แอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยรับโลหิตซึ่งตรวจด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานและวิธีเจล: การศึกษาเพื่อพัฒนางานบริการโลหิต

Authors

  • กัญญา ดาวสี ศูนย์คลังเลือดกลาง โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

Red cell alloantibodies, Transfused patient, Antibody screening, Standard tube test, Gel test

Abstract

บทคัดย่อ ปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคเจลมาใช้ในการตรวจกรองแอนติบอดีอย่างแพร่หลาย วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความชุก ชนิดของแอนติบอดี และเปรียบเทียบผลการตรวจกรองแอนติบอดีในตัวอย่างผู้ป่วยรับโลหิตระหว่างวิธี Standard tube test (STT) และวิธี Gel agglutination (DG Gel: Diagnostic Grifols, Barcelona, Spain) ได้ตรวจกรองแอนติบอดีในตัวอย่างผู้ป่วยรับโลหิตโดยไม่ซ้ำตัวบุคคล 750 ราย พบแอนติบอดีด้วย วิธี STT 61 ราย (8.13%), DG Gel 55 ราย (7.33%) ตรวจพบแอนติบอดีสอดคล้องกันทั้ง 2 วิธี 54 ราย ใน 750 ราย ได้แก่ anti-Mia, anti-E, anti-P1, anti-Lea, anti-Leb, anti-Lea+Leb, anti-Jka, anti-c, anti-E+anti-Mia, anti-E+anti-c, anti-Leb+anti-Mia, anti-E+anti-Fyb, anti-Lea+anti-P1 และ anti-Lea+Leb+anti-P1 จำนวน 28, 6, 4, 3, 1, 1, 2, 1, 2, 2, 1, 1, 1 และ 1 ราย ตามลำดับ ตรวจพบแอนติบอดีด้วย STT วิธีเดียว 7 ราย ได้แก่ anti-P1 5 ราย และ anti-Lea 2 ราย ให้ผลบวกเฉพาะวิธี DG Gel 1 ราย พบเป็น unidentified antibody แอนติบอดีที่พบในผู้ป่วยทั้ง 61 ราย ประกอบด้วย anti-Mia ร้อยละ 50.82 (31 ราย) anti-P1 ร้อยละ 18.03 (11 ราย) Lewis antibodies ร้อยละ 16.39 (10 ราย) anti-E ร้อยละ 18.03 ( 11 ราย) anti-c ร้อยละ 4.92 (3 ราย) anti-Jka ร้อยละ 3.28 (2 ราย) และ anti-Fyb ร้อยละ 1.64 (1 ราย) วิธี DG Gel มีค่า sensitivity, specificity, false positive, false negative, positive predictive valve (PPV), negative predictive valve (NPV) และ efficiency เป็นร้อยละ 98.2, 99.0, 1.8, 1.0, 98.2, 99.0 และ 98.9 ตามลำดับ การศึกษานี้พบว่า STT มีความไวสูงกว่า DG Gel (p < 0.001) โดยมีข้อจำกัดในการตรวจหา anti-P1 และ Lewis antibodies บางตัว ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่พบได้บ่อยในประชากรไทย เนื่องจากมีความชุกของหมู่เลือด P1 negative สูงถึงร้อยละ 77 และ Le(a-b-) ร้อยละ 30 ถึงแม้ anti-P1 และ Lewis antibodies ถูกจัดเป็นแอนติบอดีที่มีความสำคัญทางคลินิกน้อย แต่ในกรณีทำปฏิกิริยาได้ที่ 37 C ก็อาจเป็นสาเหตุการเกิด transfusion complication ได้

Key Words : Red cell alloantibodies ; Transfused patient ; Antibody screening ; Standard tube test ; Gel test

วารสาร

Author Biographies

กัญญา ดาวสี, ศูนย์คลังเลือดกลาง โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)