การบริหารจัดการขยะชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ฆริกา คันธา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะของชุมชนในกรุงเทพมหานครและปริมฑล 4 ชุมชน ได้แก่ เคหะสถานเจริญชัย สงวนคำ การค้าหนองแขม หมู่ที่ 2 และหมู่บ้านพบสุขในการจัดการขยะ ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเสนอแนวทางเหมาะสมในการจัดการขยะของ อบต. ในคลองบางปลากด จ.สมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายและปฏิบัติการ และวิเคราะห์ความสำเร็จ/ความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ การศึกษาพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในระยะแรกนั้นคือ ความเข้มแข็งของผู้นำชุมขน การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การมีส่วนร่วมของชุมชน และการประชาสัมพันธ์/สื่อสารกับชุมชน ต่อมาปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการจัดการขยะให้ยั่งยืน ได้แก่ ความต่อเนื่องในการดำเนินการของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ แหล่งความรู้และเทคโนโลยีตามความต้องการเฉพาะของชุมชน และการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย โดยการจัดการขยะดังกล่าวสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ครัวเรือนเป็นศูนย์กลาง ชุมชนมีความยืดหยุ่น และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในการจัดการขยะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญให้การจัดการขยะในพื้นที่ อบต. ในคลองบางปลากด เกิดความยั่งยืนได้ โดยเริ่มที่ชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่ อบต. ที่มีความพร้อมเป็นลำดับแรก

Article Details

How to Cite
[1]
คันธา ฆ. 2018. การบริหารจัดการขยะชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 497–524.
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2551. คู่มือแนวทางการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย สำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน. รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977), กรุงเทพฯ. 104 หน้า.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. 2551. คลังหลวงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. เพชรรุ่ง การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 103 หน้า.

ปัณณพัฒน์ ฤทธิ์เรืองเดช จำลอง โพธิ์บุญ และ จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. 2560. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 7(1): 85-101.

ฝ่ายทะเบียนราษฎร. 2558. ข้อมูลประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด, สมุทรปราการ.

มณี อาภานันทิกุล รุจา ภู่ไพบูลย์ และ กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์. 2558. การวิเคราะห์และบูรณาการดัชนีชี้วัดสุขภาพพอเพียงกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสภาการพยาบาล 30(1): 41 - 57.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. 2558. มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 11(2): 76–89.

ศุภษร วิเศษชาติ สมบัติ ศิลา และ สุนิศา แสงจันทร์. 2560. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(2): 422 – 445.

สมชาย มุ้ยจีน. 2559. แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 12(2): 24–41.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. 2560. รายงานผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำเดือนกรกฎาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2560. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, กรุงเทพฯ. 1 หน้า.