ผลของโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษา: ศูนย์สุขภาพชุมชนวัดแคนอกตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Effects of Physical Activity Promotion Program in Elderly People with Hypertension: A Case Study of the KaeNok Temple Community Health Center, Bangasor Sub-district, Muang District, Nonthaburi Province

ผู้แต่ง

  • ธีรนุช ชละเอม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความคาดหวังในผลลัพธ์ผู้สูงอายุ, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบ two group pre–post test กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มละ 30 คน คือกลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงศูนย์สุขภาพชุมชนวัดแคนอก ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และกลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น8 สัปดาห์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และประเมินสุขภาพทั่วไปก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายการรับรู้ความสามารถตนเองของการมีกิจกรรมทางกายความคาดหวังในผลลัพธ์ของกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ และระดับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย การรับรู้ความสามารถตนเองของการมีกิจกรรมทางกายมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบนลดลงจาก 146.40 มิลลิเมตรปรอทเป็น 138.97 มิลลิเมตรปรอทและความดันโลหิตตัวล่างลดลงจาก 81.77 มิลลิเมตรปรอท เป็น 80.27 มิลลิเมตรปรอท แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับการให้ความรู้  มีประสิทธิภาพในการลดระดับความดันโลหิตได้จึงควรส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและให้ความรู้อย่างเหมาะสม ดังนั้นสถานบริการสุขภาพสามารถนำโปรแกรมสุขศึกษานี้ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทได้ต่อไป

References

1. United Nations. World Population Prospects, the 2012 Revision. New York: United Nations, 2012.
2. Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Bangkok: Amarin Printing and Publishing, 2016. (in Thai)
3. Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Annual Report: Situation of the Thai Elderly, 2010. Bangkok: TQP, 2012. (in Thai)
4. Suwannaruji, D. Burden of Population Aging on Disability and Mortality from Non-communication Diseases: Challenge for Human Development in Developing Countries. Thai Population Journal, 2010; 1(2): 91-110. (in Thai)
5. Aekplakorn, W. Thai National Health Examination Survey V, Year 2014. Nonthaburi: Health System Research Institute, 2014. (in Thai)
6. Department of Health. Report of National Health Examination in Thailand, the Implementation of Health Promotion Programs for Elderly and Disabled Population in Thailand 2013. Nonthaburi: Watcharin P.P. Printing, 2013. (in Thai)
7. World Health Organization (WHO). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Geneva: World Health Organization, 2009.
8. National Statistical Office. Physical Activity Survey, 2015. Bangkok: National Statistical Office, 2016. (in Thai)


9. Jitpetch, N. Factors Relating to Physical Activities of the Elderly in Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province. Thesis of Master Degree of Science (Health Education), Major in Health Education, Department of Physical Education. Bangkok: Kasetsart University, 2012. (in Thai)
10. Poolsawat, W. Physical Activity of the Older Adults in Bangkok. Thesis of Master Degree of Science (Public Health), Major in Public Health Nursing. Bangkok: Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, 2007. (in Thai)
11. Leethong-in, M. A Causal Model of Physical Activity in Healthy Older Thai People. Thesis of Doctoral Degree of Philosophy in Nursing Science, Major in Nursing Science (International Program), Faculty of Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University, 2009. (in Thai)
12. Bandura, A. Self-efficacy: The Exercise of Control. 7thed. New York: W.H. Freeman, 1997.
13. Polit, D.F. & Hungler, B.P. Nursing Research: Principles and Methods. 6th ed. Philadelphia: Lippincott Company, 1999.
14. Kitpreedaborisut, B. Research, Measurement, and Evaluation. 2nded. Bangkok: Sri Anant Printing, 1990. (in Thai)
15. Aekplakorn, W. Health Behavior: Physical Activity. Thai National Health Examination Survey, NHES V, 2014. Nonthaburi: Aksorn Graphic and Design Publication limited Partnership, 2014. (in Thai)
16. Chaisongkram, S. The Effects of a Health Promotion Program in Elderly Club Members, Amphur Muang, Nonthaburi Province. Thesis of Master Degree of Science (Public Health), Major in Health Education and Behavioral Sciences. Bangkok: Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, 2002. (in Thai)
17. Phonsalee, R. Self-efficacy Theory with Social Support to Promote Exercise Behavior among Elderly Patients with Hypertension in Rai-Khing Mettapracharak, Nakornpathom Province, Thailand. Thesis of Master Degree of Science (Public Health), Major in Health Education and Behavioral Sciences. Bangkok: Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, 2010. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-11

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย