การวิเคราะห์พัฒนาการคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร TQF ระดับปริญญาตรีเพื่อการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: การศึกษาภาคตัดขวางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; An Analysis of Students Quality Development according to TQF Curriculum in Bachelor Degree for Improving to ASEAN

Main Article Content

ธิดากุล บุญรักษา Thidakul Boonraksa
บัณฑิตา อินสมบัติ Bantita Insombat

Abstract

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตาม
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในด้านความรู้ (Knowledge) การสื่อสาร (Communication Skills) และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skills)  2) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  และ 3) เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของผู้เรียนตามหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพื่อการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 จำนวน 10 สาขา รวม 1,134 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยการศึกษาภาคตัดขวางใช้ข้อมูลนักศึกษาปีที่ 1, 2, 3 และ 4  และใช้การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า

                1. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ในด้านความรู้ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 61.30
ทักษะการสื่อสารส่วนใหญ่อยู่ในระดับต้น คิดเป็นร้อยละ 68.20 และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้คิดเป็นร้อยละ 56.40

                2. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐาน
ผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ด้านความรู้ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปความสัมพันธ์เชิงเส้น (Linear)

                3. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีจุดเด่นด้านความรู้ โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ในระดับดี ร้อยละ 61.30 และนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 มีจุดเด่นด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร สำหรับจุดที่ควรพัฒนาเร่งด่วนคือด้านทักษะการสื่อสาร ซึ่งพบว่านักศึกษา ร้อยละ 99.40 มีคะแนนในระดับต้นและระดับพื้นฐานและมีนักศึกษาเพียงร้อยละ 0.60 มีทักษะในระดับกลาง โดยไม่มีนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีทักษะการสื่อสารในระดับสูง

Abstract

                The purposes of this research were to 1) study Nakhon Sawan Rajabhat University students ‘qualities according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) on knowledge, communication skills and information technology skills  2) analyze development and long term changing trends of students’ qualities according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) and 3) analyze the strength points and the weak points of students according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) for developing into ASEAN community. The sample consisted of 1,134 undergraduate students who are studying in the first year (freshman), the second year (sophomore), the third year (junior) and the fourth year (senior) in 2015 academic year from 10 majors by using Multi Stage Random Sampling. Development and long term changing trends of students’ qualities according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) was analyzed by cross sectional study. The data used in the study were academic information of the first year students to the fourth year students. The statistic used in the study was One-way ANOVA. The results of the study were as follows:

                1.The majority of Nakhon Sawan Rajabhat University students ‘qualities according to  Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) on knowledge were in good level (61.30), while the major of students ‘qualities on communication skills were in fair level (68.20). For another aspect, the majority of students ‘qualities on information technology skills (56.40) were in fair level.

                2. Changing trends of Nakhon Sawan Rajabhat University students’ qualities according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) on knowledge, communication skills and information technology skills were in a linear relation.

                3. In term of the strength point on knowledge, the majority of students’ GPA was in good level (61.30). Moreover, the fourth year students and the third year students have strength point on information technology. The students’ weak point was communication skills. It was found that 99.40 % of all students were in fair level and fundamental level. Only 0.60 % of all students were in good level and none of all students were in excellent level.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

บัณฑิตา อินสมบัติ Bantita Insombat, Graduate School Nakhon Sawan Rajabhat University

Department of Educational Research and Evaluation, Facuty of Education Nakhon Sawan Rajabhat University