การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ

Authors

  • นฤมล ศิริรัตนพงศ์ธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐพ มานะ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พัสนันทร์พร ครุฑเมือง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

การรับรู้, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, พยาบาลวิชาชีพ, Perception, Palliative Care, End of life, Nurse

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ประจำหอผู้ป่วยอายุรกรรม (สามัญ พิเศษ วิกฤต) ศัลยกรรม (สามัญ พิเศษ วิกฤต) สูตินารีเวช กุมารเวชกรรม (สามัญ วิกฤต) หน่วยงานไตเทียม และห้องฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 245 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-way ANOVA และ LSD (Least Significant Difference)ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านร่างกาย อยู่ในระดับบ่อยครั้ง ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ รองลงมาคือ สังเกตและประเมินอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ส่วนด้านจิตใจ อยู่ในระดับบ่อยครั้ง ได้แก่ การปฏิบัติงานด้วยการเอาใจใส่ผู้ป่วยโดยไม่แสดงท่าทีรังเกียจ รองลงมาคือ การพูดจาสุภาพอ่อนโยนเคารพในความเป็นบุคคล และการแสดงท่าทีที่เป็นมิตรด้วยการยิ้มและพูดจาอย่างเป็นกันเอง สำหรับการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยต่างกัน มีการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Perception of Nurses about Palliative Care and End of Life in Naresuan University Hospital, Phitsanulok

The objectives of research were to study the level of the practice and to compare the perception of nurses about palliative care and end of life. The samples were 245 nurses in end of life care at wards: general medical, private medical, general surgical, private surgical, obstetrics and gynecology, pediatric, critical medical, critical surgical, hemodialysis department, and emergency room in Naresuan University hospital. The instrument used was questionnaire. The data were statistically analyzed by using percentage, average, standard deviation, One-way ANOVA, and LSD (Least Significant Difference). The results showed that the practice on the perception of nurses about palliative care on physical which were at frequent level were patient care for adequate fluid and nutrition and observe and evaluate the physical changes; moreover, on mental which were at frequent level were look after patient, speak politely, and friendly manner with smile and speak. The comparison of perception of nurses about palliative care and end of life found that ward was statistically significant differences at the .05 level.

Downloads

How to Cite

1.
ศิริรัตนพงศ์ธร น, มานะ ณ, ครุฑเมือง พ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Apr. 20];18(suppl.2):221-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101683