พัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Main Article Content

สุรีย์ กรองทอง
ศศิธร กระจายกลาง
นงลักษณ์ สุรศร
สุนันญา พรหมตวง

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายถือว่าเป็นภาวะวิกฤตที่สำคัญทางอายุรกรรม ที่มีแนวโน้มของการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การให้การรักษาที่รวดเร็ว สามารถจำกัดขอบเขตการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบที่สร้างขึ้น
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วิธีการวิจัย: ดำเนินการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบบริการพยาบาล 3) การนำรูปแบบไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย 4) การประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 15 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ 5 คน กลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบตรวจสอบการปฏิบัติ และแบบบันทึกคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัย: ได้รูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ชัดเจน ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่เข้ารับบริการจนจำหน่ายและการติดตามหลังจำหน่าย มีคุณภาพตามเกณฑ์ AGREE instrument ได้ค่าคะแนน ร้อยละ 88.0 ผลการนำระบบไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย พบว่า พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยกับรูปแบบบริการที่พัฒนาขึ้น และปฏิบัติตามรูปแบบร้อยละ 95.83 คะแนนความรู้ของพยาบาลหลังนำไปใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบบริการในระดับมาก และเข้าทางด่วนทัน 3 ชม. ร้อยละ 56.38 ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.3 เป็นร้อยละ 60.2 อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 13.1 เป็นร้อยละ 10.9
สรุป: รูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้เกิดการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมผู้ดูแลได้ครอบคลุมตามความต้องการของผู้ป่วย และมีผลลัพธ์ในการดูแลดีขึ้น ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะทางคลินิกของพยาบาล และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบต่อไป

Article Details

บท
สิ่งประดิษฐ์

References

1.World Health Organization. Cardiovascular disease (CVDs). Retrieved from https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/. (2015).

2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อและอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรแสนคน จำแนกตามจังหวัดในเขตบริการสาธารณสุขและจำแนกตามสคร. 12 เขต และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) ปี 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php. 2557.

3. นิตยา พันธุเวทย์, และ หทัยชนก ไชยวรรณ. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปี พ.ศ. 2558. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.thaincd.com/document/hot%20news/วันหัวใจโลก%202558.pdf. 2558.

4. ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน : อายุรศาสตร์ทันยุค 2552. ใน วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ และ อภิรดี ศรีจิตรกมล บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์; 2553.

5. ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน : ตำราอายุรศาสตร์:โรคตามระบบ II. ใน วันชัย วนะชิวนาวิน, สุทิน ศรีอัษฎาพร และ วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2552.

6. อภิชาต สุคนธสรรพ์. แนวทางการรักษา Acute ST-Elevation Myocardial Infarction. ใน: Practice Guidelines in Cardiology. เชียงใหม่ : ทริค ธิงค์; 2552.

7. มุกดา สุดงาม. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2549;21(2):27-35.

8. สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, วารี วณิชปัญจพล, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, อารยา ประเสริฐชัย, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจแบบบูรณาการ. วารสารกองการพยาบาล. 2549;33:39-60.

9. ทัศนีย์ แดขุนทด. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โดยใช้รูปแบบผู้จัดการรายกรณี ณ.โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2550;18(2):21-36.

10. วรรณา สัตย์วินิจ และอภินันท์ ชูวงษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2553;16:91-104.

11. AGREE Next Steps Consortium (2009). The AGREE II Instrumemt [Electronic version]. Retrieved<2017 Dec 15>, from https://www.agreetrust.org.

12. จาดศรี ประจวบเหมาะ. Cardiac Network Forum ครั้งที่ 1 : เครือข่ายหัวใจยิ้มได้. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2552.