การประยุกต์ใช้เทคนิคไมโครเพลทสำหรับตรวจหาชนิดแอนติบอดี ของเม็ดเลือดแดง

Authors

  • อุษณีษ์ ชเนตต์มหรรฆ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

Antibody identification, Indirect antiglobulin standard tube test, IAT-STT, Solid phase microplate antiglobulin test, Direct agglutination microplate technique

Abstract

การตรวจหาชนิดแอนติบอดี ด้วยเทคนิคหลอดทดลองมาตรฐานวิธี Indirect antiglobulin standard tube test
(IAT-STT) มีขั้นตอนการทดสอบหลายขั้นตอน ต้องการความแม่นยำในการอ่านผลของผู้ทำการทดสอบ หน่วยงานที่มีปริมาณงาน
มาก อาจรายงานผลการตรวจล่าช้าทำให้มีงานคั่งค้าง วัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์เทคนิคไมโครเพลทสำหรับตรวจหาชนิดแอนติบอดี
ของเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย Direct agglutination microplate technique (DAMT) ร่วมกับ Solid phase microplate
antiglobulin Test (SPMAT) เพื่อลดขั้นตอน แรงงาน และเวลา วิธีการศึกษา เตรียม RBC panel monolayer plate วิธี SPMAT
โดยเคลือบเพลทด้วย Panel cells ทดสอบความคงทน ด้วยแอนติบอดีที่ทราบชนิด ทุก 1 สัปดาห์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ นำไมโคร-
เพลทดังกล่าวมาตรวจสอบประสิทธิภาพของเทคนิคไมโครเพลท (DAMT และ SPMAT) ด้วยแอนติบอดีที่ทราบชนิด 40 ตัวอย่าง
จากนั้น ตรวจหาชนิดแอนติบอดีเปรียบเทียบระหว่าง เทคนิคไมโครเพลท (DAMT และ SPMAT) กับวิธี IAT-STT ในพลาสมาที่ให้
ผลบวกจากการตรวจกรองแอนติบอดี ในงานประจำวันของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จำนวน 177 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า RBC
panel monolayer plate ของวิธี SPMAT มีความคงทนถึง 4 สัปดาห์ และในการทดสอบประสิทธิภาพของเทคนิคไมโครเพลท
(DAMT ร่วมกับ SPMAT) ด้วยแอนติบอดีที่ทราบชนิด 40 ราย ได้แก่ anti-D 5 ตัวอย่าง anti-E 7 ตัวอย่าง anti-Lewis 13 ตัวอย่าง
(anti-Lea+b 8 ตัวอย่าง anti-Lea 4 ตัวอย่าง anti-Leb 1 ตัวอย่าง) anti-M 3 ตัวอย่าง anti-Mia 10 ตัวอย่าง และ anti-P1
2 ตัวอย่าง พบว่าสามารถตรวจหาชนิดแอนติบอดีได้ถูกต้องทั้งหมด (100%) ส่วนผลการตรวจหาชนิดแอนติบอดีเปรียบเทียบระหว่าง
เทคนิคไมโครเพลท (DAMT และ SPMAT) กับวิธี IAT-STT ในตัวอย่าง 177 ตัวอย่างให้ผลสอดคล้องกัน 174 ตัวอย่าง โดยตรวจ
พบ anti-D 2 ตัวอย่าง anti-E 15 ตัวอย่าง anti-Lea 14 ตัวอย่าง anti-Leb 11 ตัวอย่าง anti-Lea+b 25 ตัวอย่าง anti-M 10
ตัวอย่าง anti-Mia 66 ตัวอย่าง anti-P1 11 ตัวอย่าง anti-Mia+ anti-E 2 ตัวอย่าง anti-Mia+ anti-Lea+b 1 ตัวอย่าง และ
unidentified antibodies 17 ตัวอย่าง โดยมี anti-Lea 1 ตัวอย่าง และ anti-Lea+b 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบด้วยวิธี IAT-STT เพียง
วิธีเดียว สรุป เทคนิคไมโครเพลท (DAMT และ SPMAT) สามารถตรวจหาชนิดของแอนติบอดีให้ผลสอดคล้องกับ วิธี IAT-STT
ถึงร้อยละ 98.13 โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการตรวจหาชนิดแอนติบอดี
ทั้ง IgM และ IgG ในหน่วยงานที่มีปริมาณงานสูง

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)