ผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการกระตุ้นเตือนต่อภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา วรโคตร โรงพยาบาลเต่างอย 80 หมู่ 6 เต่างอย-บ้านศรีวิชา ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย สกลนคร 47260
  • ปราณี ธีรโสภณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
  • ผ่องศรี เถิงนำมา สถานีอนามัยนาหลวง 2339 ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

anemia, reproductive aged women, educational program, and stimulated warning

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพงาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง และเพิ่มระดับฮีมาโตคริตในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง  ทำการศึกษาในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง บ้านนาหลวงและบ้านบึงสา จำนวน 17 ราย การดำเนินงานประกอบด้วย โปรแกรมสุขศึกษารายกลุ่มจำนวน 3 ครั้ง  ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ (ระหว่างเดือน มิถุนายน
2553 - กรกฎาคม 2553) เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการให้โปรแกรมสุขศึกษา ประเมินผลโดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาโลหิตจาง และแบบบันทึกค่าความเข้มข้นเลือด

ผลการศึกษาพบว่า

1. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง มีคะแนนความรู้หลังให้โปรแกรมสุขศึกษาและการกระตุ้นเตือนสูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม (= 7.24, S.D. = 1.20   และ  = 9.18, S.D. = 1.18 ตามลำดับ)

2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง มีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวหลังให้โปรแกรมสุขศึกษาและการกระตุ้นเตือนสูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม (= 21.41, S.D. = 1.66 และ = 22.47,
S.D. = 1.70 ตามลำดับ)

3. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง มีระดับความเข้มข้นเลือดภายหลังให้โปรแกรมสุขศึกษา และการกระตุ้นเตือนสูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม (= 34.29, S.D. = 1.58   และ  = 36.44, S.D. = 1.58 ตามลำดับ)

4. อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขศึกษาและ
การกระตุ้นเตือนร้อยละ 6.83 (ก่อนเข้าโปรแกรมร้อยละ 23.5 หลังเข้าโปรแกรมร้อยละ 16.67)

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขศึกษาและการกระตุ้นเตือน ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้

คำสำคัญ : โลหิตจาง, หญิงวัยเจริญพันธุ์, โปรแกรมสุขศึกษา, การกระตุ้นเตือน

 

Abstract

This  quality  improvement  research aimed to  study effectiveness  of  the  educational  program  for stimulated  warning  on  knowledge,  self - care behaviors, and the hematocrit  level  of  reproductive  aged  women with anemia.  Participants were 17 reproductive  age women with anemia  who  lived  in  Ban  Na-luang,  and Ban Buengsa.  Three  sessions  of  the  educational  program  with  stimulated  warning were  provided  for  the participants consecutive week during  six weeks
(June-July 2010).  All  of  them  were  measured before  and after  participating  in  the  program  in  term of  the  knowledge, behavior and  heamatocrit level.
The results showed that:
1.    The  knowledge  mean  score   of  reproductive  aged  women with anemia  after  participating  in the  educational  program  with  stimulated  warning  was  higher  than  before  participating  in  the  program  (before  = 7.24, S.D. = 1.20, after  = 9.18, S.D.= 1.18).
2.    The  behavior  mean  score   of  reproductive  aged  women with anemia  after  participating  in the  educational  program  with  stimulated  warning  was  higher  than  before  participating  in  the  program (before  = 21.41, S.D. = 1.66, after  = 22.47, S.D. = 1.70).
3.    The  reproductive  aged  women with anemia had  hematocrit  level  after  participating  in  the  program  higher  than  before  participating  in  the  program  (before  = 34.29, S.D. = 1.58, after  = 36.44, S.D. = 1.58).
4.    Anemia  rate  of  reproductive  aged  woman  with  anemia  was  lower  than  before  participating  in  the  program = 6.83 percents  (before = 23.50 percents, after = 16.67 percents).    
Result  suggested that   providing  this education  programs  with  stimulated  warning was solution for problem solving of reproductive  age  women  with  anemia  in  the  of  community.

Keywords : anemia, reproductive aged women, educational program, and stimulated warning.  

Author Biographies

ศุภิสรา วรโคตร, โรงพยาบาลเต่างอย 80 หมู่ 6 เต่างอย-บ้านศรีวิชา ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย สกลนคร 47260

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ปราณี ธีรโสภณ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผ่องศรี เถิงนำมา, สถานีอนามัยนาหลวง 2339 ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถานีอนามัยนาหลวง

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย