กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลเขตสุขภาพที่ 3; Strategy for Leadership Development of Head Nurses, Hospital Health District 3

Main Article Content

อรอนงค์ กลางนภา และคณะ Ornanong Klangnapa and Others

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา  1)  ภาวะผู้นำทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย    2) สภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาวะผู้นำ  3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำ และ 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย  โรงพยาบาลเขตสุขภาพที่ 3  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา  ประกอบด้วย  หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลปฏิบัติการโรงพยาบาลเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 418 คน ผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนาและประเมินกลยุทธ์ จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ  2  ครั้ง  การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการศึกษาพบว่า  1. ภาวะผู้นำทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย    พบว่าอยู่ในระดับมาก  2. สภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  พบว่า มีการดำเนินการทุกรายการ  ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในภาพรวม   พบว่า   ขาดการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อย  งบประมาณไม่เพียงพอ  และขาดการประเมิน  3. การพัฒนากลยุทธ์ภาวะผู้นำ   มี  7  กลยุทธ์ ได้แก่ 1)  พัฒนาแผนการเสริมสร้างภาวะผู้นำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  2)  ยกระดับการวางแผนพัฒนาภาวะผู้นำ   โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  3)  พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาภาวะผู้นำ  4)  ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม  และเทคโนโลยีในการพัฒนาภาวะผู้นำ  5) พัฒนาระบบและกลไกการติดตามและประเมินผลการพัฒนาภาวะผู้นำให้มีประสิทธิภาพ  6) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ในการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยการพัฒนาตนเองของของหัวหน้าหอผู้ป่วย  7)  เสริมสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยการพัฒนาตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วย  4.  ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเขตสุขภาพที่  3  พบว่า  วิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าประสงค์  ประเด็นกลยุทธ์  กลยุทธ์ ตัวชี้วัด  และมาตรการ  มีความสอดคล้อง  ความเหมาะสม  ความเป็นไปได้  และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


          The objectives of this research were 1) to study for leadership development of head nurses, 2) to study states, problems, and factors related to leadership development, 3) to develop strategies for leadership development of head nurses, and 4) to evaluate the strategies for leadership development of head nurses, hospital health district 3. The sample consists of head nurses and nurses hospital health district 3 had used questionnaires, focus group, interview as a tool to collect data from 418 samples, for development and evaluation the strategies by 18 experts. The data were analyzed using mean standard deviation and content analysis. The research revealed that: 


  1. The leadership of head nurses were at the high level.

  2. The states were found in every process problems, and factors related as a whole found that; lack of analysis of strengths and weaknesses, budget, and assessment.

        3.The development of nursing leadership development strategies has seven strategies; 1) to develop leadership plan for effectiveness and effectiveness, 2) to improve leadership development planning by involvement of relevant personnel, 3) to develop of a collaborative network for leadership development, 4) to promote use of innovation and technology for leadership development, 5) to develop systems and mechanisms for monitoring and evaluation for leadership development, 6) to develop of knowledge management system for leadership through self development of head  nurses, 7) to strengthen the factors that contribute for leadership through self development of head nurses.


  1. The result of the assessment of the strategies revealed that a vision, missions, goals, strategic issues,
    strategies, indicators, and measures were consistent, suitable, and acceptable were at the highest level.

Article Details

Section
Dissertations

References

ทัศนีย์ คำรณฤทธิศร. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ภาวะผู้นำความพึงพอใจในงานกับการปฏิบัติงานของหัวหน้างานโรงพยาบาลชุมชน เขต 11. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์สาธารณสุขมหาบัณฑิต, นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทัศนีย์ จุลอดุง, และร.ต.อ.หญิง ยุพินอังสุโรจน์. (2552). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยวัฒน์ แก้วกัณฑรัตน์. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกรณีศึกษาจุฬาลงมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ–Leader. กรุงเทพฯ: ไดมอนอินบิสสิเนสเวิลด์.

ลดาวัลย์ รวมเมฆ. (2557). การพัฒนาผู้นิเทศการพยาบาล ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2558, จาก https://ww.teacher.ssru.ac.th/thitavan_ho/.../11/... /nursing%20supervision.

วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2539). ตัวประกอบภาวะผู้นำของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยตามความต้องการของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกลาโหม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุณา อินอยู่. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 เขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2552). รายงานการวิจัย การวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการศึกษา ของ โรงเรียนภายหลังการประเมินภายนอกรอบแรก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย. (2560). ปฏิทินสาธารณสุข พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ:สหประชาพาณิชย์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2556). ข้อมูลการร้องทุกข์ ร้องเรียนงานประกันคุณภาพ. กำแพงเพชร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร.

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์ และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การรับรู้สภาพแวดล้อมภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการมุ่งเน้นทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7(12), 29-46.

อรพิม พุทธวงษ์, และมาริสา ไกรฤกษ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลศูนย์กลางนครหลวงเวียงจันทน์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปลาว).วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bass, B.M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York: The Free Press.

Mitchell, T.R. & Larson, J.R. (1987). People in organization: An introduction to Organizational behavior. (3rd,ed.) New York: McGraw – Hill.

Tichy Noel M., and Mary Anne Devanna. (1986). The Transformational Leader.Training and Development Journal. 40(7), 17-32.

Yulk, G.A. (1998). Leadership in Organizations. (4thed.).Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.