ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสมบูรณ์ในการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์

กรณีศึกษาโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยในภาคกลาง

Authors

  • ดวงใจ ชัชวรัตน์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิตยา เพ็ญศิรินภา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

ความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน, ความรู้, เจตคติ, แพทย์, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย, Medical records completeness, Knowledge, Attitude, Physician, University hospital

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านความรู้ ด้านเจตคติต่อการบันทึกเวชระเบียน และความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับความสมบูรณ์ ของการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ในภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ศึกษา ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางในสาขาวิชาหลัก จำนวน 42 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากแพทย์ทั้งหมด 56 คน และเวชระเบียนที่กลุ่มตัวอย่างได้บันทึกไว้ สุ่มแบบมีระบบจำนวน 252 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบตรวจสอบเวชระเบียน แบบตรวจสอบรหัสความผิดพลาดในการสรุปการวินิจฉัยโรคและหัตถการ โปรแกรมสำหรับการให้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงในหมวดความรู้ 0.76 และหมวดเจตคติ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1) แพทย์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน เป็นเพศหญิงและเพศชายจำนวนเท่ากัน มีอายุเฉลี่ย 39.29 ปี เป็นแพทย์เฉพาะทางในสาขาวิชาอายุรกรรมและสาขาศัลยกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 42.80) ส่วนใหญ่เคยได้รับการสอนการบันทึกเวชระเบียนในสถาบัน (ร้อยละ 66.70) และเคยได้รับการอบรมการบันทึกเวชระเบียนภายหลังจบการศึกษา (ร้อยละ 69.00 ) มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย 42.42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีชั่วโมงการทำงานในด้านบริการทางการแพทย์มากที่สุด เฉลี่ย 29.33 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 2) ความรู้ด้านการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 90.50) เจตคติต่อการบันทึกเวชระเบียนส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ต่อการบันทึกเวชระเบียนในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.45, SD = 0.29) (3) อัตราความสมบูรณ์ของ
เวชระเบียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงสุดตามเกณฑ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ระดับ 5 ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 71) (gif.latex?\bar{x} = 81.70, SD = 0.29) อัตราการสรุปโรคและหัตถการส่วนใหญ่สรุปได้ถูกต้อง (ร้อยละ 80.95) ส่วนต่างระหว่างค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ได้จริงกับที่ควรจะเป็น ส่วนใหญ่มีการคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง (ร้อยละ 69.05) และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน ได้แก่ เจตคติต่อการบันทึกเวชระเบียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนในด้านอัตราความสมบูรณ์ของเวชระเบียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( r = .423) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการสรุปโรคและหัตถการถูกต้อง และค่าสัมบูรณ์ของส่วนต่างระหว่างค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ได้จริงกับที่ควรจะเป็น ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และความรู้ด้านการบันทึกเวชระเบียนนั้น ไม่พบปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสมบูรณ์ของเวชระเบียน อัตราการสรุปโรคและหัตถการถูกต้องและค่าสัมบูรณ์ของส่วนต่างระหว่างค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ได้จริงกับที่ควรจะเป็น

Factors Related to Physicians’ Medical Records Completeness: A Case Study of University Hospital in Central Thailand

The objectives of this descriptive research were to study: (1) personal and working factors; knowledge and attitudes toward medical recording; medical record completeness; and (2) the relationships between the factors and physicians’ medical record completeness at a university hospital in Central Thailand. The study was undertaken with all 42 medical specialist physicians at the university hospital in Central Thailand, and 252 medical records were selected using the Systematic Random Sampling method. The instruments deployed included a medical record audit form, a summary assessment audit form, the NHSO relative weight analysis program, and a questionnaire. The reliability values of knowledge and attitude items
were 0.76 and 0.80 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi – square test, Pearson’s product moment correlation coeffcient and Spearman rank-order correlation coeffcient. The fnding showed that: (1) the number of 42 respondents were equal between male and female,
the age mean was 39.29 years, the majority of the respondents were physicians and surgeons(42.80%), most of them had been trained in medical recording before graduation ( 66.70%)and after graduation (69.00%), the mean of weekly working hours was 42.42, the highest numbers of working hours was medical service average 29.33 hours/week; (2) most of them had knowledge about medical records at a high level(90.50%), while the
attitudes toward medical records were positive at a moderate level with regards to the benefts of medical records ( gif.latex?\bar{x} = 3.45, SD = 0.29); (3) regarding the completeness of medical record, most of them were at the highest level according to the NHSO’s criteria (Level 5 score ≥71%) ( gif.latex?\bar{x} = 81.70, SD = 0.29), the physicians’ discharge summaries especially for diagnoses and operative procedures were mostly correct (80.95%), the difference between the actual and expected relative weight was lower than expected (69.05%); and (4) the factor that signifcantly related to medical record completeness was the attitude toward medical records at p <.01 (r = .423); but no relation to the accuracy of discharge summaries and the absolute relative weight change; for part of the personal and working factors and knowledge toward medical record, no factors were found to be related to the medical records, the accuracy of discharge summaries and the absolute relative weight change.

Downloads

Published

26-12-2017

How to Cite

1.
ชัชวรัตน์ ด, เพ็ญศิรินภา น, ประเสริฐชัย อ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสมบูรณ์ในการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยในภาคกลาง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Dec. 26 [cited 2024 Mar. 29];18(3):82-90. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/107552