วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS <p>&nbsp;&nbsp; ตั้งแต่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) เป็นต้นไป ได้ยกเลิกการตีพิมพ์รูปเล่มวารสารโดยจะเผยแพร่บทความแบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว</p> th-TH [email protected] (ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์) [email protected] (บุญมี แก้วตา) Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พุทธบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/260994 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพุทธธรรม<span class="Apple-converted-space"> </span>ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 3) พุทธบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีระเบียบวิธีวิจัยค้นคว้าทางเอกสารร่วมกับการศึกษาภาคสนามในพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง คือชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 44 รูป/คน กำหนดและแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐด้านพัฒนาชุมชน 7 คน 2) กลุ่มผู้นำชุมชน วิสาหกิจและอาสาสมัครชุมชน 15 คน<span class="Apple-converted-space"> </span>3) กลุ่มพระสังฆาธิการ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 15 รูป/คน 4) กลุ่มภาคี เครือข่ายพัฒนาชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ 7 คน เครื่องมือใช้ศึกษาวิจัย 4 ชนิด ได้แก่<span class="Apple-converted-space"> </span>1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง 3) การสนทนากลุ่ม 4) เครื่องมือเก็บบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว</p> <p class="p1"><span class="s1"><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพุทธธรรมมีเป้าหมายสอดคล้องกัน เน้นการพึ่งพาคุณค่าทุนทางสังคม นำไปสู่มูลค่าเพิ่มโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด </span></p> <p class="p1">2) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว ใช้คุณค่าทุนทางสังคมผสานการเรียนรู้วิทยาการใหม่ พัฒนาเพิ่มมูลค่าบนพื้นฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ <span class="Apple-converted-space"> </span></p> <p class="p1"><span class="s1">3) พุทธบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว ได้เกื้อหนุนทัศนคติต่อทุนทางสังคม เป็นสิ่งมีประโยชน์ มีคุณค่าสูง การพึ่งพาใช้สอยปัจจัยการผลิตมุ่งสู่เศรษฐกิจที่ดีงาม ชะลอความสิ้นเปลืองแก่<span class="Apple-converted-space"> </span>องค์รวมธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันจึงงอกงามแห่งประโยชน์สุขนานับปการ</span></p> จันทนา จิตวิริยานันท์ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/260994 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวปฏิบัติและกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง : พื้นที่ต้นแบบ ฮอด แม่แจ่ม แม่สะเรียง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/259714 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง &nbsp;&nbsp;(2) เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนที่สูงในพื้นที่ต้นแบบอำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่สะเรียง (3) เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่าย&nbsp;&nbsp; พระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงและกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต้นแบบ อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่สะเรียง (4) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต้นแบบ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จำนวน&nbsp; 27&nbsp; รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม คือ หลักอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท กรรม และเมตตา 2) ผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การจัดการขยะ (2) บวชป่า &nbsp;(3) ทำแนวกันไฟ (4) อนุรักษ์ต้นน้ำ (5) อนุรักษ์พันธุ์ปลา (6) รณรงค์การไม่ใช้สารเคมี (7) ธนาคารข้าว (8) เครือข่ายอาสาสมัครรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) วิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนา ประกอบด้วย (1) การใช้แบบยั่งยืน (Sustainable utilization) (2) การกักเก็บรักษา (Storage) (3) การรักษาหรือซ่อมแซม (repair) &nbsp;&nbsp;(4) การฟื้นฟู (rehabilitation) (5) การพัฒนา (development) (6) การป้องกัน (protection) (7) การสงวน (preservation) &nbsp;(8) การแบ่งเขต (Zoning) และ 4) สังเคราะห์องค์ความรู้ในพื้นที่ต้นแบบ (Model) ประกอบด้วย (1) การพัฒนาศักยภาพของคน (Man) (2) งบประมาณ หรือ เงินหรือทุน หรือทรัพยากร (Money/Resource)&nbsp; (3) วัสดุ (Material)&nbsp; (4) การบริหารจัดการ (Management) (5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) (6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม (Holistic Approach)&nbsp;</p> สกุณา คงจันทร์, พระวุฒิชัย มหาสทฺโท (เสียงใหญ่), ร้อยโทเทิดศักดิ์ ดวงปันสิงห์ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/259714 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณร วัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263019 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณรในวัด 2) เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลัก<span class="s2">พุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณรในวัด</span> 3) <span class="s3">เพื่อเสนอแนวทางใน</span>การบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณรในวัดจองคำ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ <span class="s4">ภิกษุสามเณร ใน</span>วัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 27 รูป เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารจัดการปัจจัย 4 พบว่า มีการจัดถวายจีวรเครื่องนุ่งห่มปีละ 3 ครั้ง, อาหารบิณฑบาต<span class="Apple-converted-space"> </span>มีการจัดตั้งโรงครัวภายในวัด เสนาสนะมีการล้อมกำแพงทั้งบริเวณ ในแต่ละอาคารจะมีกล้องวงจรปิดทุกที่ ภิกษุสามเณรอยู่รวมกันที่อาคารเดียวกันทั้งหมด เภสัชหรือระบบสาธารณสุขนั้น หากภิกษุสามเณร ไม่<span class="s4">สบาย ทางวัดมีภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ดูแล มีรถรับส่งไปโรงพยาบาล แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสทุกครั้ง </span><span class="s5">2) ปัญหาในการบริหารจัดการปัจจัย 4 </span>พบว่า สามเณรไม่รักษาเครื่องนุ่งห่ม ยังไม่เคยมีนักวิชาการด้านโภชนาการมาให้คำแนะนำหรืออบรมแม่ครัวเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าด้านโภชนาหาร เสนาสนะ มีการปลูกต้นไม้ใกล้กุฏิจนเกินไปทำให้กิ่งไม้หักใส่หลังคา บริเวณวัดมีสุนัขมากเกินไป ในด้านเภสัชหรือระบบสาธารณสุขนั้น ภิกษุที่เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลยังไม่มีความรู้มากพอในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและในการจ่ายยาให้กับภิกษุสามเณร 3) <span class="s3">แนวทางใน</span>การบริหารจัดการปัจจัย 4 พบว่า ควรมีโครงการไปศึกษาดูงานตามวัดต่าง ๆ เพื่อหาข้อมูลเปรียบเทียบแล้วนำไปพัฒนาการบริหารจัดการปัจจัย <span class="s6">4 ภายในวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะก่อให้เกิดผล คือภิกษุสามเณรได้รับการแบ่งปัน</span> แจกจ่ายอย่างทั่วถึงเสมอภาค เป็นธรรม ภิกษุสามเณรได้อาศัยการบริหารแจกจ่าย<span class="s6">ที่เป็นธรรมทั่วถึงนี้อยู่กันอย่างผาสุก </span>คือการได้อาศัยปัจจัย 4 ที่เป็นสัปปายะ เรียนรู้พัฒนาตนเองเข้าถึงธรรมในระดับที่สูงขึ้นไป</p> พระมหาสมยศ ยสสฺสี (ดาทอง), ทรงศักดิ์ พรมดี, อุเทน ลาพิงค์ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263019 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณี วัดสันป่าแดง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263035 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์วัดสันป่าแดง ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ตามบทบาทของพระสงฆ์วัดสันป่าแดง 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ตามบทบาทของพระสงฆ์วัดสันป่าแดง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการรวบรวมข้อมูลการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการเลือกโดยเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 รูป/คน</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของพระสงฆ์ ด้านการเผยแพร่พุทธศาสนา มีการเผยแพร่ธรรมในวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางศาสนา บทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์ มีการมอบทุนการศึกษาและอุปกรณ์ทางการศึกษาบ้าง บทบาทด้านสาธารณะสงเคราะห์ มีการช่วยเหลือสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน<span class="Apple-converted-space"> </span>2) ปัญหาการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ด้านการเผยแพร่พุทธศาสนา ไม่มีชาวบ้านกลุ่มใหม่ให้ความสนใจในการเข้าวัด ด้านการศึกษาสงเคราะห์ การสนับสนุนการศึกษาของทางวัดยังไม่ครอบคลุมต่อความต้องการ ด้านสาธารณะสงเคราะห์ การบริหารจัดการไม่ให้มีผู้มาแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่มาขอใช้สถานที่ภายในวัดยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร<span class="Apple-converted-space"> </span>3. ด้านการเผยแพร่พุทธศาสนาควรบรรยายธรรมะที่เข้าใจง่ายและตัดขั้นตอนทางพิธีกรรมที่ไม่จำเป็นออก ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ควรส่งเสริมการศึกษาในทุก ๆ ด้าน ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ <br />ควรมีการบริหารจัดการในการขอใช้สถานที่ภายในวัดอย่างเป็นระบบ</p> พระพีรธรรม วีรธมฺโม (พิชยานุสรณ์), พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม, ทรงศักดิ์ พรมดี Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263035 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 การจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาชุมชนบ้านบ่อกรังหมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263743 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและการจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนบ้านบ่อกรัง หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และนักพัฒนาชุมชน และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ประชาชนในชุมชนบ้านบ่อกรัง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากนั้นวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนบ้านบ่อกรัง ถือเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และค้าขาย ซึ่งเดิมชุมชนเคยเป็นพื้นที่สีขาว ปลอดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ชุมชนมีการจัดการแบบเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงและตรงจุด ทั้งด้านกระบวนการวางแผน การกำหนดมาตรการบริหารจัดการปัญหา การมีส่วนร่วมของประชาชน การให้บริการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน</p> วีริศ ฤกษ์ดี Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263743 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาสมรรถนะของพระสังฆาธิการเพื่อการบริหารจัดการวัดและชุมชนที่ดีกรณีศึกษา พระสังฆาธิการในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263226 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการวัดและชุมชนของพระสังฆาธิการ 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะของพระในการบริหารจัดการ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยกลุ่มประชากรเป็นพระสังฆาธิการในพื้นที่อำเภอแม่ริม จำนวน 83 รูป ประชากรสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 รูป แบบวิธีสุ่มอย่างง่าย โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) พระสังฆาธิการโดยมากเรียนรู้กระบวนการดังกล่าวด้านแนวทางปฏิบัติ รูปแบบการเรียนรู้ทั้งหลักธรรมและหลักวิชาเรียนรู้ตามยุคสมัย จากอดีตเจ้าอาวาสแบบซึมซับรับใช้ ผ่านการปฏิบัติงานจริง ความมีพระวินัย และข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ต่อการบริหารวัดและชุมชน 2) สมรรถนะในการบริหารจัดการวัดและชุมชนของพระสังฆาธิการ อยู่ในระดับดีในด้านต่อไปนี้ คือ 1. ด้านปริยัติธรรมหรือการศึกษาธรรม ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ในด้านหลักธรรมที่สามารถนำมาหนุนเสริมในการบริหารจัดการวัดและชุมชน และความรู้ในด้านการบริหารจัดการวัดและชุมชน<span class="Apple-converted-space"> </span>2. ด้านปฏิบัติธรรมหรือการนำธรรมมาปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยทักษะความสามารถในการสื่อสารถ่ายทอดธรรมะสู่ประชาชน<span class="Apple-converted-space"> </span>การประสานงาน และการใช้สื่อเทคโนโลยี และ 3. ด้านปฏิเวธธรรม หรือผลของการฝึกการใช้ธรรมะ ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการการวางตนที่เหมาะสม ดังนั้น สมรรถนะที่สำคัญเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาในหมู่พระสงฆ์รุ่นใหม่ เพื่อให้พระสงฆ์มีความพร้อมที่จะเป็นพระสังฆาธิการที่สามารถบริหารจัดการวัดและชุมชนได้เป็นอย่างดีต่อไปในอนาคต</p> พระครูมนุญบุญญากร ศรีบุญเป็ง, เฉลิมชัย ปัญญาด, สมคิด แก้วทิพย์ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263226 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย : ปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263015 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาแนวคิดระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย 2) ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ 3) วิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารแล้ววิเคราะห์ประมวลผลเนื้อหาว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยเป็นปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์หรือไม่อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนา</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยมีลักษณะการกระทำในสองลักษณะคือการกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยชอบด้วยกฎหมายและการประทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2) แนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ ถือหลักการว่าการจะตัดสินการกระทำใดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีใช้การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้วัด และการกระทำที่จะถือว่าเป็นกรรมได้นั้นจักต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงสภาพของจิตใจของผู้กระทำ สำนึกมโนธรรม หลักความสันโดษ ความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ ผลของการกระทำ และหลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติศีล 3) เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทยโดยใช้หลักมูลเหตุอันเป็นการส่อถึงเจตนาที่เป็นกุศลมูลหรืออกุศลมูล หลักความสันโดษ หลักมโนธรรมสำนึก หลักการฟังความเห็นหรือพิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ และหลักพิจารณาลักษณะและผลของการกระทำหรือดูผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนา ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อพิจารณาตามสภาวะว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ การกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนการกระทำลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เมื่อใช้หลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติของศีลในระดับโลกิยะธรรมคือ ศีล 5 พบว่าไม่ล่วงละเมิดศีล<span class="Apple-converted-space"> </span>ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อาจละเมิดศีลข้อที่ 4 และไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5</p> ฉัตรชัย วงศ์ปริยากร, อุเทน ลาพิงค์, พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263015 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานอนุมัติผลการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการ และงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/261683 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการให้บริการงานอนุมัติผลการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาในการให้บริการงานอนุมัติผลการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำแนกตาม เพศ และคณะ ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 334 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ซึ่งใช้กับกลุ่มที่มีตัวแปรสองกลุ่ม และ การทดสอบแบบเอฟ ซึ่งใช้กับกลุ่มที่มีตัวแปรมากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า<span class="Apple-converted-space"> </span>1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ความพึงพอใจที่ได้รับบริการจากงานอนุมัติผลการศึกษาในทุกด้านพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด<span class="s1"> <br />(</span> <img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\inline&amp;space;\chi" />= 4.58 ; S.D. = 0.41<span class="s1">)<span class="Apple-converted-space"> </span>ด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดคือ </span>ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ<br /><span class="s1">(<img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\inline&amp;space;\chi" /></span>= 4.64 ; S.D. = 0.42<span class="s1">) </span>รองลงมาคือด้านคุณภาพการให้บริการ<span class="s1"> (<img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\inline&amp;space;\chi" /></span>= 4.59 ; S.D. = 0.41) และด้านขั้นตอนการให้บริการ<span class="s1"> (<img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\inline&amp;space;\chi" /></span>= 4.50 ; S.D. = 0.57<span class="s1">)</span><span class="Apple-converted-space"> </span>2) <span class="s1">เปรียบเทียบความ</span>พึงพอใจที่ได้รับบริการจากงานอนุมัติผลการศึกษา จำแนกตามเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เพศชายมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด <span class="Apple-converted-space"> </span>( <img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\inline&amp;space;\chi" />= 4.71<span class="Apple-converted-space"> </span>; S.D. <br />= 0.38) เพศหญิงมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\inline&amp;space;\chi" />= 4.60 ; S.D. = 0.44) และเปรียบเทียบความพึงพอใจได้รับบริการจากงานอนุมัติผลการศึกษาจำแนกตามสังกัดคณะของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ณัฐพล สันทาลุนัย Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/261683 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบาททางการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ในช่วง พ.ศ. 2531-2565 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263739 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาททางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ของนายธวัชวงศ์ <br>ณ เชียงใหม่ ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ในช่วง พ.ศ. 2531 - 2565 และ 2. สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกลไก<br>ทางการเมือง ปัจจัยแห่งความสำเร็จทางการเมือง และแนวทางการตัดสินใจทางการเมือง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ <br>กลุ่มนักการเมือง และกลุ่มที่ไม่เป็นนักการเมือง และประชากรในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า บทบาททางการเมืองนอกเหนือที่กฎหมายบัญญัติ อาทิ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน การร่วมงานสังคม และการเข้าถึงชาวบ้าน เป็นกลไกทางการเมืองที่สำคัญในการแสดงบทบาททางการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และใช้ความเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือเป็นกลไกทางการเมืองน้อยมาก <br>เพื่อลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ในส่วนของปัจจัยแห่งความสำเร็จของนายธวัชวงศ์ <br>ณ เชียงใหม่ คือ การเป็นที่รู้จักและการสร้างความเชื่อมั่นในความรักแผ่นดินเกิด ผ่านการแสดงบทบาท<br>การเป็นทายาทตระกูล ณ เชียงใหม่ แต่ในอีกทางหนึ่งความเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือไม่ได้ส่งผลต่อแนวทาง<br>การตัดสินใจทางการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาททางการเมือง<br>ที่นักการเมืองจะใช้เป็นกลไกในการทำงานการเมือง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และแนวทางการตัดสินใจทางการเมืองที่สำคัญ ดังนี้</p> <p>1) ความภักดีทางการเมือง (Political Loyalty) เป็นกลไกในการทำงานการเมืองที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ โดยการยึดมั่นร่วมงานการเมืองกับพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ภายใต้หลักคิด “การมีหัวหน้าเพียงคนเดียว” ในฐานะบุคคลสำคัญในชีวิตการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่</p> <p>2) การใช้วิธีการลงพื้นที่พบปะประชาชน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และการเข้าถึงชาวบ้านอย่างเรียบง่าย เป็นกลไกในการทำงานการเมืองจนประสบความสำเร็จของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่</p> <p>3) การเป็นชนชั้นนำ (เจ้านายฝ่ายเหนือ) เป็นปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่</p> <p>4) นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีแนวทางการตัดสินใจทางการเมืองโดยลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ไม่ใช้ความเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือหรือชนชั้นนำ เป็นกลไกในการทำงานการเมือง</p> พงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263739 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกในล้านนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/262861 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปหยกในล้านนา 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก</p> <p class="p1"><span class="s1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติและพัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปเป็นการสร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์และสิ่งสักการะบูชาในพระพุทธศาสนาหรือเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปเริ่มต้นเมื่อชนชาติกรีกเข้ามาสู่อินเดีย นิยมสร้างพระพุทธรูปหรือพระปฏิมาให้มีรูปทรงตามมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ <span class="Apple-converted-space"> </span>หลังจากนั้นได้มีการประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น<span class="Apple-converted-space"> </span>2) คติการสร้างพระพุทธรูปหยกในล้านนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนน้อมบูชาพระพุทธรูปหยกซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นที่พระพุทธรูปหยกประดิษฐาน และอีกประการหนึ่งเป็นการแสดงถึงศรัทธาตามแนวทางพระพุทธศาสนาคือ กัมมศรัทธา วิปากศรัทธา กัมมัสสกตาศรัทธา ตถาคตโพธิศรัทธา คตินี้เป็นแนวคิดและมรดกทางภูมิปัญญาของล้านนา 3) แนวทางการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกล้านนา ได้แก่ 1) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ถึงคุณค่าและอานิสงส์ของการบูชาพระพุทธรูปหยกล้านนาผ่านสื่อต่าง ๆ </span><span class="s2">2</span><span class="s1">) จัดสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกล้านนาที่เหมาะสม </span><span class="s2">3</span><span class="s1">) จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญ<span class="Apple-converted-space"> </span>รับทราบถึงคุณค่า และอานิสงส์ของการบูชาพระพุทธรูปหยกล้านนา </span><span class="s2">4</span><span class="s1">) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธรูปหยกล้านนา<span class="Apple-converted-space"> </span>คุณค่าของการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกล้านนาประกอบด้วยคุณค่าด้านศิลปะ ด้านประเพณี ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ</span></p> อรชร เรือนคำ, เทพประวิณ จันทร์แรง Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/262861 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263894 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่<span class="Apple-converted-space"> </span>2) เพื่อพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 34 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเพื่อสร้างรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด</p> <p class="p1">ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่มีการบริหารงานตามโครงสร้างของส่วนกลาง ขั้นตอนการรักษาโดยการคัดกรอง ประเมินความรุนแรง บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ประเมินผลและติดตามผล การฟื้นฟูสมรรถภาพ (1) การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (2) ครอบครัวบำบัด (3) การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอก Matrix Program และ (4) การบำบัดฟื้นฟูเข้มข้นทางสายใหม่ ไม่ได้มุ่งเน้นแก้ไขภาวะจิตใจ ครอบครัวบำบัดยังไม่ทำให้เข้าใจผู้ป่วยและไม่สามารถดูแลขณะอยู่ในสังคม เป็นสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยกลับไปเสพติดซ้ำ 2) การพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยเป็นขั้นตอนการนำรูปแบบปัจจุบันมาวิเคราะห์หาสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลับไปเสพซ้ำ พบว่าสาเหตุหลักคือ ภาวะจิตใจของผู้ป่วยและรูปแบบครอบครัวบำบัด นำข้อสรุปสู่เวทีสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่เหมาะสม 3) รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดใหม่คือธรรมบำบัดตามหลักธรรมสัมมัปปธาน 4 เพื่อฝึกจิตใจให้เพียรพยายาม มุ่งมั่นตั้งใจทำดี อดทนต่อสิ่งยั่วยุ และอบรมความรู้ครอบครัวให้สามารถดูแลผู้ป่วยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำ</p> มณทิรา เมธา , ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ, สหัทยา วิเศษ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263894 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์การนำจริต 6 เพื่อพัฒนาอุปนิสัยบุคคล ที่ปรากฏในโหราศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263653 <p class="p1"><span class="s1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักจริต 6 และการพัฒนาอุปนิสัยบุคคลในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักการพิจารณาอุปนิสัยบุคคลตามหลักโหราศาสตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักจริต 6 กับโหราศาสตร์ในการพัฒนาอุปนิสัยบุคคล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 27 ท่าน</span></p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1)<span class="Apple-converted-space"> </span>จริต คือ ความประพฤติของบุคคลที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางกาย วาจา และจิตใจ ในทางพระพุทธศาสนา จริตแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต และญาณจริต แต่ละจริตมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน การเข้าใจจริตของแต่ละบุคคลจะช่วยให้สามารถพัฒนาอุปนิสัยบุคคลได้อย่างเหมาะสม<span class="Apple-converted-space"> </span>2) หลักการพิจารณาอุปนิสัยบุคคลตามหลักโหราศาสตร์ อาศัยหลักการทำนายจักรราศี จากการคำนวณการโคจรของดวงดาวและตำแหน่งดวงดาวขณะเกิด ใช้หลักเลขศาสตร์ในการให้ความหมายของตัวเลขแทนลักษณะนิสัยของบุคคลเพื่อใช้ทำนายอุปนิสัยพื้นฐานและพฤติกรรมของบุคคล ส่งผลต่อการให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคล<span class="Apple-converted-space"> </span>3) การประยุกต์ใช้หลักจริต 6 กับโหราศาสตร์ โหราจารย์ได้ให้คำแนะนำในการฝึกฝนพัฒนาอุปนิสัยบุคคลตามจริตของตน ดังนี้<span class="Apple-converted-space"> </span>(1) ราคจริต ควรฝึกฝนการบุญสุนทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา เพื่อลดความโลภ (2) โทสจริต ควรฝึกฝนเจริญเมตตา เพื่อลดความโกรธ (3) โมหจริต<span class="Apple-converted-space"> </span>ควรฝึกฝนเจริญสติ เพื่อลดความหลง (4) วิตกจริต ควรฝึกฝนเจริญสมาธิ เพื่อลดความวิตกกังวล (5) สัทธาจริต ควรฝึกฝนเจริญปัญญา เพื่อเพิ่มความศรัทธา (6) พุทธิจริต ควรฝึกฝนการใช้หลักเหตุผล เพื่อเพิ่มความรอบคอบ และ (7) การฝึกฝนตามจริตของตนจะช่วยพัฒนาอุปนิสัยให้ดีขึ้น และนำไปสู่ความสุขความเจริญได้</p> พระครูสุภัทรวชิรานุกูล Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263653 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนัง “อัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้ม ทางธรรมเนียมประเพณีล้านนา สู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย” https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/265523 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังให้ได้องค์ความรู้ใหม่ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาอย่างแท้จริง<span class="Apple-converted-space"> </span>2) เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบร่วมสมัยที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศไทยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นการวิจัยเชิงพัฒนางานสร้างสรรค์ทางศิลปะ</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังและองค์ความรู้การรักษาจิตรกรรมฝาฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนา คือ (1) การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยในศาสนสถานสำคัญของชุมชน 2 ด้าน คือ ผนังด้านข้างทิศเหนือ และผนังด้านข้างทิศใต้ ใช้รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการรวบรวมร้อยเรียงเรื่องราวให้ต่อเนื่องเป็น 1 เดียว ในเรื่องธรรมเนียมประเพณีไทยล้านนา คัมภีร์พระเจ้าเลียบโลก และประเพณี 12 เดือน<span class="Apple-converted-space"> </span>(2)<span class="Apple-converted-space"> </span>องค์ความรู้ใหม่ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาอย่างแท้จริง โดยการนำเสนอลักษณะรูปแบบลายคำร่วมสมัย โดยใช้เทคนิคจิตรกรรมแบบสากลมาผสมผสานกับเทคนิคลายคำโบราณ มีการจัดวางน้ำหนักของสีพื้น การใช้เฉดสีอื่นและน้ำหนักของสีทองที่มีความหลากหลาย พัฒนาจากของโบราณที่มี 2 สี เกิดเป็นงานลายคำที่มีมิติและบรรยากาศที่น่าสนใจ</p> ธีระพงษ์ จาตุมา, อำนาจ ขัดวิชัย, ปฏิเวธ เสาว์คง, สุวิน มักได้ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/265523 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267241 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา โครงสร้าง สาระสำคัญ และคุณค่า ของคัมภีร์สมันตปาสาทิกา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าของพุทธจริยศาสตร์<span class="Apple-converted-space"> </span>และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ<span class="Apple-converted-space"> </span>ประกอบการศึกษาวิจัยเอกสาร<span class="Apple-converted-space"> </span>และการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) คัมภีร์สมันตปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถาพระวินัยภาษาบาลี ที่อธิบายหลักการและข้อที่พึงปฏิบัติในพระวินัย มีโครงสร้างและสาระสำคัญ ดังนี้ มหาวิภังควรรณนา ภิกขุนีวิภังควรรณนา มหาวรรควรรณนา จุลวรรควรรณนา ปริวารวรรณนา<span class="Apple-converted-space"> </span>คัมภีร์สมันตปาสาทิกา มีคุณค่าในด้านต่างๆ เช่น ด้านประวัติศาสตร์ ด้านจารีตประเพณี ด้านพุทธวิธีการสอน ด้านการศึกษาพระวินัยปิฎก ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยด้านการตีความหลักคำสอน โดยที่คัมภีร์สมันตปาสาทิกาได้อธิบายหลัการพร้อมทั้งเชื่อมโยงและประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจพุทธบัญญัติในพระวินัยปิฎกชัดเจนยิ่งขึ้น 2) หลักพุทธปรัชญาด้านจริยศาสตร์ ให้มุมมองด้านคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ทั้งในเชิงจิตวิสัย และเชิงวัตถุวิสัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของบุคคล ซึ่งอาศัยหลักคำสอนทางศีลธรรมในพุทธศาสนามาเป็นฐานตัดสินคุณค่าว่า ถูกต้อง ดีงาม เพื่อยกระดับของคุณค่าทางความประพฤติให้สูงขึ้น เกณฑ์ในการพิจารณาคุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักทางพุทธจริยศาสตร์นั้น เป็น กฎเกณฑ์ข้อห้าม คำแนะนำเชิงปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะของตน ในการตัดสินคุณค่าทางพุทธจริยศาสตร์ ใช้เกณฑ์แบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งตั้งอยู่บนเงื่อนไข เช่น เจตนา ผลที่เกิด และผลกระทบเป็นหลัก<span class="Apple-converted-space"> </span>3) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ได้พบเกณฑ์การตัดสินข้อวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานที่ถูกต้องที่สุด ให้เกิดคุณค่าด้านสร้างความยุติธรรมในสังคมสงฆ์ เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดพระบัญญัติ จะได้รับการพิจารณาตัดสินโทษโดยปราศจากอคติ<span class="Apple-converted-space"> </span>นอกจากนี้ ได้พบคุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อสังคม ตามหลักวัตรต่างๆ มีอุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร เป็นต้น ที่ปรากฏในสมันตปาสาทิกา<span class="Apple-converted-space"> </span></p> พระมหานาถ โพธญาโณ (โปทาสาย) Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267241 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์แนวคิดเรื่องธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน ผ่านมุมมองทางพระพุทธศาสนาเถรวาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267239 <p class="p1">บทความวิจัย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและพัฒนาการของธรรมชาติในทางปรัชญาและศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องธรรมชาติของของชาร์ลส์ ดาร์วิน ในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาผลงานทางวิชาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และ ผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการทางความคิดในเรื่องธรรมชาติในทางปรัชญาและศาสนาเต็มไปด้วยข้อถกเถียงเรื่องความมีอยู่และความจริงแท้ในธรรมชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐาน 3 คือ สสารนิยม เชื่อว่าสิ่งที่เป็นจริง คือ โลกทางวัตถุ ได้แก่สสารและพลังงาน ซึ่งอยู่ในขอบเขตของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น จิตนิยม เชื่อว่า นอกจากโลกทางวัตถุแล้วยังมีความจริงอื่น คือ นามธรรม แม้จะยอมรับความจริงทางประสาทสัมผัส แต่ก็รับความจริงนามธรรมเป็นความจริงสูงสุด เนื่องจากใช้ประเมินค่าความจริงทางวัตถุ ในขณะที่ ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า ทุกสิ่งประกอบขึ้นด้วยสิ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของสิ่งทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ และสิ่งนามธรรม อย่างที่ศึกษากันในวิชาวิทยาศาสตร์<span class="Apple-converted-space"> </span>2) ด้านแนวคิดเรื่องธรรมชาติ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ค้นพบทฤษฏีวิวัฒนาการ<span class="Apple-converted-space"> </span>ทำให้สามารถอธิบายการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในธรรมชาติว่า ดำรงอยู่โดยอาศัยการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตที่สามารถอยู่รอดได้ก็ด้วยการปรับเปลี่ยนทางกายภาพ ดาร์วิน เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า การคัดสรรโดยธรรมชาติ คำอธิบายเช่นนี้ นับว่าท้าทายความเชื่อทางศาสนจักรที่ส่งอิทธิพลอย่างแพร่หลายต่อความคิดความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น แนวคิดดังกล่าวของดาร์วินจึงเป็นไปในแบบมนุษยนิยมและอเทวนิยม 3) การค้นพบของดาร์วินเรื่องธรรมชาติดังกล่าว สอดคล้องกับโลกทัศน์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ว่า สิ่งทั้งหลายในธรรมชาติประกอบจากส่วนต่าง ๆ ที่อิงอาศัยเหตุปัจจัยกันเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติยังต้องดำรงอยู่ภายใต้ภาวะความเปลี่ยนแปลง ความบีบคั้น และการที่บังคับบัญชาไม่ได้ หากแต่พระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และเน้นย้ำให้เห็นถึงการพัฒนาภาวะด้านในและการเจริญวิปัสสนาเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์</p> นิรันดร์ แสงพลสิทธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267239 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต ของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263017 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาปัญหาการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการนำหลักอธิษฐานธรรมสู่การดำเนินชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการเขียนเชิงพรรณนา</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า: 1) การนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตพบว่า เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบด้วยปัญญาของปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างองค์ความรู้ สร้างอาชีพ ผู้สูงอายุทำตนเป็นที่น่าเคารพนับถือมีความจริงใจไม่ยึดมั่นถือมั่นในวัยของตนพร้อมรู้จักปล่อยวาง รู้จักใช้วัตถุอามิสและบุญทานอย่างมีระบบด้วยการยินดีเข้าวัดสู่การปฏิบัติธรรม <span class="s2">2) </span><span class="s3">ปัญหาการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต</span><span class="s2">พบว่ามีปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ วัยวุฒิ คุณวุฒิ สถานภาพความเป็นอยู่และสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุก่อเกิดความยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมรับความจริงของกาลเวลา สังขารและความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ค่อยจะปล่อยวางกับชีวิตเกิดความกังวล</span> 3) แนวทางการนำหลักอธิษฐานธรรมสู่การดำเนินชีวิตพบว่าการนำหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่องค์ความรู้เพิ่มปัญญา ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุลดความยึดมั่นถือมั่นเข้าใจหลักความเป็นจริงของสัจจะธรรมทำตนให้เป็นที่น่านับถือ รู้จักปล่อยวางสร้างหลักประกันของตนให้มากที่สุดด้วยการเข้าวัดปฏิบัติธรรมมุ่งสู่วัยข่มใจ วัยวิเวก วัยเหงาตลอดถึงเข้าสู่วัยที่ห่างโรคซึมเศร้า</p> พระครูเกษมสีลสัมบัน, ทรงศักดิ์ พรมดี, พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263017 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263022 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p class="p1"><span class="s1">ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่</span> เป็นพิธีกรรมที่ว่าด้วยการสร้างและอบรมสมโภชพระพุทธรูปและเจดีย์ใหม่ มีการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในพิธีกรรม แสดงหลักธรรม เรื่องราวของพระพุทธเจ้า และใช้บทโวหาร กล่าวถึงจุดประสงค์ของพิธีกรรมเพื่ออัญเชิญความศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่องค์พระพุทธรูป 2) พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับนี้ มีลักษณะการใช้รูปแบบเชิงสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายของหลักธรรมผ่านพิธีกรรม เครื่องประกอบพิธี เทียนอบรมสมโภชพระพุทธรูป และบทสังวัธยาย เพื่อแสดงถึงพุทธภาวะ เป็นการสถาปนาสู่พระพุทธรูป 3) คุณค่าของพิธีกรรมที่ปรากฎ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าเชิงพุทธศิลป์ เป็นการถ่ายทอดความคิดและสภาวะสังคมท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาผ่านศิลปวัตถุ เพื่อเป็นนัยเชื่อมโยงถึงองค์พระพุทธเจ้า ด้านคุณค่าเชิงพิธีกรรม ทำให้บุคคลเกิดความปีติ ยังจิตให้ผ่องใส มีความศรัทธาตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา ด้านคุณค่าเชิงการสืบทอดพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมเข้าถึงหลักธรรมสามารถนำมาปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างคุณงามความดี และบรรลุสู่ความสงบสุข ตามหลักทางพระพุทธศาสนา</p> พระสิฏฐวัชญ์ ปญฺญาวฑฺฒโก (พวงเรือนแก้ว), โผน นามณี, พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263022 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและวิกฤตหมอกควัน บนฐานหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนาแบบพหุภาคี จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267302 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและวิกฤตหมอกควันบนฐานหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนาแบบพหุภาคี จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน ประธาน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำกลุ่มเกษตรชุมชน ปราชญ์ชุมชน จำนวน 17 รูป/คน ใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบกับการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความร่วมมือในการดำเนินการแก้ปัญหาจากความร่วมมือของชุมชนโดยมีแกนนำหลักคือ เจ้าอาวาสวัดบ้านแม่กลางหลวง พ่อหลวง คณะกรรมการ หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่กรมอุทยาน และภาคีเครือข่ายจากองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ และวัดสนับสนุนทำกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรม “อินทนนท์ร่วมกันเชื่อมสัมพันธ์ 4 อำเภอ ” โดยผสานความร่วมมือจากพหุภาคี พหุวัฒนธรรม พหุประเพณี 2) มีการพัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือโดย 1. ความร่วมมือผ่านกิจกรรมนำโดยเจ้าอาวาสวัดแม่กลางหลวง การจัดกิจกรรม “อินทนนท์ร่วมกันเชื่อมสัมพันธ์ 4 อำเภอ” สร้างการมีส่วนร่วมกันทุกช่วงวัย 2. ความร่วมมือผ่านการผสมผสานความพหุวัฒนธรรม พหุประเพณี เคารพในความแตกต่างเรียนรู้พหุวิถี 3. การผสานเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ NGO 4. การสร้างการมีส่วนร่วม และ 5. การสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม 3) ได้นำเสนอกิจกรรมความร่วมมือ “อินทนนท์ร่วมกันเชื่อมสัมพันธ์ 4 อำเภอ” และรูปแบบความร่วมมือผ่านการผสมผสานความพหุวัฒนธรรม พหุประเพณี เคารพในความแตกต่างเรียนรู้พหุวิถี ด้วย “เวที พิธี สาปแช่ง คนเผ่าป่า” โดยสร้างการมีส่วนร่วม และเน้นรูปแบบการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมร่วมกัน </p> อุเทน ลาพิงค์, พระมหาปุณณ์สมบัติ ปภากโร, พระวีระชาติ วีรชาโต, เชน เพชรรัตน์, พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267302 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700