อิทธิพลของความรู้ด้านโภชนาการและการรับรู้ด้านสุขภาพต่อการรับประทานอาหารจานด่วน

ผู้แต่ง

  • พราว อรุณรังสีเวช
  • รัญญกาญจน์ นุ่นแก้ว
  • พิสิฐ โกศลคุปต์พงศ์
  • ธีรพัฒน์ ร่มเกศพิกุล
  • พันธิตรา แก้วประเสริฐ
  • กีรติ เปล่งอุดมกิจ
  • กฤษณะ เชื้อชัยนาท
  • นิติธร อุ้นพิพัฒน์

คำสำคัญ:

อาหารจานด่วน, การรับรู้ด้านสุขภาพ, ความรู้ด้านโภชนาการ

บทคัดย่อ

     เนื่องจากการรับประทานอาหารจานด่วน หรือ Fast Food เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปร่างของผู้บริโภค การรับรู้ด้านสุขภาพ และ ความรู้ด้านโภชนาการที่มีผลต่อการรับประทานอาหารจานด่วน  ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางลดการบริโภคอาหารจานด่วน  แบบสอบถามได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูล โดยมีผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวน 150 คน และในการวิเคราะห์การถดถอยได้ใช้ผลจากแบบสอบถามจำนวน 143 ชุด โมเดลจากการวิเคราะห์นี้มีนัยสำคัญทางสถิติ  และเมื่อพิจารณาตัวแปรต้นแต่ละตัว ตัวแปรต้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติในการทำนายปริมาณการกินอาหารจานด่วนคือ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและรูปร่างของผู้ให้ข้อมูล  โดยการรับรู้ว่าตนเองสุขภาพดีจะทำให้รับประทานอาหารจานด่วนลดลง และผู้ที่มีรูปร่างผอมจะรับประทานอาหารจานด่วนมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงแนะนำให้มีการจัดโครงการให้ความรู้แก่ผู้ที่มีพฤติกรรมบริโภคอาหารจานด่วนมากเกินไป โดยเน้นให้คำนึงถึงสุขภาพและรูปร่างของตน  งานวิจัยในอนาคตอาจพิจารณาทดสอบตัวแปรอื่น ๆ เช่น ราคาของอาหารจานด่วน เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-07-2018