การศึกษาชั้นเรียนในฐานะระบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์

Main Article Content

เจนสมุทร แสงพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของการศึกษาชั้นเรียนในฐานะที่เป็นระบบกิจกรรมในการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ของโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนชั้นประถมศึกษา ของโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดในจังหวัดเชียงใหม่  ผู้วิจัยเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมตามวงจรของการศึกษาชั้นเรียนของแต่ละโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาชั้นเรียนในโรงเรียนเป็นระบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์มีองค์ประกอบดังนี้คือ บุคคล (ครู ผู้บริหาร) เป้าหมาย (การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงการสอนของครู) เครื่องมือ (แนวทางการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา) กฎกติกา (เวลา ข้อปฏิบัติสำหรับการมีส่วนร่วมในการศึกษาชั้นเรียน และกิจกรรมเปิดชั้นเรียน) ชุมชน (ครู เครือข่ายครู ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย และผู้ปกครอง) และภาคส่วนแรงงาน (ภาระงานรับผิดชอบในแต่ละกระบวนการศึกษาชั้นเรียน กรรมการสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) นอกจากนี้การศึกษาชั้นเรียนทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครูที่ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
แสงพันธ์ เ. 2018. การศึกษาชั้นเรียนในฐานะระบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 665–687.
บท
บทความวิจัย

References

สามารถ ใจเตีย สิวลี รัตนปัญญา รพีพร เทียมจันทร์ สมชาย แสนวงศ์ และ พันนภา อุสาห์ใจ. 2559. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพ กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2) : 284-296.

Clarke, D. C., Mesiti, C. O’Keefe, L.H. Xi., Jablonka, I. A. C. Mok, and Y. Shimizu, 2007. Addressing the challenge of legitimate international comparisons of classroom practice. International Journal of Educational Research 46(5): 280–293.

Engeström, Y. 1999. Expansive visiblization of work: an activity - theoretical perspective. Computer Supported Cooperative Work 8(1-2). 63–93.

Engeström, Y. 2001. Expansive learning at work: Toward an activity theoretical reconceptualization. Journal of Education and Work 14(1): 133–156.

Inoue, N. 2011. Zen and the art of neriage: Facilitating consensus building in mathematics inquiry lessons through lesson study. Journal of Mathematics Teacher Education 14(1): 5-23.

Inprasitha, M. 2006. Open-ended approach and teacher education. Tsukuba Journal of Educational Study in Mathematics 25: 169-177.

Inprasitha, M. 2011. One feature of adaptive lesson study in Thailand: Learning unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia 34(1): 47-66.

Isoda, M. 2010. Lesson study: Problem solving approaches in mathematics education as a Japanese experience. Procedia - Social and Behavioral Sciences 8:17-27.

Lewis, C.C., R.R. Perry and J. Hurd. 2009. Improving mathematics instruction through lesson study: a theoretical model and North American case. Journal of Mathematics Teacher Education 12(4): 285-304.

Lim, C.S., L.K. Kor. and H.M. Chia. 2016. Revitalising mathematics classroom teaching through Lesson Study (LS): a Malaysian case study. ZDM: The International Journal Mathematics Education 48(4): 485–499.

Potari, D. 2013. The relationship of theory and practice in mathematics teacher professional development: an activity theory perspective. ZDM: The International Journal Mathematics Education 45(4): 507–519.