ความชุกของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิส ในผู้บริจาคโลหิต : การเฝ้าระวังเพื่อพัฒนาการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต

Authors

  • เครือมัน สาวแดง ธนาคารเลือด กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลกำแพงเพชร
  • ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ - กลุ่มวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก และเวชศาสตร์บริการโลหิต - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจ วินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ผู้บริจาคโลหิต, ความชุก, ไวรัสเอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, Blood donor, Prevalence, HIV, Hepatitis B Virus (HBV), Hepatitis C Virus (HCV), Syphilis

Abstract

บทคัดย่อ

การจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยประกอบด้วย การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต และการตรวจการติดเชื้อในโลหิตที่ได้รับบริจาคอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังและพัฒนาการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ความชุกของการติดเชื้อ ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิส สัมพันธ์กับเพศ อายุ และสถานภาพของผู้บริจาคโลหิตจังหวัดกำแพงเพชร ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551 ผลการศึกษาพบว่า ในระยะเวลา 3 ปี ได้รับบริจาคโลหิต 28,373 หน่วย จากผู้บริจาค 24,040 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 59.15 เพศหญิงร้อยละ 40.85 ผู้บริจาคโลหิตครั้งแรกร้อยละ 39.25 และผู้บริจาคโลหิตรายเก่าร้อยละ 60.74 พบความชุกเฉลี่ย 3 ปี ของการติดเชื้อ เอชไอวี ร้อยละ 0.26 ไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 2.36 ไวรัสตับอักเสบซี ร้อยละ 0.71 และซิฟิลิส ร้อยละ 0.44 เมื่อเปรียบเทียบการติดเชื้อในแต่ละปี พบว่าความชุกของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี สูงสุดในปี 2551 ต่างจากปีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความชุกของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ร้อยละ 0.39 ไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 3.05 และไวรัสตับอักเสบซี ร้อยละ 1.12 เพศชายติดเชื้อทุกชนิดสูงกว่าเพศหญิง ผู้บริจาคครั้งแรกติดเชื้อสูงกว่าผู้บริจาครายเก่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้บริจาคโลหิตรายใหม่กลุ่มอายุ 17-20 ปีติดเชื้อต่ำสุด นอกจากนี้ได้พบข้อมูลการบริจาคโลหิตซ้ำของผู้บริจาคที่เคยตรวจพบการติดเชื้อมาแล้วสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริจาคโลหิตจังหวัดกำแพงเพชรมีแนวโน้มของการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและ ไวรัสตับอักเสบซี สูงขึ้น ผู้บริจาคโลหิตเพศหญิงมีความเสี่ยงน้อยกว่าเพศชาย และ ผู้บริจาคโลหิตครั้งแรกกลุ่มอายุน้อยติดเชื้อต่ำกว่ากลุ่มอายุมาก ดังนั้นการเพิ่มจำนวนผู้บริจาคโลหิตครั้งแรกจากกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำ รวมทั้งการรณรงค์เพิ่มและคงไว้ผู้บริจาคโลหิตเพศหญิงซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ จะช่วยเพิ่มจำนวนโลหิตที่มีความเสี่ยงต่ำระยะยาวได้ การให้คำปรึกษา และการประเมินตนเองเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเลือด ในกระบวนการคัดกรองก่อนบริจาค ทั้งในผู้บริจาคโลหิตรายใหม่และรายเก่าทุกราย รวมทั้งการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อ เพื่อการดูแลสุขภาพและป้องกันการแพร่เชื้อ ต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยและคุ้มค่า จะต้องพัฒนาระบบข้อมูลผู้บริจาคโลหิตให้เป็นปัจจุบัน และการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริจาคติดเชื้อ รวมทั้งการตรวจสอบประวัติผู้บริจาคโลหิตรายเก่าก่อนบริจาคอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการบริจาคโลหิตซ้ำจากผู้บริจาคติดเชื้อ

Key Words : ผู้บริจาคโลหิต, ความชุก, ไวรัสเอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี

Abstract

Blood safety includes recruitment and retention of low risk donor with proper screening for infectious markers in donated blood. This retrospective study was carried out for surveillance and improvement of blood recruitment by analysis of infectious markers among blood donors at Kamphangphet Provincial Hospital, central part of Thailand. The prevalence of Human Immunodeficiency Virus (HIV), Hepatitis B Virus (HBV), Hepatitis C Virus (HCV) and syphilis infections detected in donated blood during 2005-2008 was calculated. The prevalence of infectious markers in accordance with sex, age and donation status of blood donors were analyzed. There were 28,373 units of blood collected from 24,040 blood donors consisting of 59.15% male, 40.85% female, 39.25% first time and 60.74% repeat blood donors. The average prevalence of HIV, HBV, HCV and syphilis infections in the three years period were 0.26%, 2.36%, 0.71%, and 0.44%, respectively. The highest prevalence of HIV (0.39%), HBV (3.05%) and HCV (1.12%) infections were demonstrated in 2008. Male blood donors had higher prevalence than female for all of 4 markers. The higher prevalence of HIV, HBV and HCV infections was found in first time compared to repeat blood donors. Among first time blood donors, the young age group (17-20 years) donors showed the lowest prevalence of HIV, HBV and HCV infections. In addition, blood collected from previous positive infected blood donors was found accumulative increasing, mostly at mobile sites. This study revealed that trends of HIV, HBV and HCV infections among Kampangphet blood donors seemed to be increased. Extensive recruiting and retaining of young blood donors would expand lower risk donation for a long term. The effort to recruit and retain female donors which is lower risk would also be encourage. Pre blood donation counseling including blood donor inform consent should be intensively implemented in all of first time and repeat donation. Post donation counseling for infected blood donors is necessary for care and prevention of disease transmission. For improving safe blood recruitment and cost effectiveness, the up-to-date data system with efficient process management especially for post-donation counseling and consistent pre-donation checking for previous infection record of repeat blood donor is important for avoiding repeat donation from previous positive infected donors.

Key Words : Blood donor, Prevalence, HIV, Hepatitis B Virus (HBV), Hepatitis C Virus (HCV), Syphilis

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)