การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมและยั่งยืนในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้วิธีการ “จัดกระบวนการเรียนรู้” อย่างมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นที่ทั้งเป้าหมายและเครื่องมือในการเสริมพลังและสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกัน ด้วยการร่วมกันศึกษา “ทุน” (ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม) ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อใช้ในการ 1) วิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของศักยภาพและปัญหาของชุมชนผ่านการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อ 2) ศึกษาแนวทางแก้ไขและเสริมศักยภาพชุมชนบ้านท่าขอนยาง ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก 1) และ 2) นี้ได้นำมาใช้ประกอบการพัฒนา 3) แนวทางและแผนยุทธศาสตร์การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านท่าขอนยางที่สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการที่เป็นจริงของชุมชน ซึ่งผลของการศึกษานี้นอกจากแผนยุทธศาสตร์ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านท่าขอนยางที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นแล้ว ยังได้เป็น “พันธสัญญา” ที่คนในชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมกันขับเคลื่อนให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านท่าขอนยางสามารถก่อตั้งได้ให้เป็นผลสำเร็จ เพื่อหวังให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบและตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริงในฐานะเครื่องมือของการพัฒนาในมิติวัฒนธรรมต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
สุมาลี ณ. 2018. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 3 (ก.ค. 2018), 205–216.
บท
บทความวิจัย

References

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์. 2550. โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 134 หน้า.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. 2554. การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 216 หน้า.

บัญญัติ สาลี. 2550. การวิจัยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ภาษา ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้านญ้อ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอเมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามอย่างมีส่วนร่วม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 159 หน้า.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. 2547. การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการและประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข, กรุงเทพฯ. 192 หน้า.

Agbe-Davies, A. S. 2010. Concepts of community in the Pursuit of an Inclusive archaeology. International Journal of Heritage Studies 16(6): 373-389.

Davis, P. 1999. Ecomuseums: a sense of place. Leicester University Press, New York. 235 p.

Marstine, J. 2006. New Museum Theory and Practice: An Introduction. Blackwell, Malden. 332 p.

McManamon, F. P. and A. Hatton.1999. Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past. Routledge, London. 321 p.

Sandell, R. 2002. Museums, Society, Inequality. Routledge, Florence. 268 p.