ต้นทุนการบริการโลหิตโรงพยาบาลยะลา : การศึกษาเพื่อลดความสูญเปล่า และความเสี่ยง

Authors

  • ฐิติกุล เหล่าณัฐวุฒิกุล กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลยะลา
  • ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

Transfusion service, Direct cost, Waste, Risk

Abstract

การบริการโลหิตเป็นกระบวนการที่มีต้นทุนสูงเพื่อให้ได้โลหิตที่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนการ
บริการโลหิตของงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลยะลา เพื่อพัฒนางานบริการโลหิต ลดความสูญเปล่าและความเสี่ยงในกระบวนการ
ปฏิบัติงาน วิธีการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลค่าใช้จ่ายทางตรง ระหว่างปีงบประมาณ 2554 – 2556 ประกอบด้วย ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้าน
บุคลากร (labour cost) ค่าตรวจโลหิตบริจาค (donor blood testing) ค่าวัสดุอุปกรณ์ (materials cost) ค่าลงทุน (ครุภัณฑ์และ
ค่าเสื่อมราคา : capital cost) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลความสูญเปล่า ด้านค่าใช้จ่าย เวลา และความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาด
ในกระบวนการปฏิบัติงาน ที่อาจนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ ผลการศึกษา ต้นทุนทางตรงรวมของการบริการโลหิต
ในปี 2554, 2555 และ 2556 คือ 9,432,706 บาท 12,046,339 บาท และ 11,294,476 บาท ตามลำดับ โดยทุกปีมีต้นทุนการตรวจ
โลหิตบริจาคสูงสุด และต้นทุนค่าลงทุนต่ำสุด สัดส่วนร้อยละของต้นทุนค่าตรวจโลหิตบริจาค : ค่าแรง : ค่าวัสดุอุปกรณ์ : ค่าลงทุน
ในปี 2554 คือ 37.8 : 30.3 : 28.4 : 3.5 ปี 2555 มีค่า 43.3 : 26.7 : 27.2 : 2.8 และปี 2556 คือ 44.8 : 28.7 : 24.6 : 1.8 ใน
กระบวนการปฏิบัติงาน พบความสูญเปล่าในการรับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคที่เคยตรวจพบการติดเชื้อ HBV, HCV, HIV และ syphilis
แล้ว ซึ่งเป็นการรับบริจาคนอกสถานที่ ร้อยละ 65 และในธนาคารเลือดร้อยละ 35 รวมจำนวนทั้งสิ้น 52 ยูนิต จากผู้บริจาคโลหิต 41
ราย โดยพบสูงสุดปี 2554 จำนวน 22 ยูนิต ปี 2555 จำนวน 20 ยูนิต และ 10 ยูนิต ในปี 2556 สำหรับจำนวนส่วนประกอบของ
โลหิตหมดอายุ ในปี 2554, 2555 และ 2556 พบว่า single donor platelets (SDP) หมดอายุมากที่สุดทั้ง 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.7,
11.9 และ 14.7 ตามลำดับ ส่วน random platelet concentrates (PCs) หมดอายุมากเป็นลำดับที่สอง คิดเป็นร้อยละ 10.2, 10.0
และ 5.2 ตามลำดับ โดยมี packed red cells หมดอายุน้อยที่สุด ประมาณร้อยละ 1 ทั้ง 3 ปี และพบว่ามีปริมาณการตรวจหมู่โลหิต
ABO ซ้ำในกระบวนการเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นในปี 2554, 2555 และ 2556 ร้อยละ 33, 36 และ 25 ตามลำดับ นอกจาก
นี้ในการตรวจกรองความเข้มข้นของโลหิตผู้บริจาค ซึ่งใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะของโลหิตด้วยน้ำยา CuSO4 สำหรับการรับบริจาคนอก
สถานที่ และวิธี portable hemoglobinometer (HemoCue) เมื่อรับบริจาคในธนาคารเลือด โดยมีสัดส่วนของการรับบริจาคนอก
สถานที่กับในสถานที่คือ 54:46 พบว่าต้นทุนค่าวัสดุโดยประมาณของการใช้ HemoCue กับ CuSO4 คือ 20:1 สรุป การทบทวนและ
ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ การวางแผน การจัดการข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของกระบวนการปฏิบัติงาน การกำหนดปริมาณคงคลัง
ของส่วนประกอบโลหิตที่เหมาะสม การเลือกใช้เทคนิคการทดสอบ การปรับปรุงแนวปฏิบัติ การควบคุมกำกับ และติดตามประเมิน
ผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความสูญเปล่าทั้งค่าใช้จ่าย เวลา และความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในกระบวนการปฏิบัติงาน
นำไปสู่การพัฒนาการบริการที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)