การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างหลักสูตรท้องถิ่น และพัฒนาฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี; The participation of local communities in the curriculum and development of knowledge Sakae Krang River Uthaithani Province

Main Article Content

เยาวเรศ ภักดีจิตร และคณะ Yaowares Pakdeejit and Other

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาบริบทชุมชน วิถีชีวิตของคนในลุ่มแม่น้ำสะแกกรังและสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2.เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบทริบทชุมชม  วิถีชีวิตของคนในลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน  3.เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงพัฒนา และเทคนิคการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคล องค์กรชุมชน  ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนในชุมชน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)แบบบันทึกการสำรวจบริบทชุมชน   2.แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่น“ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง”      3.แบบสอบถามเกี่ยวกับหัวข้อ เนื้อหาและสิ่งที่ควรบรรจุไว้ ในฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง  4.แบบประเมินคุณภาพฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง  5.แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการการใช้ฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงเขียนเป็นความเรียง


                ผลการวิจัย


                1.บริบทของชุมชนลุ่มแม่น้ำสะแกกรังโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย วิถีชีวิตของชุมชน การสร้างเรือนแพ วัฒนธรรมและประเพณี การประกอบอาชีพ และสถานที่สำคัญในชุมชน


                2.หลักสูตรท้องถิ่นวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง มีผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่นในระดับความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก


                3.การพัฒนาฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี ได้เว็บไซต์ที่ส่งข้อมูลไปไว้ที่ http://www.nsru.ac.th/ksru/  คุณภาพและผลการใช้ฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี อยู่ในระดับมาก    


Abstract


                This research object to 1)study community context the livelihood of people of Sakae Krang River and creating new knowledge gaining from local participation process,2)formulate local curriculum from local participatory approach which is suitable for the livelihood of Sakae Krang people, and 3)develop and study the use of knowledge base on Sakae Krang River,Uthai Thani. This research is a qualitative study using research and development method technique and participatory rural appraisal(PRA).The population is local people, local organizations, administrative staff, teachers and students. The research process contains 3 steps. The research tools are 1) the social context survey form ;2)local curriculum suitability assessment 3)the survey form on which topics/contents should be input into knowledge base on Sakae Krang River;4) the evaluation form of knowledge base on Sakae Krang River ;5) the questionnaire form on knowledge base on Sakae Krang River. The data is analyzed by frequency distribution, percentage, average and standard deviation, and then is synthesized in essay writing fashion. 


                Finding Results:


                1.The community context context of the Sakae Krang River from local participation process, consists of community livelihoods ,building a houseboat culture and tradition occupation and important places in the community.


                2.Local curriculum Sakae Krang River lifestyle,the results of the evaluation of local curriculum quality at the appropriate level were at a high level.


                3.The evaluation form of the knowledge base of Sakae Krang River, Uthai Thani, provided on http://www.nsru.ac.th/ksru/ , the quality and results of knowledge base of Sakae Krang River, Uthai Thani were satisfied at a high level.

Article Details

Section
Research Articles