การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ

Main Article Content

ชม ปานตา
ยุภาวดี สำราญฤทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์ ที่เก็บจากสถานีสำรวจปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา ของศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน ภาคกลาง กรมชลประทาน จำนวน 3 สถานี โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของวิธีการพยากรณ์ต่างๆ 3 วิธี ได้แก่ วิธีแยกส่วนประกอบ วิธีทำให้เรียบของเอกซ์โปเนนเชียลแบบวินเตอร์แบบคูณ และวิธีของบอกซ์-เจนกินส์ ซึ่งพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Mean Square Error : MSE) โดยศึกษาข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2558 เพื่อพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์ ที่เก็บจากสถานีสำรวจปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา ของศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน ภาคกลาง กรมชลประทาน ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 3 สถานี สรุปผลได้ว่า วิธีทำให้เรียบของเอกซ์โปเนนเชียลแบบวินเตอร์แบบคูณ ให้ค่า MSE ต่ำที่สุด ในสถานี C.2 ค่ายจิระประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และสถานี N.67 แม่น้ำน่าน บ้านเกยไชยเหนือ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ส่วนสถานี Ct.4 แม่น้ำแม่วงก์ บ้านศาลเจ้าไก่ต่อ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ วิธีของบอกซ์-เจนกินส์ ให้ค่า MSE ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาภาพรวม จะเห็นว่าวิธีทำให้เรียบของเอกซ์โปเนนเชียลแบบวินเตอร์แบบคูณ เป็นวิธีที่เหมาะสมกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนมากที่สุด รองลงมาคือวิธีของบอกซ์-เจนกินส์   

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

จักรกฤช กิตตินภากุล. (2543). การเปรียบเทียบการวิเคราะห์ข้อมูลตามฤดูกาลโดยวิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์และวิธีการปรับให้เรียบเอ็กซ์โปเนนเชียลแบบโฮลท์-วินเทอร์. การค้นคว้าอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มุกดา แม้นมินทร์. (2549). อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. สำนักพิมพ์ประกายพรึก.

วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. (2548). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนของจังหวัดหนองคาย โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงสถิติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. (2552). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนของสถานีอุตุนิยมวิทยาและสถานีอากาศเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2558). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.

ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคกลาง. สภาพน้ำฝน. สืบค้นวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560 จาก

http://www.hydro-5.com/HD-03/3-02%20M-RAIN.html

สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่2. สงขลา : นำศิลป์หาดใหญ่.

Box, G.E.P., Jenkins, G.M., & Reinsel G.C.. (1994). Time Series Analysis: Forecasting and Control. Prentice-Hall, Englewood Cliffs.