ความพึงพอใจของผู้รับบริการ กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เขมภัค เจริญสุขศิริ
สิริพิชญ์ เจริญสุขศิริ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                  เมื่ออายุมากขึ้นทำให้อวัยวะต่างๆ มีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ประเทศไทยจึงมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อเป็นที่พักแก่ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ขาดที่อยู่อาศัยหรือ ผู้อุปการะ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการบริการของศูนย์ฯ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ ด้านคุณภาพของที่พัก และด้านความปลอดภัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 56 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความพึงพอใจ เก็บรวมรวบข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560


                  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อย 71.43) เป็นผู้สูงอายุตอนกลาง (ร้อยละ 50.00) และมีภูมิลำเนาในจังหวัดปทุมธานี (ร้อยละ 26.79) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการพักอาศัย (ร้อยละ 94.64) โดยพบว่าด้านสถานที่ ด้านคุณภาพของที่พัก และด้านความปลอดภัยมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดในทุกหัวข้อ (≥ 4.21 คะแนน) ในขณะที่ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ยกเว้นหัวข้อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ การให้ความช่วยเหลือและความรู้ความเข้าใจในบริการมีระดับความพึงพอใจมาก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ที่ให้การดูแลประจำตึก ปรับปรุงการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ให้มีความไพเราะยิ่งขึ้น เพิ่มจำนวนถังขยะในแต่ละอาคารและปรับปรุงตำแหน่งการวางถังขยะเพิ่มจำนวนห้องน้ำภายในอาคาร และมีบุคลากรทางการแพทย์ เช่น พยาบาลวิชาชีพและนักกายภาพบำบัด เป็นต้น


Abstract


                 Organs’ function decreases physiologically with increasing age. As a consequence, older people need more care. Social Welfare Development Center for Older Persons was built for poor people. Objective of this research was to study the clients’ satisfaction towards services of Pathumthani Social Welfare Development Center for Older Person in 4 dimensions: place, staff services, quality of ward and safety. This is a descriptive study using purposive sampling technique. Participants were 56 older persons. Research instruments included demographic data record and clients’ satisfaction questionnaire. Data were collected from February to April 2017.


                  Most participants are females (71.43 percent) in middle age (50.00 percent). Their hometown is in Pathumthani province (26.79%). Most of participants are satisfied living in the center (94.64%). Satisfaction scores on location, quality of place and safety are in the highest level in each topic. Staff services are mostly regarded in the highest level, except the aspects of  admiration and trust; help and knowledge of care are regarded in a high level. Participants suggested the center to increase the number of staff in each building and the staff should improve their communication to be more polite. In addition, an increase of bins and their relocation, an increase of rest rooms was suggested. Finally, the participants proposed to recruit specialized health professionals, such as registered nurses and physical therapists.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ