Submission Preparation Checklist
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.- The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
- The text is single-spaced; uses a 12-16-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
Author Guidelines
ต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์ในที่ใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการรอตีพิมพ์ในวารสารอื่น บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้แล้วถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสมาคมจิตแพทย์ฯ แต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากวารสารสมาคมจิตแพทย์ฯ ก่อน
ต้นฉบับที่ส่งมาจะได้รับการตรวจทบทวนโดยผู้ที่กองบรรณาธิการเห็นว่าทรงคุณวุฒิในด้านนั้นอย่างน้อย 2 ท่าน และตรวจสอบความถูกต้องทางการคำนวณทางสถิติ 1 ท่าน กองบรรณาธิการจะส่งข้อคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้ทบทวนไปเพื่อให้ผู้นิพนธ์พิจารณาปรับปรุงแก้ไข
ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ แบ่งเป็น 6 ชนิด ได้แก่
- นิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles) เป็นรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัย
- รายงานผู้ป่วย(Case report) เป็นรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนหรือมีรายงานน้อย รายชื่อเรื่องควรต่อท้ายด้วย: “รายงานผู้ป่วย”
- บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review articles) เป็นการรวบรวมผลงานเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยผู้นิพนธ์ได้มีการศึกษาในเรื่องนี้มาอย่างกว้างขวาง มีการนำเรื่องมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกัน เป็นองค์ความรู้ใหม่พร้อมข้อเสนอแนะ
- บทความพิเศษ(Special articles) ผู้เขียนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในทางใดทางหนึ่ง และใช้ประสบการณ์นี้เขียนแสดงความคิดเห็นในแง่ใดแง่หนึ่งในเรื่องนั้น โดยกองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการกำหนดผู้นิพนธ์
- จดหมายถึงบรรณาธิการ(Letter to editor) จดหมายที่เขียนเกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่อย่างย่อ
- ปกิณกะ (Miscellaneous) เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่สามารถจัดเข้าในประเภทใด ๆ ข้างต้น เช่น บทแนะนำตำราที่น่าสนใจ
การเตรียมต้นฉบับ
พิมพ์โดยใช้หน้ากระดาษขนาด A4 ใช้ตัวอักษรขนาด 14-16 ตามความเหมาะสม มีเลขหน้ากำกับทุกแผ่นที่มุมขวา ศัพท์ทางการ แพทย์ควรยึดถือตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หากไม่มีศัพท์บัญญัติในภาษาไทยให้ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้ โดยภาษาอังกฤษที่ปนอยู่ในเนื้อเรื่องภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษรใหญ่
ภาษาอังกฤษ ขอให้ผู้นิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดและไวยากรณ์ ก่อนส่งต้นฉบับ หากกองบรรณาธิการพบความคลาดเคลื่อนทางภาษามาก จะส่งต้นฉบับนั้นคืนให้ผู้นิพนธ์แก้ไขก่อน ซึ่งจะทำให้ใช้เวลามากขึ้น
ต้นฉบับจัดตามลำดับและมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ใบปะหน้า ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ คุณวุฒิสูงสุด และสถาบันของผู้นิพนธ์ทุกคนโดยเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ หรือ e-mail address ของผู้นิพนธ์ที่รับผิดชอบในการติดต่อกับกองบรรณาธิการ (Corresponding author)
2. บทคัดย่อ ให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 500 คำ ให้ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา บทวิจารณ์ สรุป และคำสำคัญ (key words; ระบุคำสำคัญ 3-5 คำ)
3. เนื้อเรื่อง สำหรับนิพนธ์ต้นฉบับประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วัสดุและวิธีการ 3) ผลการศึกษา 4) วิจารณ์ และ 5) สรุป
4. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) สำหรับผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนทุนวิจัย
5. เอกสารอ้างอิง(References) ต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด การอ้างอิงใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver) กำหนดหมายเลขเรียงตามลำดับการอ้างในเนื้อเรื่อง เลขอ้างในเรื่อง (index citation) ให้ใช้เลขอารบิคตัวยก (superscript) ไม่ต้องมีวงเล็บ ชื่อย่อของวารสารใช้ตาม Index Medicus กรณีวารสารที่เป็น non-index Medicus ให้ใส่ชื่อเต็มของวารสารนั้น ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงดูได้ที่ด้านท้ายบทความ
6. ตารางและรูปภาพ มีตารางและรูปภาพรวมกันไม่เกิน 5 ชิ้น โดยตารางและภาพต้องสามารถอ่านได้เข้าใจในตัวเอง ในกรณีรูปภาพที่ต้องการความชัดเจน ควรส่งไฟล์รูปภาพแยกมาต่างหากโดยใช้รูปแบบไฟล์ที่นิยม เช่น JPEG, TIFF เป็นต้น
โดยการส่งให้แยกเป็น 2 ไฟล์ โดยไฟล์แรกได้แก่ใบปะหน้า และอีกไฟล์เป็นไฟล์บทความ (ประกอบด้วยข้อ 2-6)
ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
- บทความในวารสาร
Lewis G, Hawton K, Jones P. Strategies for preventing suicide. Br J Psychiat 1997; 171:351-4.
ถ้าผู้นิพนธ์มีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้นิพนธ์ ทุกคน ถ้ามีมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วย et al. สำหรับเอกสารภาษาไทย ให้เขียนเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้นามสกุลขึ้นต้น ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
- หนังสือ
ผู้นิพนธ์คนเดียวหรือหลายคน
Kaplan HI, Sadock BJ, Ruitz P. Synopsis of psychiatry: behavioral sciences, clinical psychiatry. 11th ed. Baltimore: Wolters & Kluwer; 2015.
บทความในหนังสือหรือตำรา
McKenna MS. Anorexia nervosa and bulimic nervosa. In: Sederer LI, ed. Inpatient psychiatry: diagnosis and treatment. Baltimore: Williams & Wilkins: 1991. p.141-66.
- เอกสารในงานประชุมวิชาการ
Conference proceeding
Harnden P, Joffe Jk, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New Yourk: Springer; 2002.
Conference paper
Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza'computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic programming. EuroGP 2002: Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p. 182-91.
- วิทยานิพนธ์ (Dissertation)
Borkowski MM. Infant sleep and feeding: a telephone survey of Hispanic Americans (dissertation). Mount Pleasant (MI): Central Michigan University; 2002. - บทความในหนังสือพิมพ์ (Newspaper article)
Tynan T. Medical improvements lower homicide rate: study sees drop in assault rate. The Washington Post. 2002 Aug 12;Sect. A:2 (col.4). - อ้างอิงพจนานุกรม (Dictionary and similar references)
Dorland's illustrated medical dictionary. 29th ed. Philadelphia: W.B. Saunders; 2000. Filamin; p. 675. - บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Journal article on the internet)
Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs (Internet). 2002 Jun (cited 2002 Aug 12): 102(6):(about 1 p.). Available from: http//www.nursingworld.org/AJN/2002/june/Wawatch.htmArticle
กรณี Article with a Digital Object Identifier (DOI):
Zhang M, Holman CD, Price SD, Sanfilippo FM, Preen DB, Bulsara MK. Comorbidity and repeat admission to hospital for adverse drug reactions in older adults: retrospective cohort study. BMJ. 2009 Jan 7;338:a2752. doi:10.1136/bmj. a2752. PubMed PMID: 19129307; PubMed Central PMCID: PMC2615549.
กรณี Homepage/Web site
Cancer-Pain.org (Internet). New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01 (updated 2002 May 16; cited 2002 Jul 9). Available from: https://www.cancer-pain.org/.
- โดยผู้นิพนธ์สามารถดูรายละเอียดการเขียนเอกสารอ้างอิงได้จาก International Committee of Medical Journal Editors (https://www.icmje.org) ชื่อย่อของวารสารหาได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi
An instruction for authors |
Privacy Statement
The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.