์เพิ่มขึ้นจะมีความไม่เป็นผลึกเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลของกำลังรับแรงอัดที่เพิ่มขึ้น และลักษณะโครงสร้างทางจุลภาคของวัสดุมีความความแน่นของเพสต์มากขึ้น

 

Study physical property of fly ash geopolymer paste containing Portland cement

This paper presents properties of fly ash geopolymer paste. The binder was consisted of fly ash and ordinary Portland cement. The replacements of fly ash by ordinary Portland cement were 2.5, 5.0, 7.5, and 10.0 by weight of binder. The NaOH concentration of 10 molar and sodium silicate solution were used as alkaline activator. The liquid to ash ratio of 0.4, sodium silicate to NaOH solution of 0.67 were used as for all mixes. The compressive strength results of hardened geopolymer at 7 days were increased with increase ordinary Portland cement replacement. The mineral compositions were found the increase of amorphous phase which related with compressive strength and dense matrix paste from morphology result.

Downloads