ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวต่อ พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Effect of Family Planning Self-Efficacy Promotion Program on Pregnancy Repeated Prevention Behavior among Adolescent Mothers in Banpong hospital, Ratchaburi province

ผู้แต่ง

  • กนกทอง จาตุรงคโชค โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรึ
  • วิรดา อรรถเมธากุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตน, การวางแผนครอบครัว, การตั้งครรภ์ซ้ำ, พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ, มารดาวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว  ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก อายุ 14-19 ปี จำนวน 60 ราย ที่มารับบริการที่งานห้องคลอดโรงพยาบาลบ้านโป่ง โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน  กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การชักจูงด้วยคำพูด 2) การเรียนรู้ผ่านตัวแบบหรือประสบการณ์จากผู้อื่น  3) การประสบความสำเร็จด้วยตนเอง และ4) การกระตุ้นทางร่างกายและอารมณ์  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ  ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .82 และ .81ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที

            ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean= 71.40,83.73, S.D. = 10.29, 9.99, p< .01) ( Mean = 53.80, 62.86, S.D. = 10.64, 7.75, p< .01) 2) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและ พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (Mean =83.73, 73.60, S.D. = 9.99, 12.40, p< .01)( Mean = 62.86, 56.46, S.D. = 7.75, 12.57, p< .05)  สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวส่งผลให้มารดาวัยรุ่นมีพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำที่ดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

References

1. Department of Health.Ministry of Public Health.[online].2560.Cited 2017/01/20 Available from http://rh.anamai.moph.go.th/.(in Thai)
2. Prasertwit, J. Bemused child 11 years old having pregnant since no menstruation.[online].2560[cited 2017/08/17]Available fromhttp://www.childmedia.net. (in Thai)
3. Lertsakornsiri, M. The Factors Related to Perception of Undesirable Pregnancy Teenage in Nursing Students at St.Louis College. Journal of the Royal Thai Army Nurses.2004; 15(1):90-98. (in Thai)
4. World Health Organization [WHO]. (2006).Pregnant Adolescent: Delivering on Globalpromises of Hope. Geneva: The Organization.
5. Banpong Hospital at Ratchaburiprovince.A Number of Aldolescent Pregnant Woman Attending at Antenatal Care at Banpong Hospital. (2006). (in Thai)
6. Bandura, A. A Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall, 1997
7.Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman. , 1997
8. Deenan, A. The Concept and Ways to Health Promotion in Teenage. (First Edition).Chonburi :Hiden group; 2008.(in Thai)
9. Burn, N. & Grove, S.K. The Practice of Nursing Research Conduct, Critique, & Utilization 5th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders, 2005
10. Krainare, P. Effects of Pregnancy Programs Not Available on Knowledge, Attitude and Perceptual Performance Self-esteem of Secondary School Students in Saraburi Province.
Thai Journal of Nursing. 2001; 62(2), 1-9. (in Thai)
11. Sinsomboontong, S. Basic Statistics. Bangkok :Jarmjuree Product;2009.454-455. (in Thai)
12. Waltz, C., Strickland, O., & Lenz, E. (2005).Measurement in Nursing and Healthresearch. 3rd ed.. New York: Springer Publishing.
13. Kalish, H.I. From Behavioral Science to Behavioral Modification.NewYork: McGraw-Hill,1981
14. Aiemsumarang, A. and Nirattharadon, M. Effects of Self-Efficacy promotion Program on the Success of Motherhood of Adolescent Pregnant Women. Nursing Journal.2004;41(3): 48-59. (in Thai)
15. Makaramanee, S. Effects of Self-Efficacy Promotion Program on Health Promoting Behaviors of FirstTtrimester Teenage Pregnant. Thesis of Master in Nursing Science.Bangkok :Chulalongkorn University;2004. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-11

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย