ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

สุพัตรา บุตราช
สุพัชชา ศรีนา
ฐิรพร ไพศาล
เจนจิรา แสนสิทธิ์
พรรณธิภา จันทร์อ่อน

บทคัดย่อ

บทนำ: การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้นิสัยการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยสิ่งที่มีผลตามมาคือ โรคอ้วนโดยเฉพาะในสังคมวัยรุ่นในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกและไม่พึงพอใจในรูปร่างของตนเองส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องเช่นการใช้ยาลดน้ำหนักและการอดอาหาร อีกทั้งด้วยความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้วัยรุ่นซื้อมารับประทานได้ง่ายโดยอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักบางชนิดเป็นยาออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการตื่นเต้น ใจสั่น บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่อยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานีจำนวน 277 คนเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ.2561 โดยใช้แบบสอบถามเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเลือกตัวอย่างในแต่ละขั้นโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย นำมาวิเคราะห์และอธิบายข้อมูลด้วยค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและอธิบายความสัมพันธ์ด้วยสถิติการถดถอยพหุโลจิสติกส์โดยนำเสนอข้อมูลด้วยค่า Odd ratio (OR) และ Confidence interval (95% CI of OR)
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.3) อายุ 17 ปี (ร้อยละ 36.8) กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ร้อยละ34.7) มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 48.7)มีความพึงพอใจกับรูปร่างตนเองร้อยละ 45.8 การรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างตนเองพบว่าส่วนใหญ่รับรู้ว่าตนเองมีรูปร่างผอม ร้อยละ 24.2 เคยลดความอ้วนร้อยละ 51.3 โดยวิธีออกกำลังกาย ร้อยละ 26.4 และไม่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักร้อยละ 78.3 ด้านความรู้ต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักโดยรวมพบว่า อยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 66.8) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.07±0.57ส่วนเจตคติต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 86.3) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.26±0.34 และผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุโลจิสติกส์พบว่า เพศ ระดับชั้นเรียน ค่าดัชนีมวลกายความพึงพอใจในรูปร่างตนเอง และการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างตนเองมีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05)
สรุป: ควรส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักมากขึ้นตลอดทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องให้วัยรุ่นตะหนักถึงผลของการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก
คำสำคัญ: นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก อุดรธานี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมศักดิ์ ถิ่นขจี, พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2555;10(1):72-82.

2. นริสรา พึ่งโพสภ. รูปแบบและอุปสรรคของแนวทางการควบคุมภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2554;9(1):55-71.

3. รุ่ง บูญขันธ์, ปรีชา บุญยัง, ศิวบุตร แช่มเสือ, จันที สนิทนอก, ปราณี พรมสอน, รสริน มหิสนันท์ และ คณะ. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วนของนักศึกษาชาย หญิงในมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์ เกษม [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต]. ภาควิชาบริหารธุรกิจการตลาด, คณะวิทยาการจัดการ; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม; 2547.

4. ดวงมาลย์ พละไกร, สุดสบาย จุลกทัพพะ, กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ ยาลดความอ้วนในนักศึกษาหญิงในหาวิทยาลัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556;58(4):311-22.

5.วารุณี ชลวิหารพันธ์. ความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมของวัยรุ่นหญิงในจังหวัดสระบุรีและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(2):442-55.

6. สุขุมาลย์ ธีระสมบูรณ์. การตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนักของผู้บริโภคในเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2550.

7. ชวัล วินิจชัยนันท์, ปรีชา วิจิตรธรรมรส. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. WMS Journal of Management Walailak University 2560;6(1):84-90.